Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5520
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรรณฐิณี พิภักดิ์en_US
dc.date.accessioned2018-04-18T08:31:57Z-
dc.date.available2018-04-18T08:31:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationพรรณฐิณี พิภักดิ์. 2560. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาชำระหนี้ภายหลัง การบอกเลิกสัญญากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5520-
dc.descriptionพรรณฐิณี พิภักดิ์. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาชำระหนี้ภายหลังการบอกเลิกสัญญากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ในส่วนที่กำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้ก่อนกำหนดหรือผู้กู้ยืมเงินถูกบอกเลิกสัญญาจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ตลอดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบสภาพปัญหา และให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาต่อไป จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 มาตรา 47 และ 48 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 ข้อ 11 และข้อ 12 ได้ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในการชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา กับผู้กู้ยืมที่สำเร็จการศึกษา หรือพ้นจากสภาพนักเรียน หรือถูกกองทุนบอกเลิกสัญญา โดยบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินที่ขอชำระหนี้ก่อนกำหนด หรือถูกกองทุนบอกเลิกสัญญานั้น ต้องชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาทั้งหมดคืนกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่แจ้งบอกเลิกสัญญากับกองทุน หรือนับแต่วันถัดจากวันที่กองทุนแจ้งบอกเลิกสัญญา ซึ่งแตกต่างจากผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษา หรือพ้นจากสภาพนักเรียนนักศึกษา ที่กฎหมายกำหนดให้ปลอดภาระการชำระหนี้ 2 ปี ภายหลังสำเร็จการศึกษาหรือพ้นจากสภาพนักเรียน นักศึกษา และให้เวลาชำระหนี้คืนกองทุน สูงสุด 15 ปี ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รวมระยะเวลาผ่อนชำระหนี้คืนทั้งหมดสูงสุด 17 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าผู้กู้ยืมเงินที่ไม่ประสงค์จะกู้ยืมเงินต่อไปแล้วทำการบอกเลิกสัญญาต่อกองทุน หรือถูกกองทุนบอกเลิกสัญญา ซึ่งมีระยะเวลาการชำระหนี้คืนทั้งหมดเพียง 30 วัน ซึ่งผู้กู้ไม่สามารถชำระคืนได้จริงในทางปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ตกเป็นลูกหนี้ค้างชำระเงินกู้ยืม ทำให้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาขาดทุนหมุนเวียนที่จะนำมาใช้ในปีต่อไป และส่งกระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวด้วยen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_พรรณฐิณี_2560en_US
dc.subjectการกู้ยืมเงินen_US
dc.subjectกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาชำระหนี้ภายหลัง การบอกเลิกสัญญากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS ON PERIOD OF REPAYMENT AFTER THE TERMINATION OF EDUCATION LOAN CONTRACTen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.