LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ผู้เขียน "กนกพรรณ ปุเลโต"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย : ศึกษาผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็ก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กนกพรรณ ปุเลโตสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยศึกษาผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็ก รวมไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎเกณฑ์ของรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีว่าด้วยความปลอดภัยของของเล่นสำหรับเด็ก สหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาให้มีความเหมาะสมสามารถบังคับใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยศึกษาผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็กในประเทศไทยนั้นมีข้อบกพร่องที่ทำให้ไม่สามารถใช้บังคับกฎหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กล่าวคือมิได้กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็กเอาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอาศัยการเทียบเคียงหลักกฎหมายสำหรับผู้บริโภคทั่วไปมาใช้บังคับกับผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็ก ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็กนั้นเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงภัยสูง เพราะเด็กไม่สามารถประเมินความเสี่ยงภัยและระมัดระวังอันตรายได้ด้วยตนเอง เมื่อมีความเสียหายหรืออันตรายเกิดขึ้นกับเด็ก โดยไม่ว่าจะเป็นต่อชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ ซึ่งกฎหมายในเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองหรือฟื้นฟูความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่เป็นเด็กแต่อย่างใด ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยกำหนดเพิ่มเติมคำนิยามของสินค้าที่ไม่ปลอดภัยให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามคำว่าผู้ประกอบการ เพื่อกำหนดหน้าที่ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องของการแจ้งเตือนและการเรียกคืนสินค้าโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ รวมไปถึงกำหนดให้มีหน่วยงานเอกชนเข้ามาทำหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับเด็ก เพื่อให้กฎหมายของประเทศไทยสามารถคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ