กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3414
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาคร กันทะ
คำสำคัญ: การคุ้มครองสิทธิ
การชุมนุม
เสรีภาพ
สาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 15-มีนาคม-2555
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดไว้ใน มาตรา 63 เกี่ยวกับสิทธิในการชุมนุมในที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมในที่สาธารณะซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองไม่มีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญาหรือพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้บังคับเป็นกรณี ๆ ไป แต่ก่อให้เกิดปัญหาว่ากฎหมายดังกล่าวมิได้มีเจตนารมณ์ในการที่จะมาแก้ไขปัญหาการชุมนุมในที่สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ในการที่จะบริหารจัดการการชุมนุมให้อยู่ในความสงบได้ จากการศึกษาพบว่า การที่ปัจจุบันได้นำประมวลกฎหมายอาญามาใช้แก้ไขปัญหากรณีที่ผู้ชุมนุม ชุมนกันนั้น ก่อให้เกิดปัญหาการนำกฎหมายมาใช้ผิดเจตนารณ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิด กล่าวคือ ถ้ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นกฎหมายอาญาจะเข้าไปแก้ไขปัญหา โดยกำหนดสิทธิของประชาชนและให้อำนาจเจ้าหน้าที่ กรณีนี้เห็นได้ว่าความผิดในการชุมนุมในที่สาธารณะนั้นถ้าพิจารณาจากเนื้อแท้ในการใช้สิทธิเรียกร้องมิใช่เป็นความผิดทางอาญา แต่เป็นการใช้สิทธิในการที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตามที่ตนได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมมิใช่เป็นการกระทำความผิดในทางอาญา นอกจากนั้นโดยเฉพาะการสลายการชุมนุมยังนำพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้บังคับกรณีเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการใช้กฎหมายผิดเจตนารมณ์เช่นกัน เพราะตามกฎหมายดังกล่าวเป็นการให้อำนาจการปกครองทั้งหมดไปไว้กับนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ดังนั้นถ้าเห็นว่าการเรียกร้องทางการเมืองเป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศแล้วต้องมีการสลายการชุมนุมย่อมเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะการชุมนุมในที่สาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาให้แก่ตน จากการศึกษาผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่า การที่ปัจจุบันได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมในที่สาธารณะนั้นถือว่าเป็นการดีที่ประเทศไทยได้พัฒนาสิทธิและเสรีภาพไปอีกขั้นหนึ่ง แต่ก็ต้องมีการนำเอาหลักประกันสิทธิของประชาชนในการใช้สิทธิเรียกร้องตามหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาหรือในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น สาธารณรัฐเยอรมันและฝรั่งเศส นอกจากนั้นต้องมีหลักการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจในการที่จะบริหารจัดการการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยคุ้มครองทั้งทางแพ่ง อาญาและความผิดทางวินัยด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3414
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf54.15 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf117.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf59.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf103.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf103.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf844.36 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf464.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf351.98 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf119.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf218.64 kBAdobe PDFดู/เปิด
11appen.pdf115.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
12profile.pdf54.96 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น