กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6630
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขับรถขนส่ง ตามหลัก 7R กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT OF TRANSPORT DRIVERS ABILITY ACCORDING TO THE 7R PRINCIPLE: A CASE STUDY OF A TRANSPORTATION BUSINESS.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพพัต อิสราศิวกุล
คำสำคัญ: พฤติกรรม
ส่งมอบผลิตภัณฑ์
ระดับความยากง่ายของงาน
ระดับความสามารถของพนักงาน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สุพพัต อิสราศิวกุล. 2562. "การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขับรถขนส่ง ตามหลัก 7R กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_สุพพัต อิสราศิวกุล_T185852_2561
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเล่มนี้เกิดจากการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการปัญหาได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าอันเนื่องจากการตรวจเช็ครับงานผิดพลาดทั้งงานรับงานมาไม่ครบ การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย งานเสียหาย อุบัติเหตุในการทำงาน และการขับรถ รวมไปถึงเรื่องการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาและประเมินระดับความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งใน Fleet บริษัท ABC จำกัด จัดกลุ่มระดับความยากง่ายในการทำงานของแต่ละ Customer ของลูกค้า และเพื่อจัดพนักงานขับรถขนส่งสินค้าให้ได้ทำงานกับ Customer ที่ถูกจัดกลุ่มไว้แล้ว ตามระดับความสามารถ โดยผู้วิจัยได้เลือกวิธีการประเมินระดับความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งตามหลักการของ 7R Logistic เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเลือกงานที่เหมาะสมกับระดับความสามารถนั้น โดยในส่วนของงานแต่ละ Customer นั้นจะใช้วิธีการประเมินจัดกลุ่มระดับความยากง่ายของแต่ละงาน เพื่อทำการจัดกลุ่มระหว่างของความสามารถของพนักงานขับรถขนส่งกับระดับความยากง่ายของงาน ด้วยวิธีการจัดลำดับ (Ranking) ซึ่งจากการศึกษาจัดกลุ่มและได้นำผลจากการจัดกลุ่มไปใช้จริง โดยได้จัดพนักงานขับรถขนส่งอยู่ในลำดับต่างๆ ไปปฏิบัติงานกับลูกค้าตามกลุ่มที่จัดเอาไว้ ผลที่ได้รับพบว่า ในปี 2562 มีข้อร้องเรียกจากลูกค้าลดน้อยลงจากเดิม 4 เดือน (มกราคม – เมษายน) 81 เคส หรือโดยเฉลี่ยเดือนละ 20 เคส โดยหลังปรับปรุงในเดือนกรกฎาคม 2562 เหลือเพียง 3 เคส เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2562 ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดที่เก็บข้อมูลพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วทั้งหมด 7 ลูกค้าลดลงร้อยละ 83 และเมื่อเทียบจากค่าเฉลี่ยใบเคลมของทั้ง 4 เดือนที่เก็บข้อมูล (มกราคม – เมษายน) ของลูกค้าทั้ง 7 ราย ลดลงร้อยละ 85
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น