ความผิดฐานฉ้อโกง : ศึกษากรณีฉ้อโกงในลักษณะหลอกให้ลงทุน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2567

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงในลักษณะหลอกให้ร่วมลงทุนในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงของประเทศไทยในประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายฉ้อโกงประชาชนในลักษณะหลอกให้ลงทุนของต่างประเทศส่วนใหญ่จะถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยก็มีการบัญญัติความผิดฐานฉ้อโกงไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเช่นกัน แต่ประเทศไทยบัญญัติบทดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชนทั่วไป มิได้มีลักษณะหลอกให้ลงทุนรูปแบบธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น เป็นการระดมทุน ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาศัยเงินทุนจากประชาชน หรือเชิญชวนให้ผู้อื่นมาเป็นสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งในรูปแบบธุรกิจต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้นำเงินไปลงทุนตามที่กล่าวอ้าง เป็นเพียงกลอุบายของมิจฉาชีพที่นำมาหลอกเหยื่อเพื่อให้หลงเชื่อและร่วมลงทุน แล้วนำเงินที่หลอกลวงมาได้หมุนจ่ายค่าตอบแทนแก่สมาชิกอื่นที่ถูกหลอกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีจำนวนสมาชิกและเงินลงทุนเป็นจำนวนมากและหลบหนีไป ซึ่งไม่ครอบคลุมกับการกระทำความผิดดังกล่าว มีเพียงพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เท่านั้นที่สามารถใช้บังคับเทียบเคียงได้แต่ไม่เพียงพอ และปัญหาบทบัญญัติเฉพาะในส่วนผู้ชักชวนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ผู้ชักชวนก็อาจเป็นผู้เสียหายด้วยอีกฐานะหนึ่งได้ จึงไม่ควรบัญญัติโทษให้เท่าเทียมกับผู้กระทำความผิด อีกทั้ง ปัญหาการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อที่จะนำมาลงโทษผู้กระทำความผิดต้องใช้เวลานานในการตรวจพิสูจน์ทำให้การดำเนินคดีล่าช้าไม่ทันต่อการป้องปราบอาชญากรรมประเภทนี้

คำอธิบาย

คำหลัก

ฉ้อโกง, หลอกลวง, ร่วมลงทุน

การอ้างอิง

ประวีณา ทองจีน. 2567. “ความผิดฐานฉ้อโกง : ศึกษากรณีฉ้อโกงในลักษณะหลอกให้ลงทุน.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.