มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551
dc.contributor.author | จรีลักษณ์ กิจพิทักษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-03-07T08:13:05Z | |
dc.date.available | 2019-03-07T08:13:05Z | |
dc.date.issued | 2562-02-07 | |
dc.description | นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญ ของปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 โดยทำการศึกษาประวัติความมาและวัตถุประสงค์ของกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว สนธิสัญญาแม่แบบว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของไทยให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 พบว่ายังไม่ได้มีการบัญญัติบทบัญญัติเกี่ยวกับเหตุปฏิเสธในการส่งกลับผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลนั้น จะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 และสนธิสัญญาแม่แบบว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนขององค์การสหประชาชาติ และเหตุปฏิเสธในการส่งกลับผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าคำร้องขอให้ส่งตัวบุคคลนั้นเกิดจากการไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของเชื้อชาติ สัญชาติ หรือเพศ ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัด การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ ค.ศ.1965 และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรีในทุกรูปแบบ ค.ศ.1979 ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ และสนธิสัญญาแม่แบบว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางครั้งมีการนำกฎหมายฉบับอื่นมาบังคับใช้ เช่น พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบตั ิงานของเจ้าหน้าที่ จากการศึกษาผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 ตามความใน มาตรา 9 จากข้อความเดิมโดยเพิ่มเติมข้อความดังใหม่ต่อไปนี้ “กรณีเป็นความผิดที่จะส่งผู้ร้าย ข้ามแดนได้และไม่ปรากฏเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน” และ “กรณีเป็นความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้และไม่ปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่าคำร้องขอมีเจตนา ที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีหรือลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ กำเนิดเผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง เพศหรือสถานะของบุคคล หรือสถานะของบุคคลนั้น อาจได้รับความกระทบกระเทือนเนื่องจากสาเหตุดังกล่าว” ในอนุมาตราย่อยของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 รวมถึงปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ตามความในมาตรา 54 จากข้อความเดิมโดยเพิ่มเติมข้อความใหม่ ดังต่อไปนี้ “ถ้ามีกรณีต้องสงสัยว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตราย ที่จะถูกทรมานหรือถูกกระทำการอื่นใดเนื่องจากการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ กำเนิดเผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง เพศหรือสถานะของบุคคล หรือสถานะ ของบุคคลนั้นอาจได้รับความกระทบกระเทือนเนื่องจากสาเหตุดังกล่าว อาจปฏิเสธการส่งตัวผู้นั้น ออกไปนอกราชอาณาจักรได้” ในมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ .ศ.2522 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและ ให้สัตยาบันไว้แล้วและสนธิสัญญาแม่แบบว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนขององค์การสหประชาชาติ | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5983 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | สิทธิมนุษยชน | en_US |
dc.subject | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน | en_US |
dc.subject | กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน | en_US |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 | en_US |
dc.title.alternative | LEGAL MEASURES ON HUMAN RIGHTS PROTECTION UNDER EXTRADITION ACT, B.E.2551 (2008) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |