Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5381
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับการจัดการ ของรัฐในสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉิน
Other Titles: LEGAL PROBLEMS RELATED TO RIGHTS AND LIBERTIES OF PEOPLE AND STATE MANAGEMENT IN THE EMERGENCY DISASTER
Authors: ชานน หมื่นธง
Keywords: สิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ภัยทางธรรมชาติ
การจัดการ
ภัยพิบัติฉุกเฉิน
กรณีจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ชานน หมื่นธง. 2560. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับการจัดการ ของรัฐในสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉิน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ชานน_2560
Abstract: ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disaster) เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของรัฐ ทั้งในแง่ของความมั่นคงของรัฐ และในแง่ของความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แม้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยไม่ได้เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์อันเป็นเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นจึงโทษผู้ใดมิได้ และไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ใดได้ แต่รัฐก็อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งมักจะมีความรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐและยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครอง รัฐจึงมีหน้าที่ในการจัดการกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย (Public Order) ความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ (Security of the State) และคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน (Protection of Life and Property) ของประชาชน การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดหรือบรรเทาความรุนแรงลงนั้นเป็นสิ่งที่รัฐสามารถดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง โดยการดำเนินการตามหลักการจัดการภัยพิบัติของแต่ละรัฐหรือในแต่ละประเทศ ซึ่งจะนำหลักการจัดการภัยพิบัติดังกล่าวไปบัญญัติเป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐไว้ การที่รัฐ มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยภายในรัฐ รวมทั้งรักษา ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในรัฐ จึงทำให้รัฐต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องในการเป็นผู้จัดการภัยพิบัติ ทางธรรมชาติตามหลักการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งผูกพันรัฐให้ต้องมีหน้าที่ในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยการที่รัฐต้องกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับภัยพิบัติไว้ในบทบัญญัติของกฎหมาย สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น จากประสบการณ์ที่ประเทศไทยที่ต้องรับมือกับสาธารณภัยซึ่งเป็นภัยพิบัติรุนแรงขนาดใหญ่ที่ผ่านมา การบริหารจัดการของรัฐในเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งการเตรียมการจัดการตามระบบและแบบแผนที่มีอยู่นั้นยังคงอาศัยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนใหญ่ การบริหารจัดการของรัฐ (State Management) และการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ (Limitation of Rights and Liberties) ของประชาชนนั้น ยังไม่มีความชัดเจน รวมทั้งกฎหมายระดับรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องก็ยังมิได้มีบทบัญญัติเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง โดยพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มิได้บัญญัติเรื่อง ภัยพิบัติฉุกเฉินไว้โดยตรงแต่อย่างใด มีเพียงมาตรา 30 ที่กล่าวถึงว่า การเกณฑ์แรงงานเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ และมาตรา 50 (2) ที่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เห็นว่า การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นความรับผิดชอบของพลเมืองทุกคน
Description: ชานน หมื่นธง. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับการจัดการของรัฐในสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉิน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5381
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.