รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 139
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ The adoption of Mobile Commerce (M-Commerce) in Small and Medium Businesses in Thailand(2552) Anupong AviruthaThe purpose of this study was to identify the factors affecting the decision on the adoption of mobile commerce (m-commerce) by small and medium businesses in Bangkok, Thailand. A better understanding of the factors influencing m-commerce usage will enable SME businesses to invest and adopt m-commerce use for business functions. Additionally, this will work effectively if the lawmakers or government can be convinced that customers will benefit from the m-commerce. The logistic was applied in this study to determine a relationship among the dependent variable, m-commerce adoption and the ten independent variables of technology literacy, level of education, age, user resistant to technology, the availability of wireless and mobile technology, perceived relative advantage of the technology, perceived compatibility of the technology, perceived complexity of the technology, perceived trialability of the technology, and perceived observability of the technology. The findings revealed that perceived observability of the technology, trialability of the technology, perceived compatibility of the technology, perceived complexity of the technology, and user resistance to the technology significantly affected the decision on the adoption of m-commerce.รายการ An Analysis of the Errors in Spoken English of Fourth Year Students Majoring in English Business Communication at Selected Private Universities(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-04) Gloria VidheecharoenThe study was conducted for the following objectives: 1. To analyze students’ errors in spoken English. 2. To provide explanations to students’ errors in spoken English. 3. To provide evidence that analyzing students’ errors is crucial to the understanding of students’ language learning process. 4. To contribute more insights into the growing field of English teaching research in Thailand. The subjects included 142 fourth-year students majoring in English Business Communication at four selected private universities namely Sripatum University, Bangkok University, Assumption University and University of the Thai Chamber of Commerce. They were asked to make an oral presentation on a given topic and while doing this, their errors were jotted down and later identified, categorized, described and explained. Statistical treatment in the analysis involved simple enumeration, frequency distribution and Chi-square to determine if there is a significant difference in the errors students make in their oral presentations. The study found that there is a significant difference in the errors the students make at the .05 level. The bulk of the errors were in grammar, specifically in verbs. The errors were mostly attributed to the differences between the student’s native language and the target language. Other causes of errors were students’ overgeneralizations, idiosyncracies, non-mastery and incomplete learning of the grammatical concepts in the target language. The findings in this study confirm the interlanguage concept. It is implied that in language teaching situations, communication should be the foremost goal. Minor differences or mistakes, or even inappropriate expressions, can be tolerated provided information is transferred and communication is not impeded. Some of the recommendations given are that 1) more research on interlanguage should be undertaken to specify completely its features and components, in both oral and written language use and 2) instructional materials for teaching English as a second or foreign language to Thai learners must be created and developed incorporating the learning, relearning, practice drilling or even over learning of the target language in which Thai learners make errors.รายการ Thai Bank Efficiency during Economic Recovery Period and Its Relation to Stock Returns(2552) Nakhun ThoraneenitiyanThis study examines efficiency of 10 Thai commercial banks and their relations to stock returns. The analysis is conducted between 2001 and 2007 using a non-parametric frontier technique, Data Envelopment Analysis (DEA), to estimate profit efficiency. Then, the relationship between bank efficiency and stock return is examined. This paper makes key contributions to literature. To the best of author knowledge, this is the first study that investigates profit efficiency of Thai banks after the 1997 Financial Crisis. In addition, an important issue whether changes in a bank’s efficiency are reflected in stock prices is addressed. The main finding reveals that on average the profit efficiency of Thai bank is in the moderately high level at 85%. The results from the productivity analysis suggest that, on average, there is little improvement. Although Thai banks experienced an improvement in technical efficiency, this was partially offset by a contraction in their technology. Nonetheless, the total productivity of the restructured banks increased gradually and stood at a higher level than when the recovery period begins. Finally, this study shows that the relationship between changes in profit efficiency and stock returns appears that the profit efficiency measured can explain about 10% of stock returns movement. One of explanations may be that the information on bank efficiency might be outweighed by other market information during the recovery period.รายการ กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล(2555-02) กุลวรีย์ ดิษพรหิรัณยะกุลในการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ 2) ศึกษาปัญหาการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัย 16 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 201 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.3 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 61.7 และประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.7 2) ผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารภายในองค์กร อยู่ในระดับมากในข้อได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ ความสำคัญของข่าวสาร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.72 การสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร อยู่ในระดับมากในข้อหนังสือเวียน ค่าเฉลี่ย 3.41 การสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากในข้อการใช้โทรศัพท์ภายใน ค่าเฉลี่ย 4.06 การสื่อสารกับผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับมากในข้อที่มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใช้บริการ ค่าเฉลี่ย 4.30 3) ปัญหาการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.29 ขาดทักษะในการพูดในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ใช้บริการ มีความพร้อมก่อนที่จะรับสารนั้นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.81 และขาดทักษะในการเขียนในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ใช้มีความพร้อมก่อนที่จะรับสารนั้นๆ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.80รายการ การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(2552) อุมาพร ทองรักษ์งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและการประยุกต์ระบบสื่อสารไร้สาย โดยใช้เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดประตูและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารได้แก่หลอดไฟและเครื่องปรับอากาศ โดยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใช้คลื่นวิทยุ ภายในบรรจุรหัสประจำตัวสำหรับผู้ใช้แต่ละคน เมื่อผู้ใช้มาถึงหน้าประตูแล้วนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใกล้เครื่องอ่านบัตร บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะทำการติดต่อกับเครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านบัตรจะทำการตรวจสอบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีรหัสตรงกับข้อมูลที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ารหัสตรงกัน ประตูจะทำการปลดล็อคและอุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะทำการเปิด แต่ถ้ารหัสไม่ตรงกับเครื่องอ่านบัตร ประตูจะไม่ปลดล็อคให้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่เปิด แต่ถ้าผู้ใช้ออกจากห้องอุปกรณ์ไฟฟ้าจะปิดอัตโนมัติ โดยระบบนี้จะช่วยในการประหยัดพลังงานรายการ การควบคุมแบบ LQG สำหรับระบบรองรับกันสะเทือนแบบบังคับโดยใช้แบบจำลองเต็มของรถยนต์(2552) อดุลย์ พัฒนภักดี; โอภาส โกมลวัฒนาพาณิชย์ระบบรองรับกันสะเทือน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในรถยนต์ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่ใน การรองรับน้ำหนักของตัวรถและลดการสั่นสะเทือนแล้ว ยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้สมรรถนะในการขับขี่ดีขึ้น ระบบรองรับกันสะเทือนแบบ Active Suspension System จะเป็นระบบรองรับกันสะเทือนที่เพิ่มอุปกรณ์ควบคุมแรงเข้าไปในระบบรองรับกันสะเทือน เปรียบเสมือนกับการทำให้ค่าคงที่ของสปริงและหรือตัวหน่วงปรับค่าได้ โดยค่าที่ปรับเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับสภาพการเปลี่ยนแปลงของถนน และน้ำหนักบรรทุก ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนและความนุ่มนวลของตัวรถดีขึ้น ในงานวิจัยชิ้นนี้จะศึกษาถึงการใช้ระบบควบคุมแบบ LQG ในการควบคุมระบบรองรับกันสะเทือนเพื่อเปรียบเทียบผลกับระบบรองรับกันสะเทือนที่ไม่มีตัวควบคุม โดยอาศัยการจำลองการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับแบบจำลองเต็มของรถยนต์ ผลจากการจำลองภายใต้เงื่อนไขสภาพถนนเป็นแบบ Impulse Road Profile พบว่าค่าสูงสุดของ Vertical Position, Pitch Angle, และ Roll Angle มีค่าลดลง 97.0%, 81.9%, และ 55.5% ตามลำดับสำหรับระบบที่มีตัวควบคุมแบบ LQG และสำหรับกรณีของสภาพถนนเป็นแบบ Sine Road Profile พบว่าค่า RMS error ของVertical Position, Pitch Angle, และ Roll Angle มีค่าลดลง 88.6%, 92.3%, และ 43% ตามลำดับสำหรับระบบที่มีตัวควบคุมแบบ LQGรายการ การคำนวณค่าภาระการทำความเย็น โดยใช้วิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสี กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) เทพฤทธิ์ ทองชุบการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นโดยใช้วิธีพื้นฐานดั้งเดิม คือ วิธีสมดุลความร้อน ขั้นตอนการคำนวณจะมีความซับซ้อน เนื่องจากอิทธิพลของการสะสมความร้อนในส่วนต่างๆ ของพื้นที่ ทำให้มีความยุ่งยากและไม่สะดวกในการใช้งานจริง ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะแม่นยำก็ตาม ดังนั้นจึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งานจริง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ วิธี CLTD แต่เนื่องจากการทำขั้นตอนการคำนวณให้ง่ายขึ้น จะต้องมีการกำหมดสมมุติฐานขึ้นหลายข้อ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นในผลลัพธ์ที่ได้ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นแบบใหม่ขึ้นมา คือ วิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสี ซึ่งเป็นวิธีที่มีความสะดวกในการใช้งานและผลลัพธ์ที่ได้ออกมามีความแม่นยำ ในงานวิจัยนี้ จะเป็นการเปรียบผลลัพธ์การคำนวณค่าภาระการทำความเย็น โดยวิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสีวิธี วิธี CLTD และวิธีสมดุลความร้อน โดยมีการนำข้อมูลจริงของ อุณหภูมิกระเปาะแห้งภายนอก อุณหภูมิกระเปาะเปียกภายนอก และค่าความร้อนจากแสงอาทิตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร มาใช้งาน เพื่อทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น โดยมีการเปรียบเทียบในสองกรณี คือ แบบพื้นที่ที่ไม่มีกระจกและมีกระจก ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าค่าภาระการทำความเย็นที่ได้จากการคำนวณโดยวิธีสมดุลความร้อนจะมีค่าต่ำกว่า วิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสี และวิธี CLTD เล็กน้อย ความแตกต่างจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีกระจก ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสี จะมีค่าใกล้เคียงกับวิธีสมดุลความร้อนมากกว่า วิธี CLTD เนื่องจากในวิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสี จะมีการเฉลี่ยความร้อนจากการแผ่รังสีของบริเวณที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน เพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุล จึงทำให้ค่าความร้อนในเวลานั้นลดลง ดังนั้นจะเห็นว่าการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นยวิธีวิธีอนุกรมเวลาของการแผ่รังสีจะให้ผลลัพธ์ออกมาแม่นยำกว่าวิธี CLTD ซึ่งจะทำให้การออกแบบระบบปรับอากาศมีความประหยัดทั้งด้านการลงทุนและค่าพลังงานไฟฟ้าอีกด้วยรายการ การคำนวณค่าภาระการทำความเย็นโดยใช้วิธีสมดุลความร้อน กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(2551) เทพฤทธิ์, ทองชุบการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นมีปัจจัยทีเกี่ยวข้องหลายประการ ขั้นตอนการคำนวณมีความซับซ้อน เนื่องจากอิทธิพลของการสะสมความร้อนในส่วนต่างๆ ของพื้นที่ ทำให้การคำนวณค่อนข้างที่จะยุ่งยาก ทำให้มีการคิดค้นวิธีการต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งานจริง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ วิธี CLTD แต่เนื่องจากการทำขั้นตอนการคำนวณให้ง่ายขึ้น จะต้องมีการกำหมดสมมุติฐานขึ้นหลายข้อ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นในผลลัพธิ์ที่ได้ แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปมาก คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการคำนวณที่ซับซ้อนได้ จึงเริ่มมีการกลับมาใช้วิธีสมดุลความร้อนในการคำนวณค่าภาระการทำความเย็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น ในงานวิจัยนี้ จะเป็นการเปรียบค่าความร้อนที่เข้าสู่พื้นที่ ผลลัพธิ์การคำนวณค่าภาระการทำความเย็น โดยวิธีสมดุลความร้อนและวิธี CLTD โดยมีการนำข้อมูลจริงของ อุณหภูมิภายนอก อัตราส่วนความชื้น และค่าความร้อนจากแสงอาทิตย์ มาใช้งานเพื่อทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น โดยมีการเปรียบเทียบในสองกรณี คือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีกระจกและมีกระจก จากผลลัพทธิ์ที่ได้พบว่า ค่าภาระการทำความเย็นที่ได้จากทั้งสองวิธีจะมีค่าต่ำกว่า ความร้อนที่เข้าสู่พื้นที่เนื่องจากผลของการสะสมความร้อน ค่าภาระการทำความเย็นที่ได้จากการคำนวณโดยวิธีสมดุลความร้อนจะมีค่าต่ำกว่า วิธี CLTD เล็กน้อย เนื่องจากผลของการแผ่รังสีความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง สู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุล จะเห็นว่าการคำนวณค่าภาระ การทำความเย็น โดยวิธีสมดุลความร้อนจะให้ผลลัพธิ์ที่มีความสมเหตุสมผลมากกว่า และจะทำให้การออกแบบระบบปรับอากาศมีความประหยัดทั้งด้านการลงทุนและค่าพลังงานไฟฟ้าอีกด้วยรายการ การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย(2551) นิลุบล ศิวบวรวัฒนางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 396 คน ที่ปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation coefficient) ส่วนการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระระบบการใช้ห่วงโซ่อุปทาน การใช้ข้อมูลร่วมกันในระบบ เพื่อสร้างสมการทำนายผลประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Regression) จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานและระบบการใช้ข้อมูลร่วมมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานซึ่งค่าที่ใช้ทำนายผลของประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณรวมเท่ากับ .668 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ประมาณร้อยละ 44.2 (R2 = .442) ตัวแปรอิสระที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมากที่สุดคือ การใช้ข้อมูลร่วมกันในระบบ รองลงมา คือ ระบบการใช้ห่วงโซ่อุปทานรายการ การจัดระดับและการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินภายนอก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) สุบิน ยุระรัชการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ออกแบบโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมโดยวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ คือ (1) เพื่อจัดระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินภายนอก (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินภายนอก และ (3) เพื่อศึกษาวิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับเพื่ออธิบายความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน (2) ผู้ประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา จำนวน 325 คน และ (3) ผู้แทน สมศ. จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยมี 4 ประเภท ได้แก่ (1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (3) แบบสอบถามความคิดเห็น และ (4) แบบตรวจสอบคุณภาพการประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับ โดยมีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามขอบข่ายของข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งตามระยะของการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (สำรวจ) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 (วิเคราะห์และเปรียบเทียบ) ใช้สถิติเชิงเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิตินอนพาราเมตริก คือ การทดสอบของฟรีดแมนและการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ และระยะที่ 3 (แปลความหมายและอธิบาย) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการจัดระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1.1 ผลการจัดระดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของระบบและกลไก ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเตรียมทรัพยากรสนับสนุน และด้านเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม (20 กิจกรรม) พบว่า กิจกรรมที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด มี 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การจัดให้มีฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (2) การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ (3) การจัดให้มีเจ้าภาพ/หน่วยงานกลาง/คณะทำงาน ที่รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ (4) ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ และ (5) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโดยทบทวนข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินคุณภาพภายในและภายนอก 1.2 ผลการจัดอันดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 ด้านการพัฒนาบุคลากร อันดับที่ 2 ด้านความพร้อมของระบบและกลไก อันดับที่ 3 ด้านเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ และอันดับที่ 4 การเตรียมทรัพยากรสนับสนุน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า มีจำนวน 4 กิจกรรมที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามอันดับความสำคัญ ได้แก่ อันดับที่ 1 การจัดให้มีฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ อันดับที่ 2 การจัดให้มีเจ้าภาพ/หน่วยงานกลาง/คณะทำงาน ที่รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ อันดับที่ 3 ผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ และอันดับที่ 4 การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับและอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินภายนอก 2.1 ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การรับรู้ของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ประธานคณะผู้ประเมิน กรรมการประเมิน และเลขานุการ เกี่ยวกับกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพทั้ง 4 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า (1) กรรมการประเมินรับรู้ว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (2) ประธานคณะผู้ประเมินรับรู้ว่า การจัดให้มีระบบการจัดการความรู้เรื่องการประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และ (3) ประธานคณะผู้ประเมินและกรรมการประเมินรับรู้ว่า การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโดยทบทวนข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินคุณภาพภายในและภายนอก มีระดับความสำคัญมากที่สุด ขณะที่เลขานุการรับรู้ว่ามีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2.2 ผลการเปรียบเทียบอันดับความสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายกิจกรรม พบว่า ผู้ประเมินภายนอก 3 กลุ่มมีการรับรู้เกี่ยวกับอันดับความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่แตกต่างกัน 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของการประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับเพื่ออธิบายความสำคัญของกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพที่จำเป็นในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า การประยุกต์ใช้วิธีการจัดระดับร่วมกับการจัดอันดับมีคุณภาพครบถ้วนใน 4 ประเด็น คือ (1) มีความถูกต้องครอบคลุม (2) มีประโยชน์ (3) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และ (4) มีความเหมาะสมรายการ การจำลองแบบและการวิเคราะห์ตัวแปรของระบบชุบและอบสีถังสะสมสารทำความเย็นด้วยอุโมงค์สายพานลำเลียง(2552) อมตะ ทัศนภักดิ์การศึกษาอุโมงค์อบสีถังสะสมสารทำความเย็นและการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อน, อุณหภูมิแวดล้อม, และฉนวนของอุโมงค์อบสีที่มีต่ออุณหภูมิภายในอุโมงค์อบสีและการกระจายของอุณหภูมิภายในอุโมงค์อบสีรวมทั้งศึกษาหาแนวทางจัดทำมาตรการการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพของอุโมงค์อบสี โดยจากการสำรวจภายในอุโมงค์อบสีพบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการแห้งของสีที่เคลือบคือการกระจายของอุณหภูมิและความเร็วของอากาศร้อนที่จะต้องมีความเร็วต่ำมากเพื่อให้การแห้งของสีเคลือบเป็นแบบแห้งอย่างช้าๆและทั่วทั้งถังสะสมสารทำความเย็นดังนั้นการอบสีเคลือบเป็นลักษณะที่ถังสะสมสารทำความเย็นที่ผ่านการเคลือบสีแล้วจุ่มอยู่ภายในอากาศร้อนที่เคลื่อนตัวด้วยความเร็วต่ำๆ จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานการถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนพบว่าฉนวนของอุโมงค์อบสีและอุณหภูมิของอากาศแวดล้อมมีผลกระทบในลักษณะแปรผันตรงต่ออุณหภูมิภายในอุโมงค์อบสีที่อยู่ในรูปแบบความร้อนสูญเสียจากภายในอุโมงค์อบสีสู่อากาศแวดล้อมภายนอก ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์อุณหภูมิและค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนแบบธรรมชาติของอากาศแวดล้อมรวมทั้งความหนาของฉนวนใยแก้วจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ให้ผลการวิเคราะห์ดังนี้ 1. อุณหภูมิของอากาศแวดล้อมในช่วง 25 oC- 35 oC มีผลกระทบต่ออุณหภูมิภายในอุโมงค์อบสีเฉลี่ย1oC – 2 oC 2. การมีฉนวนใยแก้วและช่องอากาศระหว่างผนังเหล็กทำให้ผลต่างของโปรไฟล์อุณหภูมิภายในมากขึ้นเฉลี่ย 1 oC – 2 oC ในช่วงแรกจากช่องทางเข้าของอุโมงค์อบสีและเพิ่มเป็น 3 oC – 5 oC ในช่วงกลางอุโมงค์อบสีและเพิ่มเป็น 6 oC – 10 oC ในช่วงท้ายอุโมงค์อบสี 3. ความหนาของใยแก้วที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 50 mm มีผลทำให้อุณหภูมิภายในอุโมงค์อบสีเพิ่มขึ้น 0.5 oC-1 oC ในช่วง 3.3 m แรกและเพิ่มขึ้น 2 oC-3 oC ในช่วงกลางและช่วงท้ายของอุโมงค์อบสี 4. โปรไฟล์ของอุณหภูมิของอุโมงค์อบสีจะมีความชันมากในช่วงแรกและความชันของโปรไฟล์จะลดลงจนเกือบจะคงที่ที่ตำแหน่งกลางและท้ายของอุโมงค์อบสี 5. ค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนแบบธรรมชาติ (10 W/m2•K - 80 W/m2•K) เป็นตัวแปรที่มีผลต่ออุณหภูมิและการกระจายของอุณหภูมิน้อยมากเมื่อเทียบกับอุณหภูมิแวดล้อมรายการ การดูดบำบัดสีในน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมด้วยตะกอนจุลินทรีย์(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณวิธีการบำบัดน้ำเสียที่มักนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือกระบวนการดูดซับทางกายภาพและเคมี แต่กระบวนการดังกล่าวข้างต้นยังมีข้อจำกัดมากมาย การเลือกใช้ตะกอนจุลินทรีย์ในการมาดูดซับทั้งสารอินทรีย์และสีย้อมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาความสามารถในการดูดซับสีของตะกอน จุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสีย ระยะเวลาสัมผัส ผลของพีเอชที่มีผลต่อการดูดซับ และสารละลายที่เหมาะสมในการชะล้างสีย้อมออกจากตะกอนจุลินทรีย์ ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการดูดซับสีของตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตกับตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตมีความแตกต่างกัน ตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมีความสามารถในการดูดซับสีได้สูงกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว และยังพบอีกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่นำมาจากโรงบำบัดน้ำเสียรวมสี่พระยามีความสามารถในการดูดซับสีได้มากกว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่มาจากโรงงานฟอกย้อม สำหรับตะกอนจุลินทรีย์ที่มาจากโรงบำบัดน้ำเสียรวมสี่พระยาจะใช้ระยะเวลาสัมผัส 6 ชั่วโมงในขณะที่ตะกอนจุลินทรีย์จากโรงงานฟอกย้อมใช้ระยะเวลาสัมผัสเพียง 3 ชั่วโมง ความสามารถในการดูดซับที่มากที่สุดเท่ากับ 6.12 มิลลิกรัมต่อกรัม-เซลล์โดยที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมกับตะกอน จุลินทรีย์ที่มีชีวิตเท่ากับ 7 ในขณะที่ตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตจะพบว่าที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างเพิ่มขึ้น ความสามารถในการดูดซับจะต่ำลง และ 0.1% SDS มีประสิทธิภาพในการชะล้างตะกอนได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาผลของพีเอชต่อความสามารถในการดูดซับสีของตะกอน จุลินทรีย์ พบว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจะแสดงความสามารถในการดูดซับสีสูงสุดที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 สำหรับตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตจะให้ประสิทธิภาพการดูดซับที่ดีที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3รายการ รายการ การติดตามผลมหาบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2538-2542(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สมทรง, สีตลายัน; วิมวรรณา, ลีนะเสน; ประสงค์, ชิงชัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานภาพทั่วไปของมหาบัณฑิตก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท สำหรับนักบริหาร...รายการ การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2544(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เกี่ยวกับการหางานของบัณฑิต ...รายการ การทดสอบและพัฒนาการออกแบบอุปกรณ์วัดความเร่ง สำหรับการออกแบบทางเทคโนโลยี เครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค(2551) เอกชัย ดีศิริThis research presents a methodology for testing a MEMS accelerometer The tests results showed a good response signals upon the designed. Drop testing of micromachined accelerometers experimental has an impact force from falling. As an object falls from rest, its gravitational potential energy is converted to kinetic energy. Conservation of energy as a tool permits the calculation of the velocity just before it hits the surface. This kind of technique will calculated into the acceleration, or G (acceleration due to gravity). The device was tested and performed well over its design range (the device was tested over a range of a 1 G to 100 G, where 1 G equals the acceleration due to gravity) by drop tower equipment at height from 0.01 meter to 1 meter.รายการ การประมาณการเคลื่อนที่สำหรับภาพเคลื่อนไหวชนิดการสร้างภาพจากเมช(2551) ปรีชา กอเจริญรายการ การประยุกต์ขั้นตอนวิธีเมต้าฮิวริสติกส์สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถขนส่ง กรณีมีรถขนส่งหลายขนาดและแบ่งแยกส่งสินค้าได้(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) ธรินี มณีศรีงานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ขั้นตอนวิธีเมต้าฮิวริสติกส์สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งกรณีมีรถขนส่งหลายขนาดและแบ่งแยกส่งสินค้าได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ การจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งให้เกิดเวลาในการเดินทางโดยรวมน้อยสุด โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธีที่พัฒนาขึ้น 3 วิธี ประกอบด้วย การค้นหาเฉพาะที่แบบพบค่าดีที่สุดเป็นตัวแรกร่วมกับวิธีค้นหาทาบู การค้นหาเฉพาะที่แบบพบค่าดีที่สุดจากทั้งหมดร่วมกับวิธีค้นหาทาบู และวิธีค้นหาทาบู ทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของทั้ง 3 วิธีด้วยดัชนีบ่งชี้ 2 ตัว คือ คุณภาพของผลเฉลย และเวลาที่ใช้ในการประมวลผล จากการทดลองพบว่าวิธีดีที่สุดเป็นตัวแรกร่วมกับวิธีค้นหาทาบู เป็นวิธีที่เหมาะสม เนื่องจากให้ผลเฉลยที่เหมาะสม และใช้เวลาในการประมวลผลที่ยอมรับได้ จากนั้นนำขั้นตอนวิธีดังกล่าวมาทดลองใช้กับข้อมูลจำลองและกรณีศึกษา ข้อมูลจำลองทำการดัดแปลงปัญหาเทียบเคียงของ Solomon จำนวน 6 ประเภท ประกอบด้วย R101, R201, C101, C201, RC101 และ RC201 ที่จำนวนลูกค้าสูงสุด 100 ราย และทดลองแก้ปัญหาจริงในภาคธุรกิจประกอบด้วยโรงงานผลิตน้ำดื่ม และบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปทางการเกษตร ผลการทดลองสามารถประหยัดเวลาในการเดินทางลงได้ 358 นาที และ 1,218 นาที ตามลำดับรายการ การประยุกต์ตัวควบคุมแบบฟัซซีกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแบบสวิตชิง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-06) กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอตัวควบคุมแบบฟัซซีกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแบบสวิตชิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวควบคุมฟัซซีสำหรับควบคุมระดับแรงดันเอาต์พุตของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งการประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบฟัซซีเป็นการควบคุมแบบฐานความรู้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นเชิงเส้นของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงอีกทั้งยังหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ยาก ตัวควบคุมฟัซซีที่นำเสนอเป็นตัวควบคุมฟัซซีแบบพีไอ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ฟัซซิฟิเคชั่น ฐานความรู้และดีฟัซซีฟิเคชั่นตามลำดับ สร้างขึ้นบนไมโครคอนโทรลเลอร์ อาร์ม 7 ควบคุมในรูปแบบของแรงดันเอาต์พุตของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 480 วัตต์ 48 โวลต์ การทดสอบในสภาวะไม่มีโหลดและมีโหลด เพื่อทดสอบหาสมรรถนะของการตอบสนองช่วงครู่และการตอบสนองคงตัว ในขนาดโหลด 25, 50, 75และ100เปอร์เซ็นต์ของพิกัด ได้รับผลการทดสอบตรงตามวัตถุประสงค์รายการ การประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA ในการวิเคราะห์และลดของเสียในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงเหล็กของรถยนต์(2551) สุพัฒตรา เกษราพงศ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และแจกแจงลักษณะการเกิดของเสีย ผลกระทบที่เกิดจากของเสีย และหาสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสีย โดยประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA ในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงปรับปรุงแก้ไขสาเหตุต่าง ๆ ที่ได้จากผลการวิเคราะห์ FMEA การวิจัยศึกษาชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงงานกรณีศึกษา เลือกชิ้นส่วนที่มีสัดส่วนของเสียเกิดขึ้นสูงสุด 5 ลำดับแรก คือชิ้นส่วน A01, A02, A03, A04 และ A05 ผลจากการวิเคราะห์โดยใช้ FMEA สามารถแจกแจงลักษณะการเกิดของเสียได้เป็น 5 ประเภท คือ Dimension, Apperance, Miss Process, Wrong Part และ Function ซึ่งสาเหตุส่วนมากเกิดจากพนักงาน,วิธีปฏิบัติงาน, การตั้งค่าพารามิเตอร์ของเครื่องจักร, ความไม่พร้อมของเครื่องจักร และการชำรุดของแม่พิมพ์ ได้ทำการปรับปรุงโดยจัดทำระบบ Poka-Yoke ,เอกสารวิธีการปฏิบัติงาน, เอกสารQ-Point, อบรมพนักงาน,ออกแบบการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม และจัดทำระบบซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน จากการปรับปรุงพบว่า ชิ้นส่วน A01 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง4.2172% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.2796%และ0.0537% ชิ้นส่วน A02 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง2.2771% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.1110%และ0% ชิ้นส่วน A03มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง2.0896% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.1831%และ0.0344% ชิ้นส่วน A04 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง1.5511% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย0.1905%และ0.0156% ชิ้นส่วน A05มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง0.6113% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย0.2775%และ0.1513%