ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ : ศึกษากรณีของผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียบเรียงเสียงประสาน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2567

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ดนตรีไม่เคยตาย แต่ดนตรีเป็นสิ่งที่มีความหลากหลายและแปรเปลี่ยนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามรสนิยมของผู้คนในแต่ละสังคม ดังนั้น การผลิตดนตรีจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างมากมายเพราะในการผลิตดนตรีนั้น คือกระบวนการสร้างสรรค์งานในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตดนตรี ตั้งแต่ขั้นตอนการประพันธ์เพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน การอัดเสียง การปรับปรุงแก้ไขงานดนตรีชิ้นนั้นให้ดียิ่งขึ้น การผสมเสียง และการจัดทำเสียงเพลงต้นฉบับที่จะผลิตออกมาเป็นผลงานเพลงที่สมบูรณ์ในขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ดี ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการผลิตดนตรีคือขั้นตอนที่เกิดมาจากงานสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียบเรียงเสียงประสาน โดยที่งานดนตรีเป็นงานที่ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งาน จึงเป็นสิ่งที่งานนั้นควรจะได้รับการยกย่องและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เพียงแต่เฉพาะตามกฎหมายลิขสิทธิ์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการรับรองและคุ้มครองในเรื่องของธรรมสิทธิ์อีกด้วยเช่นกัน

คำอธิบาย

คำหลัก

ลิขสิทธิ์, ธรรมสิทธิ์, การให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ, ผู้ประพันธ์เพลง, ผู้เรียบเสียงประสาน

การอ้างอิง

ศิริพร ช้างอยู่. 2567. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ : ศึกษากรณีของผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียบเรียงเสียงประสาน.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.