รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ผู้เขียน "ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การดูดบำบัดสีในน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมด้วยตะกอนจุลินทรีย์(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณวิธีการบำบัดน้ำเสียที่มักนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือกระบวนการดูดซับทางกายภาพและเคมี แต่กระบวนการดังกล่าวข้างต้นยังมีข้อจำกัดมากมาย การเลือกใช้ตะกอนจุลินทรีย์ในการมาดูดซับทั้งสารอินทรีย์และสีย้อมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาความสามารถในการดูดซับสีของตะกอน จุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย ระยะเวลาสัมผัส ผลของพีเอชที่มีผลต่อการดูดซับ และสารละลายที่เหมาะสมในการชะล้างสีย้อมออกจากตะกอนจุลินทรีย์ ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการดูดซับสีของตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตกับตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตมีความแตกต่างกัน ตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมีความสามารถในการดูดซับสีได้สูงกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว และยังพบอีกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่นำมาจากโรงบำบัดน้ำเสียรวมสี่พระยามีความสามารถในการดูดซับสีได้มากกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่มาจากโรงงานฟอกย้อม สำหรับตะกอนจุลินทรีย์ที่มาจากโรงบำบัดน้ำเสียรวมสี่พระยาจะใช้ระยะเวลาสัมผัส 6 ชั่วโมงในขณะที่ตะกอนจุลินทรีย์จากโรงงานฟอกย้อมใช้ระยะเวลาสัมผัสเพียง 3 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซับที่มากที่สุดเท่ากับ 6.12 มิลลิกรัมต่อกรัม-เซลล์โดยที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมกับตะกอน จุลินทรีย์ที่มีชีวิตเท่ากับ 7 ในขณะที่ตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตจะพบว่าที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างเพิ่มขึ้น ความสามารถในการดูดซับจะต่ำลง และ 0.1% SDS มีประสิทธิภาพในการชะล้างตะกอนได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาผลของพีเอชต่อความสามารถในการดูดซับสีของตะกอน จุลินทรีย์ พบว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจะแสดงความสามารถในการดูดซับสีสูงสุดที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 สำหรับตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตจะให้ประสิทธิภาพการดูดซับที่ดีที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3