CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 89
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กรณีศึกษากลยุทธ์การสร้างมายาคติจากสื่อโฆษณาของการท่องเที่ยวไทย(2555) กมลวรรณ ศิริวันต์การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ กลยุทธ์สื่อโฆษณา เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอชิ้นงานโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยใช้มายาคติในการสื่อสารเพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว รวมไปถึงศึกษาอัตราของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยในภูมิภาคจังหวัดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ทำสื่อโฆษณาเผยแพร่ออกมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีประสบการณ์การเดินทางโดยถูกอิทธิพลการจูงใจด้วยการสื่อสารโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คน ด้วยการสัมภาษณ์จากการสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ...รายการ กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศรัณญา ซื่อตรงการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค 3) กลยุทธ์ทางการตลาดของร้านกาแฟ 4) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ 5) การตัดสินใจเลือกเข้าร้านกาแฟของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงในเขตพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการร้านกาแฟจำนวน 8 เขต ด้วยวิธีการสุ่ม ได้แก่ เขตลาดพร้าว เขตวัฒนา เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตดินแดง เขตบางเขน เขตจตุจักร และเขตบางรัก การวิเคราะห์หาคำตอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ การแสดงค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณรายการ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่าน SOCIAL MEDIA ของละครหลังข่าวช่อง 7HD(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สิริลภัส กองตระการการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมละครที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี3) เพื่อศึกษาการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Media ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อละครหลังข่าวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้คนที่รับชมละครหลังข่าวช่อง 7HD ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) โดยใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description)รายการ กลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา ช่อง THAI FAIRY TALES ใน YOUTUBE(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) อดิศร ไม้ประดิษฐ์วิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาช่อง thai fairy tales ใน youtube” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหากลยุทธ์การผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยม ด้าน เนื้อหา รูปแบบ วิธีการนำเสนอ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อรายการ และศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมเปิดรับรายการประเภทเด็กอย่างไรบ้าง การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยจากการการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face to face interview : F2F) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) ในการเก็บข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบศึกษาเพื่อตอบวัตุประสงค์ของการศึกษาด้วยวิธีการนำเสนอผลการวิจัยเป็นเชิงพรรณ (Descriptive Research) อภิปรายข้อมูล และ บรรยายสรุป โดยแยกตามวัตถุประสงค์ของการศึกษารายการ กลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศิริวัฒน์ ชัยพิพัฒนพงษ์การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาฟุตบอลอาชีพไทยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย และ 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย 5 ขึ้นไป จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ 10 คน ภาคเอกชน (สโมสร) 10 คน นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ 10 คน และ สื่อมวลชนสายกีฬาฟุตบอล10 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย ได้แก่ สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ การตลาด งบประมาณ บุคลากร แฟนคลับ การบริหารจัดการ รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน (สปอนเซอร์)รายการ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชาติสุริย อนุพันธ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน 4) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน 5) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟิน งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหอมมาดามฟินที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)รายการ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่างผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปาณิสรา ดิษฐคำเหมาะการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ จำกัด 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องมือช่างที่บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องมือช่างที่บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด และ 3) ศึกษาสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่างของผู้บริโภคต่อบริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าบริษัทชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับประชากรกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (T-test independence) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ใกล้เคียงกับเพศชาย มีอายุ 25-30 ปี มีสถานภาพโสดใกล้เคียงกับสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี/เทียบเท่า มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-30,000 บาท ตามด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด (IMC) เพื่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่าง: โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) ด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ด้านการโฆษณา (Advertising) และ ด้านการตลาดทางตรง (Direct Marketing) ส่วนความคิดเห็นด้านสื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่าง : โดยรวม อยู่ในระดับมากรายการ กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วาราดา จินดาอินทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายภายในองค์กรประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และภายนอกองค์กรประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการ และสื่อมวลชนรายการ กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ(Sripatum University, 2563) นันทรัตน์ อรรถยากรงานวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ" นี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารแบรนด์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเพื่อนำเสนอรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จรายการ กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่มีผลต่อความสำเร็จของแบรนด์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นพวรรณ กองวิสัยสุขการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่มีผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (3) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของแบรนด์โลแลน ซีคูล ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ (4) เพื่อศึกษาการรับรู้ของเจนเนอเรชั่นซีที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ และความสำเร็จของแบรนด์โลแลน ซีคูล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก (Depth Interview) ในกลุ่มบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์โลแลน ซีคูล ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการตลาด และด้านการสื่อสารขององค์กร นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักวิชาการและนักอาชีพสื่อสารจำนวนกลุ่มละ 3 ท่านในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 13-23 ปี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเผยแพร่แบบสอบถามในเฟซบุ๊กแฟนเพจของแบรนด์โลแลน ซีคูลรายการ กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พิศุทธิ์ กลิ่นประทุมการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อกลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อกลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่างและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สรุปได้ว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อกลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน แต่อาชีพแตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อกลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกันรายการ กลยุทธ์เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัยวุฒิกร ศิริรัตน์การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์เพื่อการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม” ครั้งนี้มุ่งศึกษา1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ และ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ในทุกคณะ สำหรับปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการจำแนกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Chi-Square ด้วยวิธีการ Crosstab และ Correlationรายการ การติดตามและการใช้ประโยชน์ของผู้อ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธัญญาวดี ลิ้มประยูรการวิจัยเรื่อง “การติดตามและการใช้ประโยชน์ของผู้อ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ The Matter” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ การติดตาม และการใช้ประโยชน์ของผู้อ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ The Matter โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ The Matter จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)รายการ การนำหลักธรรมที่ได้จากเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) อัจฉรา เฉกแสงทองการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “การนำหลักธรรมที่ได้จากเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์” การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมที่ได้จากทางเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมที่ได้จากทางเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมที่ได้จากทางเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และ 4) ศึกษาการติดตามและการมีส่วนร่วมกับเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ ที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมที่ได้จากทางเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจธรรมะ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าคงที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนรายการ การพัฒนารูปแบบรายการข่าวต่างประเทศ ในยุคทีวีดิจิทัล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พรดนัย วัลยาภิรมย์วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบรายการข่าวต่างประเทศ ในยุคทีวีดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการวิจัยและเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใน 8 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวนเขตละ 50 ชุด โดยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56.0 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 44.00 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเปิดรับชมรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวต่างประเทศที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดความแตกต่างในทัศนคติต่อการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัล ส่วนลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกัน ได้รับประโยชน์จากการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพฤติกรรมการเปิดรับการรายงานข่าวต่างประเทศต่างกัน ได้รับประโยชน์จากการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลแตกต่างกันและทัศนคติต่อรายงานข่าวต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรับชมข่าวต่างประเทศ ทัศนคติต่อรายงานข่าวต่างประเทศด้านความทันสมัยของรูปแบบรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลและด้านความแม่นยำของข่าวมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรับชมข่าวต่างประเทศ โดยมีระดับนัยสำคัญที่สังเกตได้ (P-value) ต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนด (P-value < 0.05)รายการ การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์(2555-11-21T07:49:18Z) วิทวัช แซ่พุ่นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษา การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนกับการรับชมสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 3)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์...รายการ การรับรู้ ความเข้าใจและทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ "โครงการคุณธรรมนำไทย"กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ ชุด "ผู้นำคุณธรรม"(2555-11-21T07:38:52Z) ดาราวรรณ ประพัฒน์การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ โครงการคุณธรรมนำไทย กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด ผู้นำคุณธรรม รวมทั้งศึกษาการเปรียบเทียบการรับรู้ ความเข้า และทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะรัฐศาสตร์และคณะนิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ โครงการคุณธรรมนำไทย กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด ผู้นำคุณธรรม ...รายการ การรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของกลุ่มโรงงานไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ ในนิคมอมตะนคร จังหวัด ชลบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) เบญจมาศ สิทธิโชคธรรมการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของกลุ่มโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือกลุ่มประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้แก่ Indepdent Samples t-test, One-way ANOVA การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์ และประมวลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windowรายการ การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) โสภาพรรณ วิรุฬหมาศการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ศึกษาการรับรู้ของผู้ติดตามเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ศึกษาการสื่อสารทางการตลาดของเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ และศึกษาภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารของเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชากรไทยที่ถูกใจเฟซบุ๊กเพจมิสแกรนด์ไทยแลนด์ และติดตามการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ผ่าเฟซบุ๊กเพจมิสแกรนด์ไทยแลนด์ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean : "X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) วิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และ สถิติ t-test (Independent Sample T-test) สถิติ F-test (One-way ANOVA)รายการ การรับรู้เกี่ยวกับความรู้ผิดชอบต่อสังคมในการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พรจิรา วิภาดาพิสุทธิ์การศึกษาเรื่อง การรับรู้เกี่ยงกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ผู้ศึกษาได้ศึกษา คือ ประชากรเพศชายและเพสหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชลบุรี โดยในที่นี้เก็บคัวอย่างเป็นจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คนเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี เป็นพนักงานเอกชน มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประชาชนมีการรับรู้โครงการด้านมนุษยธรรมมากที่สุด ทัศนคติที่มีต่อบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ในระดับดี และมรการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ด้านชื่อเสียงมากที่สุด