Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9371
Title: กฎเกณฑ์และมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทย
Other Titles: RULES AND LEGAL MEASURES DETERMINING COMPENSATION FOR HUMAN TRAFFICKING OFFENSES IN THAILAND
Authors: ทรงพล สงวนจิตร
Keywords: ค่าสินไหมทดแทน
ค้ามนุษย์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ทรงพล สงวนจิตร. 2566. "กฎเกณฑ์และมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทย ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นมาตรการสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายแต่หลักเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในประเทศไทยยังคงไม่เป็นระบบ ขาดความชัดเจนและเหมาะสมส่งผลให้การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายที่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิที่ดีเพียงพอเช่น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน อนามัย เสรีภาพและสิทธิอื่น ๆ และส่งผลให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่เข้ามาสู่กระบวนการเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หากปล่อยให้การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีค้ามนุษย์ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เหมาะสมและเป็นธรรม ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้เสียหายลดลงยิ่งกว่าเดิม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสหภาพยุโรป และกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในระบบกฎหมาย Common Law และระบบกฎหมาย Civil Law โดยพบว่าประเทศในระบบกฎหมาย Common Law เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมีการกำหนดเรื่อง ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้ในการดำเนินคดีค้ามนุษย์ด้วยเพื่อเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย อีกทั้งมีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่มีพฤติกรรมร้ายแรง ชั่วร้าย ทารุณกรรมหรือกดขี่ข่มเหงโดยขาดมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงต่อผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังไม่มีแนวทางที่แน่นอนและชัดเจน ส่งผลให้การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในแต่ละคดีมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนแตกต่างกันมากและไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้การใช้บังคับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 35 ขาดประสิทธิภาพจึงเห็นควรเสนอให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการแยกค่าสินไหมทดแทนตามลักษณะของความเสียหายแต่ละประเภทกำหนดรายการที่ใช้สำหรับตรวจสอบและรวบรวมตัวอย่างของค่าสินไหมทดแทนประเภทต่าง ๆ อีกทั้ง กำหนดกลไกของการตรวจสอบติดตามประเมินผล (Follow-up Mechanism) ให้สอดคล้องกับแนวทางที่ได้เสนอแนะมาในวิทยานิพนธ์นี้ด้วย
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9371
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.