LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย ผู้เขียน "กมลทิพย์ เชื้อฉ่ำหลวง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายในการปลูกกัญชาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กมลทิพย์ เชื้อฉ่ำหลวงสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายในการปลูกกัญชาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม รวมถึงศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุม กำกับ ดูแลผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 ซึ่งยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายเพียงพอในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า กฎหมายของต่างประเทศที่น่าสนใจคือ กฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งกำหนดให้กัญชามีสถานะเป็นยาเสพติด โดยแยกเป็นสองประเภท คือ ยาเสพติดร้ายแรงและยาเสพติดไม่ร้ายแรง สำหรับผู้กระทำความผิดยาเสพติดประเภทสอง (ไม่ร้ายแรง) จะไม่ถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดทางอาญา โดยรัฐจะสร้างระบบบำบัดรักษาให้กับผู้เสพโดยเฉพาะสารเสพติดประเภทกัญชาหรือกัญชง แต่ผู้เสพยาเสพติดประเภทแรก (ร้ายแรง) จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง ปัจจุบันนโยบายความผิดทางอาญาสำหรับยาเสพติดไม่ร้ายแรง เช่น การมียาเสพติดประเภทสองไม่เกิน 5 กรัม จะไม่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ภายใต้คำแนะนำของ Public Prosecution Service Guideline (1996) ในส่วนของประเทศไทย ผู้วิจัยพบว่าในปัจจุบันได้มีการปลดล็อคกัญชาออกจากสารเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 แต่ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมการปลูกกัญชาเพื่อนำกัญชาไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จึงต้องมีการออกกฎหมายเพื่อจำกัดการปลูกกัญชา และต้องกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการปลูกกัญชา รวมไปถึงต้องออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในส่วนของผู้ขออนุญาตปลูกกัญชา เพื่อผู้ที่ต้องการปลูกกัญชาจะสามารถปลูกได้อย่างทั่วถึงและสามารถนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ในการอนุญาตให้ปลูกกัญชาเพื่อสามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น