ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

dc.contributor.authorจารุมน บุญรักษาth_TH
dc.date.accessioned2565-10-07T08:45:34Z
dc.date.available2022-10-07T08:45:34Z
dc.date.issued2565
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการกำหนดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง (Transparency of Procurement) ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (Act of Government Procurement and Supply Management B.E. 2560 (2017)) ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีการกำหนดถ้อยคำว่า หลักธรรมาภิบาล ไว้แต่เพียงแห่งเดียว คือ ในส่วนของหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ควรศึกษาปัญหาดังกล่าวเพื่อหาแนวทางและนิติวิธีทางกฎหมายเพื่อให้หลักธรรมาภิบาลมีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยสารนิพนธ์นี้มีการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตามนัยมาตรา 6 และมาตรา 8 เป็นหลักทั่วไปที่เป็นบทบัญญัติซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องแลสอดคล้องหลักธรรมาภิบาล แต่บทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้ไม่ได้บัญญัติชัดเจนเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และมิได้วางหลักเกณฑ์อันเกี่ยวกับจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักความโปร่งใสอย่างเป็นรูปธรรม กรณีนี้จึงอาจเป็นช่องว่างของกฎหมาย (Gap of Law) และอาจถูกนำมาใช้หรือตีความไปในทางที่บิดเบือน โดยไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Spirit of Law) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (Government Procurement and Supply Management) เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 และมาตรา 8 (2) โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ (Rule) และวิธีการดำเนินการทางกฎหมาย (Legal Measure) ซึ่งควรบัญญัติให้มีหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสไว้อย่างชัดเจน โดยอาจกำหนดหลักการในการดำเนินงาน (Principle of Operation) และหลักการพื้นฐาน (Fundamental Principle) ของความโปร่งในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้ครอบคลุมทั้งหลักธรรมาภิบาลและหลักความโปร่งใส ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ (Corruption and Wrongful Conduct) ในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้พระราชบัญญัตินี้เป็นมาตรฐานกลาง (Standard Rule) ที่กำหนดแนวทางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ (Benefit in Developing the Country) และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ (the Supreme Interest of State) ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationจารุมน บุญรักษา. 2565. “ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ.” บทความนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8489
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectหลักธรรมาภิบาลth_TH
dc.subjectความโปร่งใสth_TH
dc.subjectกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐth_TH
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างth_TH
dc.subjectการบริหารพัสดุภาครัฐth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS OF PROVIDING GOOD GOVERNANCE AND TRANSPARENCY IN ACCORDANCE WITH THE LAW ON GOVERNMENT PROCUREMENT AND SUPPLY MANAGEMENTth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทความ.pdf
ขนาด:
721.41 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: