กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1427
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณาวี ศรีสุข
คำสำคัญ: การปฏิบัติงาน
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 23-เมษายน-2552
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งเพื่อเปรียบเทียบสภาพการ ปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เพื่อนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางปฏิบัติงานสำหรับ ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รายละเอียดของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 การวัดระดับสภาพการปฏิบัติ อุปสรรคและปัญหาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: ANOVA)โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ ได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวความคิดในการวิจัยที่กำหนดให้ โดยมีเพศอายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ขนาดองค์กร ลักษณะองค์กร ประเภทองค์กร เป็นตัวแปรต้น และ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือก การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ การบริหารค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาองค์กร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า ระดับสภาพการปฏิบัติงาน อุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือก การบริหารค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ การฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาองค์กร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามเพศ โดยผู้บริหารที่มีเพศแตกต่างกันมีสภาพการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีสภาพการปฏิบัติงานมากกว่าเพศชาย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน ขนาดองค์กร ลักษณะองค์กร ประเภทขององค์กร พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามเพศ และขนาดองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดย เพศชายมีอุปสรรคและปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเพศหญิง และองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน 50-100 คน 101-200 คน มีอุปสรรคและปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมมากกว่าองค์กรที่มีจำนวนพนักงานน้อยกว่า 50 คน และองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน มากกว่า 200 คน มีอุปสรรคและปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมน้อยกว่าองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน 101-200 คน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุปสรรคและปัญหางานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมจำแนกตามอายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน ลักษณะองค์กร ประเภทขององค์กรพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1427
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf49.4 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdf45.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
acknow.pdf30.98 kBAdobe PDFดู/เปิด
cont.pdf50.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap1.pdf73.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap2.pdf273.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap3.pdf80.64 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap4.pdf311.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap5.pdf147.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
bib.pdf74.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
appen1.pdf94.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
appen2.pdf30.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
profile.pdf28.05 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น