Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7845
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพาณิภัค ภัคพงศ์สิริth_TH
dc.date.accessioned2021-12-08T06:24:47Z-
dc.date.available2021-12-08T06:24:47Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationพาณิภัค ภัคพงศ์สิริ. 2564. "มาตรการทางกฎหมายในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7845-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล ผลการศึกษาพบว่า การใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาในสำนวนสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 ได้กำหนดให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้อย่างกว้าง ๆ ในการใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยไม่มีแนวทางการบังคับใช้กฎหมายอย่างชัดเจน ซึ่งอาจทำให้การรวบรวมพยานหลักฐานเข้ามาในสำนวนมีความบกพร่องหรือไม่ชอบธรรมได้ อีกทั้งกฎหมายมิได้มีการกำหนดขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุและวิธีการรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ มีเพียงระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีและคำสั่งสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจเพียงเท่านั้น มิได้เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อย่างเคร่งครัด เช่นนี้อาจทำให้การปฏิบัติในการตรวจสถานที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คดีได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีปัญหาอยู่หลายประการจึงต้องศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป ข้อเสนอแนะจากการศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และขั้นตอนในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ อีกทั้งตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี และคำสั่งสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจนั้น มิได้มีฐานะเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่นนี้จึงควรมีการวางหลักกฎหมายโดยกำหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลำดับหลัก หรือกฎหมายลำดับรอง เพื่อให้เกิดมาตรฐานและถูกต้องตามหลักสากล จึงเห็นควรให้มีการกำหนดไว้โดยละเอียดโดยบัญญัติเป็นกฎกระทรวงth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์th_TH
dc.subjectการรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาญาth_TH
dc.subjectอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจth_TH
dc.subjectการตรวจสถานที่เกิดเหตุth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาth_TH
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES ON THE COLLECTION OF SCIENTIFIC EVIDENCE UNDER THE CRIMINAL PROCEDURE CODEth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.