พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
กำลังโหลด...
วันที่
2567-02-15
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล
ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุ
พลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อ
ไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้
456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษา
พบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อ
ตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM
D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อ
กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120
วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนัก
แห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
คำอธิบาย
ผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน
คำหลัก
หญ้าเนเปียร์; ไบโอแก๊ส; ชีวมวลอัดเม็ด; ชีวมวล
การอ้างอิง
สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์.(2567).พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. ในการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ :ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.