ปัญหาการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2566

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองของกฎหมายต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหาการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว และค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายปกครองที่จะบอกเลิกสัญญาทางปกครองได้แต่ฝ่ายเดียว ดังเช่นคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่เกิดจากศาลปกครองสูงสุดได้วางแนวบรรทัดฐานในการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบกฎหมายไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42/1 และมาตรา 42/2 โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง หรือขอบเขตดังกล่าวให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับระบบกฎหมายไทยซึ่งกรณีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานภาครัฐ (Efficiency and Effectiveness for Governmental Function) ซึ่งฝ่ายปกครองสามารถดำเนินการและอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ กล่าวคือ ทำให้การใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว ในลักษณะบรรทัดฐานแห่งคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ในรูปของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) ที่ยึดถือในประเทศไทยและเกิดความเป็นธรรมต่อประโยชน์สาธารณะและสิทธิของเอกชน ทำให้ปัจเจกชนได้รับทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างกลไกทางกฎหมายที่ช่วยสนับสนุนการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว

คำอธิบาย

คำหลัก

ฝ่ายปกครอง, การใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง, สัญญาทางปกครอง, การเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว

การอ้างอิง

วิภาณี ปานประดิษฐ์. 2566. "ปัญหาการใช้เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการเลิกสัญญาทางปกครองฝ่ายเดียว." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.