LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 648
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยศึกษากรณี หลักการโอนกรรมสิทธิ์และภาระความเสี่ยง(2555-11-16T08:12:19Z) ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์จากการศึกษาค้นคว้าถึงการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบันนั้น การติดต่อค้าขายหรือทำสัญญญาซื้อขาย มิได้จำกัดอยู่เฉพาะระหว่างคนไทย หรือทำการซื้อขายในดินแดนประเทศไทยเท่านั้น แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้หารติดต่อระหว่างบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ หรือต่างสัญชาติกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว ซึ่งการค้าในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่ยึดติดกับพรหมแดน ดังนั้นเมื่อมีการติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติหรือทำสัญญากันในต่างประเทศหรือทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาอยู่ในต่างประเทศ อาจทำให้เกิดปัญหา เมื่อมีคดีข้อพิพาทขึ้นมา จะทำให้เกิดปัญหาในการเลือกใช้กฎหมาย เพราะลักษณะของสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศนั้นมีกฎหมายหลายรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้เกิดปัญหาการขัดกันของกฎหมายขึ้น การที่ศาลรับฟังนั้นจะเลือกปรับใช้กฎหมายของประเทศใด ก็มักจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของประเทศนั้นๆ ว่าจะกำหนดให้ใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลักเกณฑ์เพียงประการเดียว...รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เอกพงศ์ รุ่งโรจน์วุฒิพงศ์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้อง และศึกษาถึงแนวทางเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐอินเดีย ถึงประเด็นปัญหาในการให้อำนาจหน่วยงานระดับท้องถิ่น การกำหนดนิยามคำจำกัดความของการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงศึกษาถึงแนวทางการให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตรากฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าในปัจจุบันมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางของการพิสูจน์อัตลักษณ์ของบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น การเก็บรักษาความลับของข้อมูลบนระบบเครือข่าย วิธีการเปลี่ยนแปลงเอกสารจากระบบเดิมที่ทำบนกระดาษให้ขึ้นมาอยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น มาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 45 (1) แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ได้มีแนวทางในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ แต่จากผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีข้อบัญญัติท้องถิ่นใดรองรับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ยังไม่แพร่หลาย อีกทั้งเกิดความไม่มั่นใจของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง หรือออกคำสั่ง อนุมัติ หรืออนุญาตถึงแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือกรณีหากเอกสารต้องมีการนำขึ้นมายืนยันหรือใช้เป็นหลักฐานผ่านกระบวนการพิจารณาขององค์กรบนชั้นศาล จะต้องดำเนินการอย่างไรให้มีความครบถ้วนถูกต้องเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงเห็นควรมีข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคำนิยามของการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบคำขออิเล็กทรอนิกส์รายการ กฎหมายประกันภัยพืชผล : ศึกษากรณียางพารา(2555-11-19T03:33:47Z) ณฐภัทร ถิรารางค์กูลประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลกมีประชากรปลูกยางพาราเป็นจำนวนร้อยละ10 ของจำนวนประชากรในประเทศ แต่เกษตรกรสวนยางพาราส่วนใหญ่ ร้อยละ 80-90 เป็นเจ้าของสวนยางพาราขนาดเล็ก ซึ่งยังไม่มีเงินทุนสำรองเพื่อเป็นหลักประกันในการปลูกยางพาราใหม่ เมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วมวาตภัย เป็นต้น ภัยพิบัติธรรมชาตินอกจากทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตยางพาราและยังขาดรายได้จากการกรีดยางพารา การประสบภัยพิบัติแต่ละครั้งเนสาเหตุให้เกษตรกรจำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาปลูกยางพาราใหม่เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้เกษตรกรมีภาระหนี้สินตามมา ทั้งรัฐบาลทุกสมัยได้พยายามช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่มีมาตราการใดที่เหมาะสมและเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรม...รายการ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายส่งเสริมการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ประพันธ์ สันติวิทยวงศ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าไทยมีการส่งเสริมการลงทุนโดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ที่มีการส่งเสริมน้อยกว่า ให้ความสำคัญในแนวเชิงปฏิบัติการ ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้นโยบายเปิดประเทศสู่โลกกว้าง ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าการลงทุนขององค์การการค้าโลก และข้อตกลงต่าง ๆ ที่เข้าเป็นภาคีร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีกฎหมายว่าด้วยการลงทุนชาวต่างชาติ ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ฉบับใหม่ที่มีการส่งเสริมที่กว้างขวางครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับการลงทุนของต่างชาติ ความเหมือนและแตกต่างของกฎหมายราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็คือ ข้อจำกัดการลงทุนตามบัญชีรายการ ทั้งสองประเทศก็มีส่วนคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทรัพยากรของชาติ วัฒนธรรม การศึกษา และที่แตกต่างคือ ไทยจำกัดอาชีพสงวนสำหรับคนไทย องค์กรส่งเสริมของไทยคือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีอำนาจควบคุมในการอนุญาต ตรวจสอบ ส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน้าที่เพียงส่งเสริม เผยแพร่ ชักจูงให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ไม่มีอำนาจควบคุม ตรวจสอบอนุญาต แต่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ลงทุน การวิจัยเสนอแนะให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ และ ร่วมมือกับประเทศในอาเซียนผนึกกำลัง เพื่อต่อรองและสร้างสมดุลอำนาจการลงทุน ควรมีมาตรการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล สำหรับนักลงทุนไทยเสนอแนะให้ศึกษารายละเอียดและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่สาธารณรัฐประชาชนจีนรายการ กฎหมายสิ่งแวดล้อมกับองค์กรภาคธุรกิจ : ศึกษากรณีปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกับการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน(2555-11-16T08:53:40Z) ศุภฤกษ์ สิทธิยุโณกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมนั้นไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหากไม่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชนที่เกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นปัญหาที่ใกล้ตัวสมาชิกของชุมชนที่สุดและควรจะได้มีการตระหนักในการร่วมกันดูแลรักษาและที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศอำนาจตามกฎหมายกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว ดังนั้นการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้เป็นเอกภาพโดยอาจมีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการบัญญัติสิทธิหน้าที่ของประชาชน ชุมชน สิทธิชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการดำเนินคดีทางด้านสิ่งแวดล้อมรายการ กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ไอยวรินทร์ โพธิปฐมสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนเปรียบเทียบกับประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา รวมถึงศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือน แลแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และกฎกระทรวง กำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. 2565 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการห้ามการโฆษณาแฝง หรือห้ามโฆษณาที่ใช้เครื่องหมายที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่างใด ดังนี้จึงถือเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอาศัยช่องว่างของการโฆษณาดังกล่าวดำเนินการในลักษณะดังกล่าว จากการศึกษา The Code of Federal Regulations Title 27 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดห้ามการใช้เทคนิคการโฆษณาแฝงเพื่อจูงใจจิตใต้สำนึกอย่างชัดเจน สำหรับปัญหาการกำหนดโทษกรณีขับขี่รถขณะมึนเมากรณีการกระทำความผิดซ้ำที่ปรากฎตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 โดยเพิ่มเติมมาตรา 160 ตรี/1 ที่กำหนดลงโทษทางอาญานั้น ยังไม่เหมาะสมและอาจจะไม่สามารถป้องปรามผู้ขับขี่รถขณะมึนเมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ Acts 24 of 2003 ของรัฐ Pennsylvania ได้กำหนดมาตรการเพื่อป้องปราม และบังคับให้ผู้กระทำความผิดครั้งที่สองขึ้นไป ต้องติดเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ เพื่อติดเครื่องยนต์” (Ignition interlock ) ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 โดยกำหนดห้ามการใช้เทคนิคการโฆษณาแฝงเพื่อจูงใจจิตใต้สำนึก อีกทั้งควรเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี/1 วรรคท้ายโดยกำหนดให้ผู้กระทำความผิดครั้งที่สองขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องเป่าแอลกอฮอล์เพื่อติดเครื่องยนต์รายการ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลในความผิดฐานกระทำอนาจาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ฤทธิพงศ์ คงแก้วเนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร ประสิทธิภาพในเรื่องการลดการกระทำความซ้ำของผู้กระทำความผิดดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้ยังคงมีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจารยังคงกลับมากระทำความผิดซ้ำ อีกทั้งโทษที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการกระทำความผิดอนาจารไม่สามารถช่วยเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับคืนสภาพดังเดิมได้เฉกเช่นก่อนเกิดการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะในด้านของสภาพจิตใจ ความรู้สึกของผู้เสียหาย กระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจเยียวยาในด้านดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้นเพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร และให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดกลับตัวเป็นคนดีเพื่อเข้าสู่สังคมได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายให้ได้รับการชดเชยเยียวยาได้อย่างครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรอบการศึกษาในเล่มนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อนำมาปรับใช้กับคดีความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร โดยเฉพาะมาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280 จากการศึกษาพบว่ากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สามารถช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร และสามารถเยียวยาผู้เสียหายในด้านสภาพจิตใจ ความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาบังคับใช้กับความอาญาฐานกระทำอนาจาร และควรมีการพัฒนากฎหมายให้สามารถมีการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจตรวจสอบถึงกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรายการ การกระทำทางละเมิดของลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ปรรณพัชร์ ฐิติธรรมเวทย์การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่สามารถกระทำได้เพียงคนเดียว จึงจำเป็นต้องมีผู้ร่วมงานเข้ามาในฐานะ เรียกว่า ลูกจ้าง เข้ามาช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน สำเร็จดังความมุ่งหมายของเจ้าของกิจการหรือนายจ้าง เมื่อเจ้าของกิจการหรือนายจ้างได้มอบหมายกิจการใดให้ลูกจ้างทำงาน นายจ้างก็ได้รับประโยชน์ในงานนั้นหากลูกจ้างไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นายจ้างก็ต้องรับผิดด้วย อันถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม จากการศึกษาพบว่าปัญหาความรับผิดทางละเมิดที่เกิดจากลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเยียวยานักท่องเที่ยวที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของลูกจ้าง นายจ้างต้องมีส่วนร่วมรับผิดในค่าเสียหาย การดูแล และเยียวยานักท่องเที่ยว กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กฎหมายดังกล่าวยังมิได้กำหนดการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจะพิจารณาจากหน้าที่หลักของลูกจ้างว่า การละเมิดนั้นเกี่ยวกับหน้าที่หลักหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจึงต้องพิจารณาหน้าที่ของลูกจ้างผู้กระทำละเมิดเป็นกรณีไป อีกทั้งไม่ปรากฏหน้าที่ตามกฎหมาย ตามสัญญา หรือตามพฤติกรรมต่างๆจากการกระทำก่อนๆของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างก็ไม่อาจเรียกร้องโดยมูลละเมิดได้รายการ การกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เจนจิรา สำลีศรีสารนิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเรื่องมาตรการการกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาความสำคัญของมาตรการทางกฎหมายในความผิดฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัย ว่าการที่ผู้กระทำความผิดได้บุกรุกเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานที่พักที่ หมายความรวมถึง เคหสถานที่พักอาศัย (Privacy) ที่หมายถึง ความเป็นส่วนตัวในบ้านที่พักอาศัย สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง หรือการที่บุคคลมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะอยู่อย่างสันโดษโดยปราศจากการแทรกแซง การรบกวนจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่เป็นการบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่วไป ในขณะเดียวกันบทบัญญัติตามกฎหมายไทยในปัจจุบันความผิดอันเกี่ยวกับการบุกรุกที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา เพียงแต่บัญญัติความผิดเรื่องการบุกรุกเคหสถานทั่วไปตามมาตรา 364 เท่านั้น มิได้บัญญัติอันว่าด้วยเรื่องการบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยแยกออกจากกันไว้ จึงเป็นกรณีที่บทบัญญัติและการลงโทษของกฎหมายในกรณีดังกล่าวไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดอย่างแท้จริง โดยเมื่อศึกษาบทบัญญัติกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับบทกฎหมายต่างประเทศแล้ว เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศมีบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นการกำหนดความผิดอาญาฐานบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยที่แบ่งแยกออกจากฐานความผิดบุกรุกทั่วไปมีเฉพาะในบทกฎหมายบางประเทศ อาทิเช่น สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้กฎหมายอาญาไทยมีการปรับปรุงบทบัญญัติความผิดอาญาและบทลงโทษที่เหมาะสม จึงสมควรที่จะมีการกำนหนดให้การบุกรุกเคหสถานที่พักอาศัยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาไทย และมาตรการการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับการกระทำความผิดลักษณะดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากขึ้น สามารถนำมาบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพรายการ การกำหนดความผิดและมาตรการลงโทษฐานลักทรัพย์รถยนต์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) กมลชนก วรนุชกุลสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความรับผิดและการลงโทษฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์ ทั้งแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์ โดยศึกษากฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศแคนาดา และ สาธารณรัฐตุรกี เพื่อหาแนวทางกำหนดความรับผิดและบทลงโทษที่เหมาะสมฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์รายการ การกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการประทุษวาจาในระบบข้อมูลของตน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นาตยา สวัสดีสารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการประทุษวาจาโดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ แนวความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการประทุษวาจา ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ความผิดฐานคุกคาม ข่มเหง และความรับผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี และประเทศสิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการประทุษวาจาได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยรายการ การกำหนดโทษปรับ กรณีบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในกำหนด หรือเจตนาไม่ยื่นรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) พสิษฐ์ โชติรัตน์สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาโทษปรับอาญา กรณีบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลา หรือเจตนาไม่ยื่นรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยมุ่งศึกษาในส่วนของโทษปรับอาญาในมาตรา 35 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลา และการไม่ยื่นรายการเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศแคนาดา และประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดโทษปรับอาญาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิดในการกำหนดโทษทางอาญา เพื่อนำมาใช้ในการลงโทษบุคคลธรรมดาผู้ที่ได้กระทำผิดต่อไป จากการศึกษา พบปัญหาที่สำคัญ คือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับนิยามของเบี้ยปรับ และความซ้ำซ้อนกันของการปรับ เนื่องจากการที่มีทั้งโทษปรับอาญาและเบี้ยปรับ ซึ่งการลงโทษปรับที่เกิดจากการกระทำผิดในลักษณะเดียวกันก็ควรมีโทษปรับอาญาเพียงแบบเดียว อีกทั้งความผิดที่เกี่ยวกับการเสียภาษี แม้จะเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ได้เป็นความผิดที่เกิดความชั่วร้ายในตัวเองแต่หากไม่ปฏิบัติจะส่งผลกระทบต่อวงกว้าง อีกทั้งอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงควรกำหนดให้เป็นโทษปรับอาญาเพียงอย่างเดียว (2) ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมของโทษปรับอาญา เนื่องมาจากโทษปรับอาญาในปัจจุบันนั้นเป็นโทษปรับแบบตายตัว ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ถูกลงโทษ อันส่งผลให้ผู้ถูกลงโทษได้รับผลกระทบที่ไม่เท่าเทียมกัน อันขัดต่อหลักความเสมอภาคของการลงโทษตามกฎหมายอาญา และ (3) ปัญหาเกี่ยวกับสภาพบังคับของโทษทางอาญา เนื่องจากโทษปรับตามมาตร 35 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น มีการเปรียบเทียบปรับในจำนวนที่ต่ำมาก อันส่งผลให้การบังคับใช้โทษนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการข่มขู่ยับยั้งไม่ให้บุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นกระทำความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ศึกษา จึงได้เสนอแนวทางในการกำหนดโทษปรับอาญา ที่ใช้ลงโทษแก่บุคคลธรรมดา กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลา และบุคคลธรรมดาผู้ที่เจตนาไม่ยื่นรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยการ (1) กำหนดให้โทษปรับสำหรับความผิดดังกล่าว ถือเป็นโทษปรับอาญาเพียงแบบเดียว และ (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโทษอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโทษปรับ ในมาตรา 35 และมาตรา 37 ทวิ โดยมีการกำหนดโทษปรับที่สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ถูกลงโทษ และมีการเพิ่มขึ้นของโทษตามความร้ายแรงของการกระทำความผิด ผ่านระยะเวลาที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดความเสมอภาคของกฎหมายอาญาและวัตถุประสงค์ในการข่มขู่ยับยั้ง ต่อไปรายการ การกำหนดโทษปรับทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วีรภัทร เรืองจันทร์จากสภาพปัญหาของการตราพระราชบัญญัติต่างๆ และการบังคับใช้พระราชบัญญัติที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งได้กำหนดบทลงโทษทางอาญาไว้ หากผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องได้รับการลงโทษ เช่น การลงโทษปรับทางอาญาหรือโทษจำคุก ซึ่งมีระวางโทษที่กำหนดไว้ในมาตราต่างๆ ก็ด้วยเนื่องมาจากการที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 นั้น มีวัตถุประสงค์ มุ่งหมายในการคุ้มครอง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามนโยบายที่รัฐจำต้องกระทำอันเป็นหน้าที่ จึงต้องมีการกำหนดรูปแบบการลงโทษทางอาญาขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 72 แต่เมื่อสภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน บทบัญญัติของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ดังกล่าวที่มีอยู่แต่เดิมนั้น ส่งผลกระทบต่อการเกิดความไม่สอดคล้องกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอันนำไปสู่ปัญหาการกำหนดความผิดทางอาญาอย่างไม่เหมาะสมหรือกฎหมายอาญาเฟ้อ (Over – criminalization) อีกทั้งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ยังประกอบด้วยความผิดอาญาที่กำหนดไว้ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ความผิดในตัวเอง (Mala In Se) หรือแนวคิดทางศีลธรรมของสังคม (Legal Moralism) เพราะเป็นการกระทำอันกระทบกระเทือนต่อสังคมโดยรวม และอีกประเภทหนึ่งของความผิดทางอาญาที่เรียกว่า ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาประโยชน์ของสังคมอันเป็นประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) แต่การที่จะนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับพระราชบัญญัติดังกล่าวได้นั้น จะต้องนำไปใช้ได้ในส่วนของกฎหมายที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งนี้ ระบบกฎหมายของไทยยังขาดความชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับการจะนำโทษทางปกครองไปใช้กับโทษทางอาญาได้อย่างไร เมื่อปรากฏว่า พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 11/1 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจำจังหวัดโดยอนุโลมเพียงเท่านั้น จึงยังไม่ได้มีมาตรการลงโทษปรับทางปกครองที่จะระบุลงไว้ในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 อย่างชัดเจนรายการ การคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ณัฎฐพล ธรรมสุนทรสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเรื่องการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พยานบุคคลในคดีอาญานับว่ามีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะพยานบุคคล จะเบิกความโดยพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่ และจำเลยได้กระทำความผิด ตามฟ้องโจทก์จริงหรือไม่ แต่การนำพยานบุคคลมาเบิกความในคดีอาญามีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น พยานไม่ไปศาลเนื่องจากพยานบุคคลเกิดความหวาดกลัวจะได้รับอันตราย หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย หากต้องมาเป็นพยาน พยานเหล่านี้มักจะหลีกเลี่ยงการไปศาล หรือเกรงกลัวอิทธิพลแล้วกลับคำให้การในชั้นพิจารณาคดี ซึ่งการคุ้มครองพยานบุคคลในประเทศไทยนั้นไม่สามารถให้ความคุ้มครองต่อพยานได้อย่างแท้จริง เพราะการสืบพยานของประเทศไทยต้องกระทำโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลยซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 วรรคหนึ่ง เป็นการให้สิทธิแก่จำเลยที่จะได้รับการเผชิญหน้ากับพยาน หากเปรียบเทียบการสืบพยานของกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ จะจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่พร้อมกันสามารถเห็นภาพและเสียงได้ยินเสียงของผู้พิพากษา ทนายความจำเลย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นรวมทั้งพยานหลักฐานและข้อมูลในกระบวนการก่อนสืบพยาน ทนายความมาปรากฏตัวต่อศาลพร้อมกับจำเลย กฎหมายในต่างประเทศมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย จึงไม่มีเงื่อนไขบังคับเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างจำเลยกับพยาน และการที่บุคคลใดมาเป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เป็นองค์กร พยานจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่เริ่มกระบวนพิจารณาจนจบคดี และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพยานก็ได้รับการคุ้มครอง แต่การที่บุคคลใดจะได้รับการคุ้มครองพยานต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองพยานบุคคลโดยเฉพาะ พยานต้องทำการสมัครใจเข้าโครงการคุ้มครองพยาน และมีการกำหนดอัตราโทษบุคคลที่นำเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานไปเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่กฎหมายของไทยมีกฎหมายบังคับให้การสืบพยานในคดีอาญาต้องเผชิญหน้ากับพยาน ซึ่งการคุ้มครองพยานของไทยคุ้มครองเฉพาะพยานไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพยานในคดี มีการคุ้มครองเพียงระยะเวลาจำกัด เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคล เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานใน คดีอาญา พ.ศ. 2546 ควรที่จะกำหนดการคุ้มครองพยานที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองบุคคลโดยมีการปฏิบัติที่เหมาะสม และมีการให้ค่าตอบแทนพอสมควรแก่พยาน และมีการจัดให้มีการคุ้มครองชั่วคราว แก่พยานในช่วงระยะเวลา ที่มีการพิจารณาคดีเพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นไปรายการ การคุ้มครองพยานในคดีอาญา: ศึกษาปัญหาการใช้มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อุดมเดช ฟองอ่อนสารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการคุ้มครองพยาน กรณีที่นำมาตรการพิเศษมาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ด้วยลักษณะของคดีพิเศษ เป็นคดีอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวน สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ เป็นคดีอาญาที่หรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือระบบเศรษฐกิจการคลังของประเทศ ความผิดที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม หรือคดีอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดี ในการดำเนินคดีอาญาดังกล่าวนี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่สำคัญทั้งพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล มาพิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย โดยเฉพาะพยานบุคคลที่เป็นประจักษ์พยานนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่พยานในคดีที่สำคัญดังกล่าวมักจะมีโอกาสและความเสี่ยงจากการมุ่งประสงค์ร้ายจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมิให้พยานบุคคลเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมอันจะให้การหรือเบิกความนำไปสู่การพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ หากจะนำมาตรการทั่วไปในการคุ้มครองพยานมาใช้กับพยานบุคคลที่อยู่ในคดีพิเศษอาจจะไม่สามารถป้องกันภยันตรายหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นที่จะต้องนำมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยที่เป็นมาตรการสูงสุด คือ มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานมาใช้กับพยานในคดีพิเศษที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการที่จะมาเป็นพยานหรือได้มาเป็นพยานนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า การขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มิได้ระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ชัดเจนถึงการนำไปใช้คุ้มครองพยานบุคคลที่อยู่ในคดีพิเศษ แต่บัญญัติเป็นการทั่วไปที่จำกัดให้การขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานจะต้องดำเนินการผ่านสำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อให้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจเกิดความล่าช้าและไม่ทันต่อสภาพปัญหาหรือการป้องกันเหตุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นพยาน ครอบครัว รวมถึงบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยานได้ ในการนี้ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน และดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับคดีพิเศษ คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้สามารถรับคำร้องและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย และดำเนินการใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานได้โดยตรง เพื่อให้พยาน ครอบครัว และบุคคลที่ใกล้ชิดกับพยาน ได้รับการคุ้มครองและช่วยเยียวยาด้วยวิธีการและรูปแบบที่รวดเร็ว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพรายการ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน : ศึกษาเฉพาะกรณีการกักตัวคนต่างด้าวก่อนส่งกลับนอกราชอาณาจักร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ภัทรานี เทศลงทองปัจจุบันประเทศไทยมีคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐต้องควบคุม จำกัดและดูแลให้คนต่างด้าว เพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม แต่ด้วยเหตุที่คนต่างด้าวเป็นมนุษย์มีสิทธิพื้นฐานอันจะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ รัฐจึงมีภาระหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆของคนต่างด้าว ในการศึกษาเรื่อง “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการกักตัวคนต่างด้าวก่อนส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติเข้าเมือง พ.ศ. 2552” เป็นการศึกษาถึงรูปแบบเงื่อนไขและปัจจัยในการกักตัวคนต่างด้าว แล้ววิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อคนต่างด้าวว่าได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิและเสรีภาพเพียงใด เพื่อหาแนวทางและแก้ไขปัญหาให้คนต่างด้าวได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริงรายการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและจำเลย : กรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) คม คุ้มโนนคร้อสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและจำเลย กรณีศึกษาการขอปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไข โดยในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้มีการกำหนดวงเงินประกันหรือราคาหลักประกันแต่ละประเภทความผิดไว้เป็นหลักเกณฑ์ แม้กรณีดังกล่าวนั้น จะให้ดุลพินิจแก่ศาลในการพิจารณากำหนดวงเงินประกันให้มากหรือน้อยตามความเหมาะสมในแต่ละคดี ทั้งความร้ายแรงของการกระทำความผิดจากประวัติของผู้ต้องหาหรือจำเลยแต่ศาลส่วนใหญ่จะใช้ดุลพินิจแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนเหมือนกันตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อแสดงว่าไม่มีความลำเอียง และเพื่อป้องกันตนเองจากการเสี่ยงถูกร้องเรียนว่าทุจริต ทำให้เกิดปัญหาว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะยากจนมักจะไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ดังนั้น จากการศึกษาสภาพปัญหาการปล่อยชั่วคราวโดยมีเงื่อนไข จึงพบปัญหาในหลักกฏหมายที่สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขรายการ การคุ้มครองแรงงานเด็กในการชกมวยไทยอาชีพ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ฐิติพันธุ์ เพ็ญศิริปัจจุบันกีฬามวยไทยได้แปรเปลี่ยนไปจากที่เคยฝึกฝนเพื่อป้องกันบ้านเมืองมาเป็นการฝึกฝนเพื่อการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์โดยต้องยอมรับว่ากีฬามวยไทยเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าทางการตลาดที่ทำเงินได้ปีละหลายล้านบาท และในธุรกิจกีฬามวยไทยนี้ปัจจุบันมีการนำเด็กมาชกมวยตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเด็กที่มาแข่งขันชกมวยเป็นกลุ่มที่มีสภาพร่างกายและจิตใจแตกต่างจากแรงงานชนิดอื่นๆ เด็กเป็นวัยที่กลังเจริญเติบโตและเป็นวัยที่จะพัฒนาเพื่อเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป ด้วยเหตุที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มุ่งให้ความคุ้มครองแก่แรงงานเด็กในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเป็นหลัก ดังนั้นมาตรการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นจึงมีความเหมาะสมเฉพาะกับงานในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม แต่สำหรับงานด้านอื่นที่มีสภาพการทำงาน และสภาพการการจ้างแตกต่างจากงานในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ในรายละเอียดยังไม่ได้กล่าวถึงและเป็นการใช้แรงงานอีกประเภท ในทางปฏิบัติก็ถือว่าเป็นการใช้แรงงานเด็กเช่นกันนั่นคือ นักมวยเด็กรายการ การจัดทำสัญญามาตรฐานเพื่อการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เพ็ญนภา เดชเกิดสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่งโดยศึกษากฎหมายต่างๆของประเทศไทย ในเรื่องการทำสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคพบว่ามักจะทำเป็นสัญญาลิสซิ่ง และสัญญาลิสซิ่งเป็นสัญญาที่ไม่ถูกควบคุมตามประกาศคณะกรรมการสัญญา จากการศึกษากฎหมายในประเทศไทยในการจัดทำสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมสัญญาการประกอบธุรกิจลิสซิ่งมีกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 และร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจลิสซิ่ง พ.ศ. .... แต่จากการศึกษาในเรื่องการทำสัญญามาตรฐานนั้น ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสัญญามาตรฐานบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ปัจจุบันการประกอบธุรกิจลิสซิ่งและการทำสัญญาลิสซิ่งได้รับความนิยมและมีการทำสัญญาลิสซิ่งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายดังกล่าวไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุมการกำหนดข้อตกลงในสัญญาลิสซิ่งเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบ(หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) พรชัย รอดเทศการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาให้เห็นถึงมาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบ ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ฐานภาษี และอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บและมาตรการการลงโทษตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ซึ่งในประเทศต่างๆหลายประเทศเช่นประเทศออสเตรเลีย และประเทศแคนาดาได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากและมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบ ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางต่างๆ เพื่อที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลไทยควรมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษียาสูบให้ชัดเจน ค่อยเป็นค่อยไป และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดแรงจูงใจในการค้ายาสูบที่ผิดกฎหมาย และลดการบริโภคยาสูบโดยรวม ควรมีการปรับปรุง พ.ร.บ. ประกาศกระทรวงฯ กฎ หรือระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบ พัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่งานควบคุมยาสูบ ชี้แจงมาตรการทางกฎหมายแก่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายควบคุมยาสูบ และมีการรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กฎหมายควบคุมยาสูบ ควรมีการปรับปรุงกฎหมายในประเด็นเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิบัติผิดเงื่อนไขในใบอนุญาต โดยควรใช้การกำหนดโทษทั้งทางอาญาและโทษทางปกครอง โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขจะต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ และต้องถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตด้วยเหมือนอย่างเช่นประเทศออสเตรเลียและประเทศแคนาดา เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน