รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 139
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การอัดประจุถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานิส(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2540) ชาญชัย ภูริปัญโญ; ภรณี, วรรณศิริเพื่อหาวิธีการอัดประจุถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานีส เพื่อนำถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานิสกลับมาใช้งานใหม่ จนกระทั่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก...รายการ การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับการลงทะเบียบเรียนของภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2540) ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล; จักรี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยารายการ พฤติกรรมการสื่อสารกับการรับรู้และการยอมรับที่มีต่อการป้องก้นการเสพยาอีของเยาวชนไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2542) จรัสลักษณ์ ภาคลักษณ์; สุดารักษ์ เนื่องชมภู; ทวีป เกษไชยเพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะประชากรของวัยรุ่น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและเพื่อนสนิทของวัยรุ่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจาสื่อประเภทต่างๆ ของวัยรุ่น...รายการ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ต่อการพัฒนาองค์การ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2543) อริสรา เสริมแก้วเพื่อนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ และทัศนคติต่อการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ...รายการ การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2544(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เกี่ยวกับการหางานของบัณฑิต ...รายการ การติดตามผลมหาบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2538-2542(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สมทรง, สีตลายัน; วิมวรรณา, ลีนะเสน; ประสงค์, ชิงชัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานภาพทั่วไปของมหาบัณฑิตก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท สำหรับนักบริหาร...รายการ รายการ การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอนและการให้บริการของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2546(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2546) สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้ครอบคลุมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอน...รายการ การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2546) ธราดล เสาร์ชัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนียภาพของเมือง ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์จากภาพถ่ายในอดีตเปรียบเทียบกับภาพถ่ายปัจจุบัน และคาดการณ์แนวโน้มของทัศนียภาพเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยระบบคอมพิวเตอร์...รายการ การศึกษาการใช้แบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน(2547) พรวรรณ นันทแพศย์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการจำแนกกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงิน ( Failed ) กับธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอด ( Nonfailed ) และพัฒนาตัวแบบ ( Model ) สำหรับใช้ทำนายลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงินของธุรกิจ หรือแนวโน้มของความอยู่รอดของวิสาหกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อม ข้อมูลการศึกษาได้จากงบการเงินของธุรกิจ SMEs ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทที่ประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน จำนวน 36 บริษัท และกลุ่มบริษัทที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดจำนวน 36 บริษัท จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และบริษัทบิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมิถุนายน 2546 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ใช้สถิติการจำแนกประเภท ( Discriminant Analysis ) สำหรับการพัฒนาแบบจำลองสำหรับการจำแนกประเภทกลุ่มธุรกิจว่าจะประสบปัญหาทางการเงินหรือไม่ ผลจากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญและได้ถูกนำมาอยู่ในแบบจำลอง 3 อัตราส่วน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) กำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม ( Retained Earning to Total Assets Ratio ) , 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม ( Debt Ratio ) และ 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ( Return on Assets Ratio ) แบบจำลองที่พัฒนาได้สามารถพยากรณ์ใน 1 ปี ก่อนที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย 70.8 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำลดลงเหลือ 61.1 เปอร์เซ็นต์ ใน 2 ปี ก่อนที่จะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้มีความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้ แบบจำลองนี้มีความแม่นยำในการพยากรณ์ธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดมากกว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน นอกจากนี้การศึกษาในครั้งนี้ได้เสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปรายการ การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของนโยบายภาครัฐ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย(2547) สุภาวดี โพธิยะราชยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก จนปัจจุบันรัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 300,000 ไร่ โดยผู้วิจัยได้เลือกศึกษา สำรวจ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจำนวน 133 ราย ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางการเงินในการลงทุนทำสวนยาง ตลอดจนหาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยา และอุทัยธานี เป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ได้เริ่มทดลองปลูกยางพารา โดยปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และมีรายได้จากการขายยางแผ่นสูงกว่าการเพาะปลูกพืชชนิดอื่น ทำให้อาชีพการทำสวนยางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับครอบครัว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ลดปัญหาการโยกย้ายแรงงานเข้ามาทำงาน ในเขตเมือง ลดปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย และยังช่วยให้พื้นที่ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเกษตรกรชาวสวนยางได้พบปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ ในการทำสวนยาง ขาดแคลนเงินทุน ในการซื้อปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ขาดข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด - ด้านราคาซื้อ - ขายยาง และปัญหาเรื่องการป้องกันไฟป่า เป็นต้น การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ทำสวนยางพาราโดยเฉลี่ยประมาณ 46,116 บาท/ฟาร์ม และผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการทำสวนยางพารา พบว่า ยางพาราช่วงอายุ 8-10 ปี 11-14 ปี 15 - 20 ปี และ 21 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 276.82 321.74 208.97 และ 155.60 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ราคายางแผ่นที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเท่ากับ 39.98 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อหักต้นทุนผันแปรและ ต้นทุนคงที่ต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีกำไรสุทธิทั้งหมด เท่ากับ 7,933.26 10,386.17 6,178.62 และ 4,127.89 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ ระยะเวลาเพาะปลูก 25 ปี พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 560,230.83 บาท อัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลได้กับมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (B/C) เท่ากับ 2.09 ที่อัตราคิดลด 7% และ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 16.76 ดังนั้น การประเมินค่าทางการเงินของการทำสวนยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือ ปีเพาะปลูก 2545/2546 ให้ผลว่าเป็นโครงการที่คุ้มค่าในการลงทุน และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการโดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยกำหนดให้รายได้คงที่, รายได้ลดลงร้อยละ 10 โดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายคงที่, และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรายได้ลดลงร้อยละ 10 ผลการศึกษาพบว่า โครงการยังคงมีความเหมาะสมและ คุ้มค่าต่อการลงทุนในทุกกรณี สำหรับการวิเคราะห์หาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน พบว่า ช่วงอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนมากที่สุดคือช่วงอายุ 21 ปี และราคาขั้นต่ำ ที่จะทำให้การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรยังคงมีความคุ้มค่าในการลงทุน เท่ากับ 15.90 บาท/กิโลกรัม ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่ารัฐควรสนับสนุนการลงทุนในการปลูกยางพาราในภาคเหนือ เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงของเกษตรกร โดยการให้ความรู้ด้านการผลิต สินเชื่อ และด้าน การตลาดผลผลิตรายการ การฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ กรณีศึกษา: โครงการเมืองใหม่บางพลี วาระที่ 1 ของการเคหะแห่งชาติ(2547) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์; สุขุมาภรณ์, จงภักดีพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ หรือพื้นที่ที่แต่เดิมมีไว้เพื่อการนันทนาการในชุมชน เป็นพื้นที่ที่ขาดการดูแลรักษา โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ และอธิบายสภาพปัญหาดังกล่าวในเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของปัญหาใน 4 ประเด็นอย่างมีความสัมพันธ์กันได้แก่ 1) มิติทางกายภาพของพื้นที่ โดยศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้พื้นที่กับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ 2) มิติทางเศรษฐกิจ การเงิน และทรัพยากร โดยศึกษาสถานภาพทางด้านทรัพยากรของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ว่างสาธารณะ 3) มิติเชิงพฤติกรรมและสังคม โดยศึกษาพฤติกรรม แบบแผนและทัศนคติของผู้ใช้ พื้นที่ว่างสาธารณะในแง่มุมต่างๆ และ 4) มิติเชิงสถาบัน โดยศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ในแง่มุมต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนได้เสียในประเด็นการฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสหวิทยาการ ที่ใช้มุมมองต่อปัญหาในหลายมิติ ทำให้วิธีการวิจัยต้องอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงลึกไปตามแต่ชนิดของมิติที่วิเคราะห์ โดยอาศัยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในการอธิบายปัญหาและความสัมพันธ์ของปัญหาในภาพรวม ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ว่างสาธารณะขาดการดูแลรักษาคือ ปัญหาด้านประสิทธิภาพของการจัดการของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ อันเนื่องมาจากประชากรที่มีมาก เกินกว่าที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะดูแลได้ รวมทั้งความขัดแย้งของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ฯ เนื่องจากมีความทับซ้อนของบทบาท หน้าที่ ตลอดจนถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ที่ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผังการใช้พื้นที่เดิมรายการ การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร : กรณีศึกษาประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)(2548) จิตราพร ลีละวัฒน์การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยผลิตภัณฑ์และปัจจัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จของการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารของผู้ประกอบการที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ข้อมูลการศึกษาได้จากกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล 858 คน และ กลุ่มผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์อาหาร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 9 ประเภท ทั่วประเทศ 104 ราย สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ Chi-Square การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Cluster Analysis) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยผลิตภัณฑ์อาหารผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คืออาหารสุขภาพ สะอาด ความปลอดภัย และ มีตรารับประกันคุณภาพ ปัจจัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ มีการรองรับอาหารและให้ความปลอดภัย มีการปกป้องและรักษาคุณภาพสินค้าจากอันตรายสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือหน้าที่ทางเทคนิคของบรรจุภัณฑ์ และ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับปัจจัยหน้าที่ทางด้านการตลาดของบรรจุภัณฑ์ด้วย คือ ฉลากแสดงข้อมูลอาหารครบถ้วน ข้อมูลที่ระบุถูกต้องชัดเจนอ่านง่าย ผลการศึกษากล่าวได้ว่าปัจจัยความสำเร็จในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ คือ มีการป้องกันและรักษาคุณภาพอาหารให้ยืดระยะเวลาในการเก็บให้ ยาวนานขึ้น มีขนาดเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีความสะดวกในการเก็บรักษา ใช้วัสดุกระดาษ วัสดุโลหะ วัสดุแก้ว ทำบรรจุภัณฑ์เพื่อความเข้ากันได้ดีกับอาหาร วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับลูกค้า บรรจุภัณฑ์ง่ายต่อการทำลาย หรือนำกลับมาใช้ซ้ำหรือ เวียนสู่กระบวนการผลิตใหม่หรือ การรักษาสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์มีการออกแบบและใช้วัสดุที่ช่วยให้ประหยัด ออกแบบสวยงามดึงดูดความสนใจและเป็นสื่อโฆษณาขายตัวเองได้ มีความเด่นและแตกต่างเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง ตราสินค้ามีภาพลักษณ์สร้างความน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ระบุถูกต้องชัดเจนอ่านง่าย มีภาพถ่ายภาพวาดหรือลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ กราฟฟิกสีสันสดใสสะดุดตา มีลักษณะโปร่งใส มีภาพถ่ายภาพวาดของอาหารเพื่อสื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ออกแบบโดยใช้ศิลปะท้องถิ่น ออกแบบสำหรับเป็นของขวัญตามเทศกาล และ แสดงภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้าดูมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ปัจจัยทั้งหมดที่มีความสัมพันธ์กันนั้นเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งหมายถึง หน้าที่ด้านการตลาด และหน้าที่ด้านเทคนิคของบรรจุภัณฑ์รายการ ศักยภาพของจังหวัดราชบุรีในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2548) นิภาวรรณ พุทธสงกรานต์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาศักยภาพของท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะตอบสนองความต้องการในด้านการเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในการจัด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนและผู้ประกอบการ อีกทั้งเพื่อศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพและขีดความสามารถของชุมชนและผู้ประกอบการในด้านเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรี โดยทำการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อันได้แก่ การวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และจาก Internet นอกจากนั้นยังใช้การรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดราชบุรี จากผู้นำของจังหวัดราชบุรี ผู้นำท้องถิ่น นอกจากนั้นสัมภาษณ์ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนนักท่องเที่ยว และยังใช้กระบวนการทำวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชน การศึกษาครั้งนี้มุ่งแสวงคำตอบของปัญหาการวิจัยอยู่สองประการ ได้แก่ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี และจะต้องดำเนินการประการใดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรี การศึกษาครั้งนี้กระทำในพื้นที่เก้าอำเภอกับหนึ่งกิ่งอำเภอของจังหวัดราชบุรี ซึ่งผลของการศึกษา ปรากฏว่า 1) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีอยู่ในระดับสูง โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและศิลาสัญจร) และทางวัฒนธรรม (การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยววิถีชนบท) ซึ่งมีอยู่ในทุกพื้นที่ 2) ศักยภาพขององค์ประกอบการท่องเที่ยวทุกอำเภอของจังหวัดราชบุรีมีความพร้อมที่จะให้บริการทางด้านคมนาคมขนส่ง ที่พักแรม อาหารและภัตตาคาร ร้านขายของที่ระลึก ตลอดจนความปลอดภัย 3) ศักยภาพของกลไกของจังหวัดราชบุรีที่ประกอบด้วย ผู้นำส่วนจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชนทุกอำเภอ มีศักยภาพในระดับสูงในการเสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปใช้บริการได้ทุกฤดูกาล 4) ศักยภาพในด้านการจัดการ พบว่า มีการประสานความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพด้านจัดการท่องเที่ยวระหว่างผู้นำส่วนจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และภาคประชาชนในทุกอำเภอของจังหวัดราชบุรีในระดับสูง 5) ศักยภาพด้านบริการข้อมูลด้านท่องเที่ยว ; ป้ายบอกทางแหล่งท่องเที่ยว แผนที่แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูล ท่องเที่ยว คู่มือแหล่งท่องเที่ยว การให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่าอยู่ในระดับที่สูง นอกจากนั้นวิธีการเสริมสร้างศักยภาพของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเข้มแข็งและจริงจัง จะทำให้บรรลุเป้าประสงค์ได้โดยภาพรวม จังหวัดราชบุรี จัดว่ามีศักยภาพเพรียบพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแต่ละด้าน การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรได้รับการศึกษาในเชิงลึกถึงสัมพันธภาพ ตลอดจนวิธีการเสริมสร้างสัมพันธภาพในการศึกษาครั้งต่อไปรายการ พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลางในกรุงเทพมหานคร(2548) นันทรัตน์ วรรณตุงการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลางในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลางในกรุงเทพมหานคร(3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภค ผ่านระบบคนกลางในกรุงเทพมหานคร (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความพึงพอใจในการใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลาง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มาใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลาง ในกรุงเทพมหานคร ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or area sampling) เนื่องจากกลุ่มประชากรอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายกัน จึงทำการแบ่งเขตในการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 10 เขต จากเขตการปกครองทั้งหมด 50 เขต โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 385 ชุด ประกอบด้วย เขตบางแคจำนวน 50 ชุด เขตจอมทองจำนวน 50 ชุด เขตบางเขนจำนวน 40 ชุด เขตจตุจักรจำนวน 40 ชุด เขตดินแดงจำนวน 40 ชุด เขตบางซื่อจำนวน 35 ชุด เขตธนบุรีจำนวน 35 ชุด เขตดอนเมืองจำนวน 35 ชุด เขตภาษีเจริญจำนวน 30 ชุด และเขตบางกะปิจำนวน 30 ชุด (จำนวนชุดแบบสอบถามที่ทำการเก็บรวบรวม พิจารณาจากยอดจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละเขตโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 –Test และ F-Test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านพฤติกรรม ผู้ใช้บริการเลือกชำระเงิน ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าน้ำประปา ผ่านระบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสมากที่สุด ส่วนใหญ่ชำระค่าบริการเป็นจำนวน 1-2 ครั้งต่อเดือน และมีการเดินทางไปชำระค่าบริการโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวมากที่สุด (2) ด้านความพึงพอใจ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความเชื่อมั่นในการใช้บริการ ด้านการตอบสนองการบริการ ด้านความมั่นใจในระบบบริการ และด้านความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่ต่อลูกค้า อยู่ในระดับที่มาก (3) ผลการทดสอบสมมติฐานระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า ปัจจัย อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เคยใช้บริการ ระยะทางในการเดินทางไปชำระค่าบริการ มีความสัมพันธ์กับ ประเภทของคนกลางที่รับชำระค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ และจำนวนใบแจ้งหนี้ที่ได้รับในแต่ละเดือน ส่วนด้านระยะทางในการเดินทางไปชำระค่าบริการ ก็มีความสัมพันธ์กับ จำนวนเงินที่นำมาชำระในแต่ละเดือน (4) ผลการทดสอบสมมติฐานระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการใช้บริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบคนกลาง พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ และระดับการศึกษา ที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้บริการชำระเงินผ่านระบบคนกลางแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชำระเงินค่าบริการ ดังนั้นธุรกิจที่รับชำระเงินควรจัดเตรียมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ด้านสถานที่จอดรถต้องมีความสะดวกง่ายต่อการแวะใช้บริการและเพียงพอต่อการใช้บริการ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่มีการเดินทางมาชำระเงินโดยใช้รถส่วนตัว (2) ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยเฉพาะการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ รวมไปถึงควรมีการส่งเสริมการขายให้มากขึ้น เช่น การนำใบเสร็จการชำระเงินมาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า หรือสะสมของรางวัล(3) ด้านระบบการรับชำระเงิน ควรมีการตรวจสอบเรื่องความแม่นยำของข้อมูลเนื่องจากที่ผ่านมาลูกค้าเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับการชำระเงินที่ผิดพลาดรายการ การออกแบบและควบคุมเครื่องกัดชนิด 3 แกน(2548) วิทยา พันธุ์เจริญศิลป์; อดุลย์ พัฒนภักดี; สถาพร คล้ายคลึงรายการ ทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ต่อวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน(2548) ธนภณ สมหวังการศึกษาเรื่องทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ต่อวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความคิดและทรรศนะของพระธรรมปิฎกที่มีต่อวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบของความคิดที่มีต่อโลกสมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อแนวคิดและทรรศนะของพระธรรมปิฎก จริยาวัตร กระบวนการในการเรียนรู้และฝึกฝนตนเองของพระธรรมปิฎก ตลอดจนการนำพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิตและสังคม ส่วนทรรศนะที่มีต่อวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนั้น พระธรรมปิฎกเห็นว่า วิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในปัจจุบัน อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้สร้างสภาพการณ์ใหม่ๆ ให้กับบุคคลและสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดภาวะผกผัน เป็นโลกแห่งความย้อนแย้งกันอยู่ในตัว ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันมนุษย์ไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งหมด คือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด(มิจฉาทิฏฐิ)ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ โดยมีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครองและพิชิตธรรมชาติได้ การมองเพื่อนมนุษย์แบบแบ่งแยก และการมองจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์ว่า จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุเสพบำเรอ ท่านจึงนำเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธ อันมีสาระสำคัญอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกัน โดยต่างเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งจะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคลทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน แนวคิดและทรรศนะของท่านจึงมีอิทธิพลต่อการศึกษาเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคมในยุคปัจจุบันรายการ การหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีข้อจำกัดฟัซซี่แบบไม่เป็นเชิงเส้น(2548) กีรติ ชยะกุลคีรีงานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimal Power Flow) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหาคำตอบในที่นี้คือ การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและการปรับแท็ปของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด โดยพิจารณาให้ข้อจำกัดของพิกัดกำลังของสายส่งและหม้อแปลงไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่บัส และอัตราการเพิ่มและลดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น ในการวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาคำตอบของ OPF ที่มีข้อจำกัดกำลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลได้ในสายส่ง และขนาดแรงดันสูงสุดหรือต่ำสุดของบัส อัตราการเพิ่มหรือลดกำลังงานไฟฟ้าจริงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น โดยได้แยกปัญหาออกเป็น ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของต้นทุนการผลิต (Total fuel cost fuzzy minimization subproblem) และ ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของกำลังงานไฟฟ้าจริงสูญเสีย (Real power loss fuzzy minimization subproblem) และได้ทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และกระบวน การคำนวณกับระบบไฟฟ้ามาตรฐาน 30 บัส และ 118 บัส ของ IEEE จากผลการทดสอบวิธีการที่นำเสนอพบว่ากระบวนการหาคำตอบ FCOPF ที่เสนอสามารถหาคำตอบที่มีต้นทุนการผลิตต่ำสุดโดยมีข้อจำกัดพิกัดกำลังของระบบส่งไฟฟ้า และข้อจำกัด อัตราการเพิ่มและลดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบฟัซซี่ในปัญหา ออกเป็นปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของต้นทุนการผลิต และสามารถหาคำตอบที่มีกำลังงานไฟฟ้าจริงสูญเสียโดยมีข้อจำกัดของขนาดแรงดันไฟฟ้าที่บัสเป็นแบบฟัซซี่ในปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของกำลังงานไฟฟ้าจริงสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้โปรแกรมฟัซซี่เชิงเส้น ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้ได้คำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการหาคำตอบ OPF ที่มีข้อจำกัดแบบกรอบคงที่รายการ แนวปฏิบัติการบัญชีบริหารและผลต่อการเพิ่มขึ้นด้านผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร(2548) พรทิพย์, ชุ่มเมืองปักจากการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย การบัญชีบริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันทาง การค้ากับประเทศอื่น ๆ โดยการนำข้อมูลการบัญชีบริหารใช้สำหรับการวางแผน การควบคุม และ การตัดสินใจในการดำเนินวิสาหกิจ การศึกษาเรื่อง “แนวปฏิบัติการบัญชีบริหารและผลต่อการเพิ่มขึ้นด้าน ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวปฏิบัติการบัญชีบริหาร ประโยชน์และสภาพปัญหาจากการนำแนวคิดการบัญชีบริหารไปปฏิบัติในสถานประกอบการของวิสาหกิจฯ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 297 ราย และจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและ การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้เท่ากับ 0.8202 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก แบบสอบถามที่ได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสถิติที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ในการหาคำตอบ ซึ่งพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่ตอบแบบสอบถามได้นำแนวคิดการบัญชีบริหารไปใช้ในสถานประกอบการและประเมินประโยชน์จากการใช้มากที่สุด ได้แก่ แนวคิดการคำนวณต้นทุน รองลงไปเป็น แนวคิดการจัดทำงบประมาณและแนวคิดการวิเคราะห์กระแสเงินสด ตามลำดับ ในส่วนของการจัดเตรียม รายงาน วิสาหกิจฯ ได้จัดเตรียมรายงานการบัญชีบริหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปวางแผน ควบคุม และ ตัดสินใจในการดำเนินวิสาหกิจฯ โดยใช้ระยะเวลาตามความต้องการ นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลการบัญชีบริหาร ไปใช้ในกิจกรรมการดำเนินวิสาหกิจฯ ในด้านการจัดซื้อวัตถุดิบ/สินค้า ด้านการเงิน และด้านการตลาด ซึ่ง ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นด้านผลการดำเนินงานของวิสาหกิจฯ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของยอดขาย กำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และการลดลงของต้นทุน สำหรับสภาพปัญหา จากการนำแนวคิดการบัญชีบริหารไปใช้ในสถานประกอบการวิสาหกิจฯ ได้แก่ แนวคิดการคำนวณต้นทุน คือ การไม่ทราบต้นทุนสินค้า/บริการที่แน่นอน แนวคิดการวิเคราะห์กระแสเงินสด คือ การไม่ชำนาญในการวิเคราะห์ และแนวคิดการจัดทำงบประมาณ คือ การไม่สามารถดำเนินการตามงบประมาณที่ได้วางแผนไว้รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานขายในธุรกิจขายตรง(2549) กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานขายในธุรกิจขายตรง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะงานที่มีผลต่อประสิทธิผลของพนักงานขายในธุรกิจขายตรงของบริษัทขายตรงที่เป็นสมาชิกกับสมาคมขายตรง การศึกษาใช้วิธีการออกแบบสอบถาม สอบถาม ผู้แทนจำหน่าย โดย โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 28 บริษัท รวม 2240 ชุด โดยแบบสอบถามได้รับคืนมาทั้งสิ้น 2198 คิดเป็น ร้อยละ 98.12 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ (ใช้ในส่วนข้อมูลลักษณะส่วน บุคคล) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) ได้แก่ Simple Correlation (Pearson r) One-Way ANOVAและ Regression (ใช้ในส่วนข้อมูลลักษณะการทำงาน) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าจากผลการวิจัยพบว่าระดับความจริงของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานขายในธุรกิจขายตรงในภาพรวมจำแนกตามตัวแปรในภาพรวมอยู่ในระดับความจริงมากทุกปัจจัย โดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้คือ อันดับ 1 ระดับความจริงปัจจัยทางด้านบทบาทของการเป็นตัวแทนขาย อันดับ 2 ความพอใจในองค์กรการขาย และ ความพอใจในผู้นำกลุ่มการขาย ความพอใจสมาชิกในกลุ่มการ การจูงใจขององค์การ ความพึงพอใจในงาน ความสอดคล้องทางบทบาท การวางแผนบทบาท การนิยามอัตตะให้เป็นจริง และ ความพอใจในลูกค้าและผู้มุ่งหวัง ตามลำดับ จากการวิเคราะห์โดยการใช้ Regression Analysis และ One-way Anova เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ 1- 10 พบว่า ทุกปัจจัยในขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้ ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลในการทำงานอาชีพขายตรง