รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ผู้เขียน "จินตวีร์ เกษมศุข"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ประสิทธิผลของการใช้สื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน(2551) จินตวีร์ เกษมศุขการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของการใช้สื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงประเภทของสื่อบุคคลที่สามารถนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 2) เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการเลือกใช้สื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร ซึ่งในที่นี้จำแนกประเภทของสื่อบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อบุคคลภายในองค์กร และสื่อบุคคลภายนอกองค์กร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ ประชากรในการวิจัย คือ กลุ่มเป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนที่มีศูนย์รับสมัครของมหาวิทยาลัยศรีปทุมในเขตภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาคๆ ละ 100 คน ซึ่งได้แก่ ภาคเหนือ คือ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลาง คือ โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ คือ โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง และโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยเกี่ยวกับประเภทของสื่อบุคคลที่สามารถนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นปรากฏว่า ประเภทของสื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบุคคลภายในองค์กรมากกว่าบุคคลภายนอกองค์กร ซึ่งได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา รวมถึงศิษย์เก่าด้วย นอกจากนี้ จากผลการวิจัยความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนั้นปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในแต่ละด้านทั้งด้านบุคลากร ด้านองค์กร และด้านการใช้สื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ แต่ละประเด็นนั้นอยู่ในระดับดี (3.51-4.50) ทั้งนี้พบว่า ในด้านบุคลากรนั้น ประเด็นเกี่ยวกับผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และมีประสบการณ์ทางด้านการศึกษา มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุด (3.86) ส่วนในด้านองค์กรนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.30) และสำหรับด้านวิธีการใช้สื่อบุคคลในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์นั้น การใช้วิธีการสัมภาษณ์ลูกค้าหรือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่น นักศึกษาทุนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา เป็นประเด็นที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.07)รายการ ศักยภาพของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) จินตวีร์ เกษมศุขการวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน” นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะของสื่อบุคคลที่สร้างเสริมศักยภาพของสื่อบุคคลในการระดมพลังการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้สื่อบุคคลในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน และ 3) เพื่อให้เกิดการระดมพลังการพัฒนาชุมชนและเกิดกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่มีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้แก่ การจับสลากจากรายชื่อชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 3 เขต จากทั้งหมด 50 เขต เพื่อเป็นพื้นที่ในการศึกษา ซึ่งได้แก่ 1) ชุมชนเขตบางเขน 2) ชุมชนเขตบางนา และ 3) ชุมชนเขตพญาไท หลังจากนั้น ได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) โดยเลือกชุมชนในเขตดังกล่าวทั้ง 3 เขต ได้แก่ 1) ชุมชนหมู่บ้านคงหิรัญ เขตบางเขน 2) ชุมชนคลองบางนา เขตบางนา และ 3) ชุมชนสนามเป้า เขตพญาไท ทั้งนี้ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 372 คน แบ่งออกเป็นผู้นำชุมชน 3 คน และสมาชิกชุมชน 369 คน โดยแบ่งเป็นชุมชนสนามเป้า เขตพญาไท จำนวน 141 คน ชุมชนหมู่บ้านคงหิรัญ เขตบางเขน จำนวน 78 คน และชุมชนคลองบางนา เขตบางนา จำนวน 150 คน จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะที่สร้างเสริมศักยภาพของผู้นำชุมชนทั้ง 9 ลักษณะ อันจะมีส่วนช่วยในการระดมพลังพัฒนาชุมชน พบว่า โดยส่วนใหญ่ ทั้งผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนในแต่ละชุมชนนั้น มีความตระหนักว่า ผู้นำชุมชนของตนต้องเป็นผู้มีความอดทนที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางหรือประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่มีความต้องการเป็นอันดับแรกถึงร้อยละ 95.4 อันดับสองคือ ผู้นำชุมชนของตนต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ร้อยละ 94.4 เช่น รู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์ สามารถทำงานร่วมกับสมาชิกในชุมชนได้ และอันดับสามคือ ผู้นำชุมชนต้องเป็นผู้มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต โดยต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ร้อยละ 93.8 นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะที่สร้างเสริมศักยภาพในการสื่อสารของผู้นำชุมชนทั้ง 11 ลักษณะ อันเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้สื่อบุคคลในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน พบว่า คุณลักษณะที่สร้างเสริมบทบาทในการสื่อสารของผู้นำชุมชน 3 อันดับแรก ได้แก่ การเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชน การเป็นผู้เปิดรับการสื่อสารจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนและสามารถถ่ายทอดข่าวสารให้ชุมชนได้รับรู้ และการเป็นผู้กลั่นกรองข่าวสารให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของคนในชุมชน ตามลำดับ