ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ธรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นต้นแบบของระบบซีวิลลอว์และจากแนวคิดที่ว่างานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ที่ปรากฏออกมานั้นเป็นผลสะท้อนจากบุคลิกลักษณะส่วนบุคคลของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่อาจแยกออกจากงานสร้างสรรค์ได้ ดังนั้น ผู้สร้างสรรค์จึงควรมีสิทธิบางประดารเกี่ยวกับงานของตนแม้จะได้โอนลิขสิทธิ์ของตนไปแล้วก็ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บัญญัติให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์แก่ผู้สร้างสรรค์ไว้ในมาตรา 18 เพียงมาตราเดียว วึ่งยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ จึงก่อให้เกิดปัญหาในการคุ้มครองธรรมสืทธิ์ เช่น ปัญหาเรื่องคำจำกัดความ โดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยไม่มีบทบัญญัติที่ให้คำจำกัดความคำว่า “ธรรมสิทธิ์” ไว้ จึงก่อให้เกิดปัญหาในการตีความหรือการนำมาใช้ และมีปัญหาเรื่องผู้มีสิทธิใช้กรรมสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ภายหลังผู้สร้างสรรค์ถึงแกความตาย อาจตีความได้ว่า คำว่า “ทายาท” นอกจากจะหมายถึงทายาทโดยธรรมแล้ว ยังหมายความรวมถึง ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรมหรือที่เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” ด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการโอนและสละธรรมสิทธิ์ หากพิจารณาในแง่ทฤษฎีแห่งการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ การอนุญาตให้สามารถทำพินัยกรรมโอนธรรมสิทธิ์ได้ถือว่าขัดกับหลักทฤษฎีและเจตนารมณ์แห่งการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ดังนั้น ธรรมสิทธิ์จึงควรเป็นสิทธิที่ให้แก่ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่ควรที่จะให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานมีสิทธิ์ชะรรมสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ได้ อีกทั้งยังมี ปัญหาเรื่องการกำหนดค่าสิทนไหมทดแทนกรณีละเมิดธรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ที่ถูกละเมิดธรรมสิทธิ์จึงไม่อาจได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความเสียหายตามมาตรา 76 ได้

คำอธิบาย

คำหลัก

การคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์

การอ้างอิง

ชนัญญา บุญเจริญผล. 2557. “ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.