Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฎฐพล ธรรมสุนทรen_US
dc.date.accessioned2019-07-13T09:01:08Z-
dc.date.available2019-07-13T09:01:08Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationณัฎฐพล ธรรมสุนทร. 2561. "การคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6321-
dc.descriptionหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเรื่องการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พยานบุคคลในคดีอาญานับว่ามีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะพยานบุคคล จะเบิกความโดยพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่ และจำเลยได้กระทำความผิด ตามฟ้องโจทก์จริงหรือไม่ แต่การนำพยานบุคคลมาเบิกความในคดีอาญามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น พยานไม่ไปศาลเนื่องจากพยานบุคคลเกิดความหวาดกลัวจะได้รับอันตราย หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย หากต้องมาเป็นพยาน พยานเหล่านี้มักจะหลีกเลี่ยงการไปศาล หรือเกรงกลัวอิทธิพลแล้วกลับคำให้การในชั้นพิจารณาคดี ซึ่งการคุ้มครองพยานบุคคลในประเทศไทยนั้นไม่สามารถให้ความคุ้มครองต่อพยานได้อย่างแท้จริง เพราะการสืบพยานของประเทศไทยต้องกระทำโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลยซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 วรรคหนึ่ง เป็นการให้สิทธิแก่จำเลยที่จะได้รับการเผชิญหน้ากับพยาน หากเปรียบเทียบการสืบพยานของกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ จะจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่พร้อมกันสามารถเห็นภาพและเสียงได้ยินเสียงของผู้พิพากษา ทนายความจำเลย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นรวมทั้งพยานหลักฐานและข้อมูลในกระบวนการก่อนสืบพยาน ทนายความมาปรากฏตัวต่อศาลพร้อมกับจำเลย กฎหมายในต่างประเทศมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย จึงไม่มีเงื่อนไขบังคับเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างจำเลยกับพยาน และการที่บุคคลใดมาเป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เป็นองค์กร พยานจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่เริ่มกระบวนพิจารณาจนจบคดี และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพยานก็ได้รับการคุ้มครอง แต่การที่บุคคลใดจะได้รับการคุ้มครองพยานต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองพยานบุคคลโดยเฉพาะ พยานต้องทำการสมัครใจเข้าโครงการคุ้มครองพยาน และมีการกำหนดอัตราโทษบุคคลที่นำเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานไปเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่กฎหมายของไทยมีกฎหมายบังคับให้การสืบพยานในคดีอาญาต้องเผชิญหน้ากับพยาน ซึ่งการคุ้มครองพยานของไทยคุ้มครองเฉพาะพยานไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพยานในคดี มีการคุ้มครองเพียงระยะเวลาจำกัด เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคล เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานใน คดีอาญา พ.ศ. 2546 ควรที่จะกำหนดการคุ้มครองพยานที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองบุคคลโดยมีการปฏิบัติที่เหมาะสม และมีการให้ค่าตอบแทนพอสมควรแก่พยาน และมีการจัดให้มีการคุ้มครองชั่วคราว แก่พยานในช่วงระยะเวลา ที่มีการพิจารณาคดีเพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นไปen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ณัฎฐพล ธรรมสุนทร_2562en_US
dc.subjectพยานบุคคลen_US
dc.titleการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาen_US
dc.title.alternativeWITNESS PROTECTION IN THE CRIMINAL CASEen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.