Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7982
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์: ศึกษากรณี การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
Other Titles: LEGAL PROBLEMS REGARDING MINOR’S CAPACITY: CASE STUDY OF REAL ESTATE BROKER
Authors: กษิดิศ เต็มเจริญ
Keywords: ความสามารถของผู้เยาว์
การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: กษิดิศ เต็มเจริญ. 2564. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์: ศึกษากรณี การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาความสามารถของผู้เยาว์ในการประกอบนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอาชีพที่เปิดกว้างให้กับบุคคลซึ่งต้องการและสนใจสามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ก็ยังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้นั้นก็คือ ผู้เยาว์ ซึ่งไม่สามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างอิสระ เนื่องจากว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังคงได้จำกัด โดยที่ผู้เขียนต้องการกำหนดให้ผู้เยาว์มีความสามารถในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างสมบูรณ์ ผลจากศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ เนื่องจากว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้จำกัดความสามารถของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมไว้ ผู้เยาว์ต้องการที่จะทำนิติกรรม ผู้เยาว์เองนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมจึงสามารถทำนิติกรรมได้ แต่ถ้าผู้เยาว์ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำไปดังกล่าวนั้นจะตกเป็นโมฆียะ แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้นิติกรรมบางประเภทที่เป็นประโยชน์แก่ตัวของผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม แม้ว่าจะจำกัดและกำหนดในเรื่องของความสามารถไว้ ก็ไม่สอดคล้องและเพียงพอต่อบริบทสังคมในปัจจุบัน (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ แม้ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้ผู้เยาว์สามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ก็ตาม แต่เนื่องจากการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะทำให้จะต้องกลับไปใช้ลักษณะทั่วไปในการประกอบอาชีพนายหน้า ทำให้ผู้เยาว์แม้ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ผู้เยาว์ก็ไม่สามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากว่าการแต่งตั้งให้เป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญาแต่งตั้งนายหน้าซึ่งเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอีกครั้งก่อนผู้เยาว์ถึงจะสามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้สมบูรณ์ (3) ปัญหาเกี่ยวกับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ผู้แทนโดยชอบธรรมมีหน้าที่ให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ผู้เยาว์เองนั้นก็ไม่สามารถทำการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างอิสระ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นเห็นว่าการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์นั้นอาจเกิดความเสียหายแก่ตัวผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถบอกเลิกความยินยอมในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ได้ ทั้งที่บุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นก็คือตัวของผู้เยาว์เอง ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ (1) กำหนดความสามารถของผู้เยาว์ในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้เยาว์สามารถทำได้ (2) กำหนดให้ผู้เยาว์มีสิทธิในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช้เงินลงทุน (3) กำหนดให้การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ไม่อยู่ภายใต้บังคับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7982
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.