การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีสินค้ารวมทั้งหมด 2,053 SKU ความถี่ในการหยิบสินค้า 50 ออเดอร์ ๆ ละ 20-100 SKU ขึ้นไปต่อวัน จากการทำงานพบปัญหาการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดและขาดการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยศึกษาและทดลองการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำถูกต้องและรวดเร็ว ใช้งานร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ STOCK DATABASE แบบ REAL TIME และโปรแกรม RECHECK FORM เอกสารตรวจนับสินค้าอัตโนมัติ ที่จัดเก็บข้อมูลในระบบ SERVER ขององค์กรทำหน้าที่เชื่อมโยงกระจายข้อมูลให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลแบบ REAL TIME ไปใช้ประโยชน์ได้ และตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ งานวิจัยนี้ได้นำโปรแกรม STOCK DATABASE แบบ REAL TIME มาปรับปรุงขั้นตอนการทำงานรูปแบบใหม่สามารถลดกระบวนการทำงาน ลดช่องว่างของกระบวนการทำงานให้สั่นลง ลดเวลาการทำงานจากเดิมใช้เวลา 60 นาที เมื่อปรับปรุงการทำงานใหม่ใช้เวลาเหลือเพียง 25 นาที ลดค่าใช้จ่ายในการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดก่อนปรับปรุงผิดพลาดจำนวน 151 ครั้ง เป็นเงิน 100,797 บาท หลังปรับปรุงผิดพลาด 45 ครั้ง เป็นเงิน 45,563 บาท เฉลี่ยประหยัดค่าใช้ได้จ่าย 55.24 % ซึ่งประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาพัฒนาในการบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีความแม่นยำสูงเหมาะสำหรับธุรกิจเพิ่งเริ่มต้นที่มีขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการได้อย่างมืออาชีพ

คำอธิบาย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คำหลัก

เครื่องอ่านบาร์โค้ด, บาร์โค้ด, การจัดการคลังสินค้า

การอ้างอิง

พุมรินทร์ พรหมเพชร. 2562. "การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.