Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัญลักษณ์ ศรีมหันต์th_TH
dc.date.accessioned2022-01-13T07:11:19Z-
dc.date.available2022-01-13T07:11:19Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationธัญลักษณ์ ศรีมหันต์. 2564. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7933-
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้มุ่งเน้นการคุ้มครองและปกป้องสินทรัพย์ของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ ส่งผลให้การจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาทั่วไป และทำให้เกิดปัญหาผู้สูงอายุถูกเอาเปรียบหรือถูกหาประโยชน์ในทางสินทรัพย์โดยการนำสินทรัพย์ของผู้สูงอายุไปเป็นของตนเองหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามคำว่าสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ พบว่าไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กล่าวถึงคำนิยามของคำว่าสินทรัพย์ของผู้สูงอายุไว้ การจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุจึงเป็นไปตามกฎหมายทั่วไป ทำให้ผู้สูงอายุถูกเอาเปรียบและต้องเสียหาย (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ พบว่าไม่มีกฎหมายฉบับใดมุ่งเน้นการคุ้มครองและปกป้องสินทรัพย์ของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ ส่งผลให้การจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาทั่วไป และทำให้เกิดปัญหาผู้สูงอายุถูกเอาเปรียบหรือถูกหาประโยชน์ในทางสินทรัพย์โดยการนำสินทรัพย์ของผู้สูงอายุไปเป็นของตนเองหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (3) ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งบุคคลเข้ามาดูแลและจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ พบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นยังคงถือว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลซึ่งมีความคิดความรู้สึกผิดชอบและความเข้าใจต่อผลของการกระทำที่ตนได้กระทำลงเช่นเดียวกับบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว การตั้งตัวแทนจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตัวแทน แต่ผู้สูงอายุมีบางกลุ่มมีปัญหาเรื่องของระบบประสาท ความทรงจำ และสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการสินทรัพย์ของตน ทำให้ถูกกลุ่มคนซึ่งไม่หวังดีหรือประสงค์ร้ายกระทำการจัดการสินทรัพย์เป็นไปในทางที่ไม่ชอบธรรมได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำสัญญาก่อตั้งทรัสต์ใช้จัดการและปกป้องสินทรัพย์ของตน โดยให้มีกฎหมายทรัสต์เพื่อการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย คำนิยามคำว่าสินทรัพย์ สิทธิในการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุ และการตั้งบุคคลเข้ามาดูแลและจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectทรัสต์th_TH
dc.subjectการจัดการสินทรัพย์th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการจัดการสินทรัพย์ของผู้สูงอายุth_TH
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES IN RESPECT OF TRUST FOR THE ELDERLY’S ASSETS MANAGEMENTth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.