ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย ผู้เขียน "ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กล่อม-ไกว ภูมิปัญญาแม่สู่ลูก เพื่อนนำเสนอแนวความคิดการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับแม่และเด็กทารก(คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์; อานนท์ พรหมศิริGLOM-GWAI The wisdom to present the concept about using public space for mothers and baby. To pay attention in parents and baby behaviors that always change by time and place. By creating a space for serve activities like a feeding baby and mother habit and Including hygiene area beneath in design theory for everyone. Study from a research and related theories. Observations will focus in market group from mother who needs to feed her baby with breast milk for her first year or more. Then take the data to analyze, synthetic behavior including in demand of furniture and the right environment for motherhood and baby. To presenting the concept will be result in the ability to design areas in response to baby care activities.รายการ “การศึกษาหมอนขวานหัตถกรรมพื้นบ้านชาวอีสานสู่การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์”(ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2561-10-25) ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์ ได้แรงบันดาลใจมาจากหมอนขวาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน มีรูปทรงสามเหลี่ยมใช้สาหรับพิงด้านข้างหรือ ด้านหลัง แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ใช้หลักทฤษฎีการออกแบบและองค์ประกอบด้าน ประโยชน์ใช้สอย สู่กระบวนการวิเคราะห์หาอัตลักษณ์ทั้งด้านรูปธรรม และนามธรรม อีกทั้งยังใช้ เทคนิคการตัด และลดทอนรายละเอียด โดยยังคงรูปโครงสร้างหลักของสามเหลี่ยมด้านเท่าของหมอน ขวานเอาไว้ แต่ปรับให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น เพิ่มคุณสมบัติใช้งานโดยใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นโครงสร้าง หลักแทนไส้หมอน และเพิ่มช่องว่างด้านข้างเป็นพื้นที่เก็บของ ออกแบบเบาะรองนั่งแบบเดี่ยว ทาให้ สามารถถอดซักทาความสะอาดและประกอบกลับได้ โดยผู้ใช้งานสามารถสลับปรับเปลี่ยนได้ตามความ ต้องการ ตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่ที่จากัด การออกแบบนี้แสดง ถึงการพัฒนาต่อยอดแนวคิดจากภูมิปัญญา แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ด้านรูปแบบการใช้งานของหมอน ขวานรายการ "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและรูปแบบอาคารชุมชนวัดราชนัดดา สู่โครงการออกแบบ เฮียร์ โฮสเทล บางกอก"(คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563-09-15) ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ; ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์; อานนท์ พรหมศิริ; ปิยะ ไล้หลีกพาลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติด้วยแผนพัฒนาการท่องเที่ยว และการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีหลากหลายช่องทางดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความต้องการสัมผัสรูปแบบเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มายังเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม ประกอบกับการเดินทางที่ครอบคลุมพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวด้านธุรกิจโฮลเทลอย่างรวดเร็ว ตึกแถวเก่าสองชั้นในชุมชนวัดราชนัดดาจากบ้านพักอาศัยสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาปรับเป็นอาคารพานิชย์ และถูกแทนที่ด้วยธุรกิจโฮลเทล โครงการเฮียร์ โฮสเทล บางกอก เกิดจากความต้องการอนุรักษ์บรรยากาศเก่าเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มาเข้าพักกับบริบทชุมชน โดยคงวิถีชีวิตเดิมไว้ให้กลมกลืนไปกับบริบทของชุมชนโดยรอบ การออกแบบปรับปรุงอาคารใช้วิธีปรับโครงสร้างให้มีความแข็งแรงและเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเพื่อรองรับผู้ใช้บริการคงกรอบอาคารเดิมตกแต่งด้วยวัสดุและรูปแบบเฟอร์นิเจอร์เก่า สร้างจุดเด่นของด้วย “สไลด์เดอร์ยักษ์”รางส่งกระเป๋าชั้นสองสู่พื้นที่โถงต้อนรับเพื่อความสะดวกและสร้างภาพจำให้เกิดความประทับใจ บริเวณพื้นที่ว่างภายในที่ถูกปิดล้อมด้วยอาคาร จัดไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลางรองรับกิจกรรมสันทนาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ