CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 89
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กรณีศึกษากลยุทธ์การสร้างมายาคติจากสื่อโฆษณาของการท่องเที่ยวไทย(2555) กมลวรรณ ศิริวันต์การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ กลยุทธ์สื่อโฆษณา เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอชิ้นงานโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยใช้มายาคติในการสื่อสารเพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว รวมไปถึงศึกษาอัตราของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยในภูมิภาคจังหวัดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ทำสื่อโฆษณาเผยแพร่ออกมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีประสบการณ์การเดินทางโดยถูกอิทธิพลการจูงใจด้วยการสื่อสารโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คน ด้วยการสัมภาษณ์จากการสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ...รายการ การเปิดรับ และทัศนคติ ของผู้บริโภคต่อสื่อ ณ จุดขาย ภายในห้าง Super Center : กรณีศึกษาห้าง Tesco Lotus ในเขตกรุงเทพมหานคร(2555-11-21T04:27:26Z) นที แสงพลายการวิจัยครั้งนี้มัวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาการเปิดรับ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อสื่อ ณ จุดขายภายในห้าง Super Center การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการภายในห้าง Super Center จำนวน 406 คน...รายการ รูปแบบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงในสื่อนิตยสาร(2555-11-21T04:36:49Z) นริศรา ตันสรานุวัฒน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษารูปแบบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงในสื่อนิตยสาร 2)เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงจำแนกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ 3)เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงในประเทศและต่างประเทศ ทำการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ตัวบทในสื่อนิตยสารสำหรับผู้หญิง 2 ฉบับ คือ นิตยสารคลีโอ และ เซเว่นทีน จำนวน 60ฉบับ...รายการ พฤติกรรมการเปิดรับและทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อละครเรื่อง สายน้ำ สามชีวิต ของบริษัท เป่า จิน จง จำกัด(2555-11-21T04:48:09Z) นัฐยา อุ่นใจการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อละครเรื่อง สายน้ำ สามชีวิต 2) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อละครเรื่องสายน้ำ สามชีวิต 3)เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ต่อละครเรื่องสายน้ำ สามชีวิต เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวรายการ การเปิดรับ และทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์(2555-11-21T04:55:24Z) ศนิษา รัตนจันทร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาถึงลักษณะการเปิดรับชมละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ของผู้ชม 2)ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ 3)เปรียบเทียบปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อลักษณะการเปิดรับชมและทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ ...รายการ การรับรู้ ความเข้าใจและทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ "โครงการคุณธรรมนำไทย"กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ ชุด "ผู้นำคุณธรรม"(2555-11-21T07:38:52Z) ดาราวรรณ ประพัฒน์การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีต่อสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ โครงการคุณธรรมนำไทย กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด ผู้นำคุณธรรม รวมทั้งศึกษาการเปรียบเทียบการรับรู้ ความเข้า และทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะรัฐศาสตร์และคณะนิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของ โครงการคุณธรรมนำไทย กรณีศึกษาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ชุด ผู้นำคุณธรรม ...รายการ ทัศนคติของวัยรุ่นต่อผลกระทบของนิตยสารบันเทิงประเภทปาปารัซซี่(2555-11-21T07:44:57Z) ธนัชชา โสมเกษตรินทร์การศึกษาเรื่อง “ทัศนคติของวัยรุ่นต่อผลกระทบของนิตยสารบันเทิงประเภทปาปารัซซี่” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติของวัยรุ่นต่อผลกระทบของนิตยสารบันเทิงประเภทปาปารัซซี่ และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับ กับทัศคติของวัยรุ่นต่อผลกระทบของนิตยสารบันเทิงประเภทปาปารัซซี่ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)จำนวน 20 คน เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 13-21 ปี ในเขตกรุงเทพฯ...รายการ การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์(2555-11-21T07:49:18Z) วิทวัช แซ่พุ่นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษา การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนกับการรับชมสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 3)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์...รายการ การเปรียบเทียบภาพลักษณ์จริงกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสำนักงานการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2555-11-21T07:53:44Z) สกิณา ปาทานการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบภาพลักษณ์จริงกับภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ ของสำนักงานการกีฬา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามความคิดเห็นของนักกีฬาทุนมหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาทุนของมหาวิทยาลัยศรีปทุม 169 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิดกำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ t-test…รายการ พฤติกรรมการรับฟังวิทยุ และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคมของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันในเขตกรุงเทพมหานคร(2555-11-21T08:02:16Z) สุกัญญา มากล้นในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม ของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน(3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการนำเสนอกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม ของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร...รายการ การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2561-05-20) สันติ ธนลาภอนันต์การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง "การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม" เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุม ศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเปิดรับ การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ(Sripatum University, 2563) นันทรัตน์ อรรถยากรงานวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ" นี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารแบรนด์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเพื่อนำเสนอรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จรายการ แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าผ่านเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(Sripatum University, 2563) อัจจิมา สำเภาเงินการวิจัยเรื่อง "แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าผ่านเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการศึกษาการสื่อสารข้อมูลเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจและแนวความคิดของกลุ่มผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีต่อรูปแบบและข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฯรายการ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่าน SOCIAL MEDIA ของละครหลังข่าวช่อง 7HD(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สิริลภัส กองตระการการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมละครที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี3) เพื่อศึกษาการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Media ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อละครหลังข่าวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับชมละครหลังข่าวของช่อง 7 เอชดี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้คนที่รับชมละครหลังข่าวช่อง 7HD ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) โดยใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description)รายการ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่างผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปาณิสรา ดิษฐคำเหมาะการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ จำกัด 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องมือช่างที่บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องมือช่างที่บริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด และ 3) ศึกษาสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่างของผู้บริโภคต่อบริษัท ชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าบริษัทชุมพลโลหะกิจ (8888) จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับประชากรกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (T-test independence) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ใกล้เคียงกับเพศชาย มีอายุ 25-30 ปี มีสถานภาพโสดใกล้เคียงกับสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี/เทียบเท่า มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-30,000 บาท ตามด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด (IMC) เพื่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่าง: โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) ด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ด้านการโฆษณา (Advertising) และ ด้านการตลาดทางตรง (Direct Marketing) ส่วนความคิดเห็นด้านสื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อเครื่องมือช่าง : โดยรวม อยู่ในระดับมากรายการ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) จารุวรรณ ว่าบ้านพลับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีสาวสวยที่สุดในประเทศไทยอันดับที่ 1-5 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจกแจงแบบที (t test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และ ชั้นปีที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ประเภทสื่อที่เปิดรับ ประเภทสื่อที่เปิดรับ วันที่เปิดรับ ช่วงเวลาที่เปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ และเคยมีการทำศัลยกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านหลักฐานทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ ทัศนคติและการใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สิทธิ์สกุล เสือเจริญการศึกษาวิจัยเรื่องทัศนคติและการใช้ประโยชน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาด้านประชากรศาสตร์ของผู้ชมรายการในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมของผู้ชมรายการในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand 3) เพื่อศึกษาทัศคติของผู้ชมรายการในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand และ 4) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการชมรายการของผู้ชมรายการในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการ Masterchef Thailand โดยการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีทั้งลักษณะปลายปิด และปลายเปิดกับกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือผู้ชมที่ชมรายการ Masterchef Thailand ในกรุงเทพมหานครรายการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อตัวละครในเกมบนโทรศัพท์มือถือ Rov ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2564) ทรงพล หอมพนาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา "ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเติมเงินซื้อตัวละครในเกมบนโทรศัพท์มือถือ RoV ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร" กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ เยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เล่นเกม RoVรายการ การพัฒนารูปแบบรายการข่าวต่างประเทศ ในยุคทีวีดิจิทัล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พรดนัย วัลยาภิรมย์วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบรายการข่าวต่างประเทศ ในยุคทีวีดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการวิจัยและเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใน 8 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวนเขตละ 50 ชุด โดยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56.0 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 44.00 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเปิดรับชมรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวต่างประเทศที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดความแตกต่างในทัศนคติต่อการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัล ส่วนลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ต่างกัน ได้รับประโยชน์จากการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพฤติกรรมการเปิดรับการรายงานข่าวต่างประเทศต่างกัน ได้รับประโยชน์จากการรายงานข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลแตกต่างกันและทัศนคติต่อรายงานข่าวต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรับชมข่าวต่างประเทศ ทัศนคติต่อรายงานข่าวต่างประเทศด้านความทันสมัยของรูปแบบรายการข่าวต่างประเทศในยุคทีวีดิจิทัลและด้านความแม่นยำของข่าวมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรับชมข่าวต่างประเทศ โดยมีระดับนัยสำคัญที่สังเกตได้ (P-value) ต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนด (P-value < 0.05)รายการ กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วาราดา จินดาอินทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายภายในองค์กรประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และภายนอกองค์กรประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการ และสื่อมวลชน