Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวาทิณี คำดีen_US
dc.date.accessioned2018-12-13T05:07:31Z-
dc.date.available2018-12-13T05:07:31Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationวาทิณี คำดี. 2561. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกรณีร่วมกัน กำหนดราคาอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5731-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractกฎหมายแข่งขันทางการค้า ถูกบัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ในการสนับสนุนส่งเสริมกลไกการแข่งขันของตลาดให้มีการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรี และป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดทางการค้าเกิดขึ้น การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันต้องเกิดจากการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสมให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งหากการแข่งขันอย่างเสรีนั้นเป็นไปตามกลไกของตลาดแล้ว ย่อมเกิดความยุติธรรมกับทั้งผู้ประกอบการด้วยกันเองและผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ในประเทศไทยได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2480 หากแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้อย่างเต็มที่ เนื่องจากกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าโดยเอกชน แต่จะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายโดยองค์กรของรัฐ จากการศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรกำหนดให้องค์กรของรัฐมีอำนาจในการตั้งเรื่องพิจารณาความผิดของผู้ประกอบการได้โดยไม่จำต้องมีการร้องเรียนจากผู้เสียหายก่อน รวมทั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีคำวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติหรือไม่ เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำการอันฝ่าฝืนได้ โดยกฎหมายที่บัญญัติให้เอกชนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายนั้น บัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 69 ที่บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกำหนดราคาซื้อ หรือราคาขายสินค้า หรือบริการอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขัน มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการที่มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนบทบัญญัติได้ ซึ่งหากมีคำวินิจฉัยที่ถูกพิจารณาและรับรองโดยองค์กรของรัฐแล้ว ผู้เสียหายก็ไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดของจำเลยอีกen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_วาทิณี คำดี_182373en_US
dc.subjectเรียกร้องค่าเสียหายen_US
dc.subjectกำหนดราคาen_US
dc.subjectการผูกขาดหรือลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขันen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกรณีร่วมกัน กำหนดราคาอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขันen_US
dc.title.alternativeLEGAL ISSUES RELATING TO LEGAL PROCEEDING FOR CLAIMING COMPENSATION REGARDING JOINT ACTION OF PRICE FIXING OR RESTRICT OR REDUCE MARKET COMPETITIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.