CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ผู้เขียน "ทองเนื้อเก้า คำพิมพ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ รูปแบบการนำเสนอข่าวด่วนด้วยเฟซบุ๊กไลฟ์ (FACEBOOK LIVE) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ทองเนื้อเก้า คำพิมพ์การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการนำเสนอข่าวด่วนด้วยเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล” การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้ชมที่มีผลต่อการติดตามรับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล (2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการติดตามรับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล (3) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ที่มีผลต่อการติดตามรับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มที่มีอายุ 19 - 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติการจำแนกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ ค่า T-test และ ค่า F-Test และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ศึกษาได้มาจัดทำ “กลยุทธ์การจัดรายการข่าวด่วนผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของเพจสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล” ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับรายได้ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการติดตามรับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านพฤติกรรมการรับชม โดยช่วงเวลา 20.01-00.00 น. มีผู้รับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 43.50 มากที่สุด ระยะเวลา 11-20 นาที มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.20 และวัตถุประสงค์ที่รับชมเพื่อติดตามข่าวสารประจำวัน อัพเดทข่าวสาร คิดเป็นร้อยละ 32.00 ทดสอบด้านรูปแบบการนำเสนอผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อการติดตามรับชมข่าวด่วนผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านผู้นำเสนอ (ผู้ประกาศข่าว, ผู้สื่อข่าว ,พิธีกร) และด้านเทคนิค โดยความถี่ในการ Live และการแจ้งเตือน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.23 ผลการวิจัยทั้งหมดส่งผลให้เกิด “กลยุทธ์การจัดรายการข่าวด่วนผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของเพจสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล” ในรูปแบบของ “13 P’s Paradigm” อาทิ Policy (นโยบาย) สาระสำคัญคือจะต้องนำเสนอข่าว ข้อเท็จจริง ให้ผู้ชมเข้าถึงอย่างทันท่วงที และเสนอข่าวเป็นกลาง น่าเชื่อถือ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ชม ตลอดจน Presenter (ผู้นำเสนอเนื้อหาสาระ) ต้องมีความพร้อมและเตรียมตัวในการนำเสนอข่าว รวมทั้ง Presentation (แนวทางในการนำเสนอ) ควร Live ต่อเนื่องขณะเกิดเหตุสำคัญ เป็นต้น