การพัฒนารูปแบบคำสั่งเสียงสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นอัตโนมัติ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2566-11-17

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

บทความนี้นำเสนอระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติใช้ในการควบคุมและสั่งการ การทำงานของมอเตอร์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นส่วนของการเคลื่อนที่รถเข็นคนพิการอัตโนมัติ โดยมีการทดสอบการแปลงชุดคำสั่งเสียง ซึ่งมีคำว่า เดินหน้า, ถอยหลัง, เลี้ยวซ้าย, เลี้ยวขวา, หยุด และฉุกเฉินเป็นข้อความ จากกลุ่มผู้ทดสอบ 40 คน ที่เป็นกลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มผู้สูงวัยทั้งเพศชายและหญิง บันทึกเสียงกลุ่มตัวอย่างคนอายุน้อยในช่วงอายุ 15 – 25 ปี และผู้สูงวัยในช่วงอายุ 45 – 60 ปี ทั้งเพศชายและหญิงจำนวนกลุ่มตัวอย่างละ 10 คน รวม 40 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยของร้อยละความแม่นยำในอายุ 15 – 25 ปี เพศชาย 95%, เพศหญิง 94% และค่าเฉลี่ยของร้อยละความแม่นยำในอายุ 45 – 60 ปี เพศชาย 93%, เพศหญิง 90% เพื่อแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ นำไปควบคุมการทำงานของมอเตอร์ 4 ตัว ซึ่งเป็นส่วนของระบบขับเคลื่อนรถเข็นคนพิการสำหรับการสั่งการเคลื่อนที่ด้วยคำสั่งเสียง

คำอธิบาย

ประเทศไทยมีประชากรผู้ที่พิการทางการเดินอยู่เป็นจำนวนมาก โดยผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ-องค์การยูนิเซฟ พบว่า ปี พ.ศ. 2562 ประชากรผู้พิการในประเทศไทยประมาณ 3.7 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 5.5 ของประชากรประเทศ เป็นผู้พิการหญิงร้อยละสูงกว่าของผู้พิการชายเล็กน้อยซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.7 และ 5.2 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.6 [1] ร่วมกับปัจจุบันเทคโนโลยีที่ช่วยให้การรับรู้และการแปลภาษาพูดเป็นข้อความโดยคอมพิวเตอร์อย่าง “ระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ” (Automatic Speech Recognition) สามารถแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech-to-Text Recognition) และถอดข้อความเป็นเสียงพูดได้ (Text-to-Speech Recognition) ด้วยคุณสมบัตินี้จึงเกิดระบบสั่งงานด้วยเสียง (Voice Control) เพื่อสั่งการหรือควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์ทางกล โดยสามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ จากผลงานวิจัยของ Assim Ara Abdulsatar พบว่า เพศและช่วงอายุมีผลต่อรูปคลื่นสัญญาณเสียง มีผลต่อการแปลงเสียงเป็นข้อความได้แม่นยำมากน้อยต่างกัน [2] ดังนั้น จึงมีการทดสอบการแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ ที่มีการจำแนกกลุ่มผู้ทดสอบออกเป็นกลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มผู้สูงวัยทั้งเพศชายและหญิง ในบทความนี้จะเป็นการนำเทคโนโลยีระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติมาใช้ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนที่รถเข็นคนพิการด้วยเสียงผ่าน แอปพลิเคชันเว็บแอป (Web Application) ที่พัฒนาขึ้น เพื่อการทำงานของระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติโดยใช้อุปกรณ์รับเสียงอย่างไมโครโฟนบนโทรศัพท์มือถือ ส่งข้อมูลไปยังสมองกลฝั่งตัวเพื่อประมวลผลคำสั่งเสียงให้เป็นข้อความ และนำข้อความไปประมวลผลคำสั่งของการควบคุมมอเตอร์ให้ทำงานตามฟังก์ชันของรูปแบบการเคลื่อนที่ เดินหน้า, ถอยหลัง, เลี้ยวซ้าย, เลี้ยวขวา, หยุด และฉุกเฉิน

คำหลัก

ระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ, ชุดคำสั่งเสียง, รถเข็นคนพิการ

การอ้างอิง

วนายุทธ์ แสนเงิน, พลกฤษ แก้วสวี และ อาทิตย์ แสนโคก, "การพัฒนารูปแบบคำสั่งเสียงสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นอัตโนมัติ", The 46th Electrical Engineering Conference (EECON46), 15-17 พฤษจิกายน 2565, ณ โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่