Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4504
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อยen_US
dc.date.accessioned2557-11-24T08:05:00Z-
dc.date.available2557-11-24T08:05:00Z-
dc.date.issued2557-11-24T08:05:00Z-
dc.identifier.citationอุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อย. 2556. "การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4504-
dc.descriptionมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1)ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (2)ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (3)ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ และ (4)ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน สาหรับการวิจัยเชิงปริมาณสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 25 แห่ง จำนวน 294 คน และ2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละครัวเรือนจำนวน 300 คน สาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มคณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน (2) กลุ่มข้าราชการ จำนวน 8 คน และ(3) กลุ่มพนักงานจ้าง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนมีความเห็นตรงกันว่า ความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับปานกลาง โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีระดับความสำเร็จสูงสุด ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มีระดับความสำเร็จต่ำที่สุด โดยในประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ได้ค่าคะแนนสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของนโยบาย ส่วนด้านการบรรลุเป้าหมายของนโยบายได้รับค่าคะแนนน้อยที่สุด และปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ส่วนด้านภาวะผู้นา ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติน้อยที่สุด สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย ด้านทรัพยากรทางการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การ สามารถนำมาทำนายความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติได้มากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) การขาดจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ (2) ปัญหาทางด้านนโยบาย และ (3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ส่วนแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) เร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน (2) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม (3) เตรียมความพร้อมทางทรัพยากรในการดำเนินงานให้เพียงพอ (4) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลจะต้อง (1) ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น (2) เร่งหามาตรการในการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนให้เกิดขึ้น (3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ และ(4) เสริมสร้างให้เกิดระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่งจะต้อง (1) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา (2) ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน (3) ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (4) ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันให้เกิดขึ้นในการดำเนินงาน (5) แสวงหาการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินงาน (6) จัดเตรียมความพร้อมในทรัพยากรทางการบริหารทุกๆด้านให้เพียงพอกับการดำเนินงาน (7) เสริมสร้างให้เกิดลักษณะโครงสร้างในการทำงาน ที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ (8) ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหน้าที่เห็นถึงเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ตลอดจนถึงสามารถประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย และ (9) มีการพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการนำนโยบายไปปฏิบัติen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาครen_US
dc.titleการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาครen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.