สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู สารนิพนธ์ โดย ผู้เขียน "ปิยะ พิมพ์ซา"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสัญญาทางธุรกิจ(2551-06-25T02:36:15Z) ปิยะ พิมพ์ซากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้อย่างชัดเจนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรมจากการใช้สัญญา แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการทำสัญญาต่างๆยังไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง แม้กฎหมายดังกล่าวข้างต้นจะออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ให้บริการแต่ก็ยังมีข้อน่าคิดอยู่ว่ากฎหมายที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านสัญญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 นั้นได้ให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ กำหนดสิทธิของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น คือ “สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา” และกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญาทางธุรกิจไว้ในหลายเรื่องที่สำคัญได้แก่ในมาตรา 35 ทวิ ที่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณากำหนดและประกาศในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการบางประเภทที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจในธุรกิจที่ถูกควบคุมสัญญาตามประกาศนั้นจะต้องใช้ข้อสัญญาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด หรือตามแบบสัญญามาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นเท่านั้น การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศจะมีสภาพบังคับทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศดังกล่าวยังเกิดปัญหาอยู่หลายประการ ทำให้ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองด้านสัญญาอย่างจริงจังสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ยังมีปัญหาอยู่หลายประการในเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสัญญา ซึ่งในปัจจุบันนี้ประกาศต่างๆที่คณะกรรมการประกาศใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้กันอย่างจริงจัง อีกทั้งประกาศจำนวน 12 ฉบับ ที่คณะกรรมการประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้เขียนเห็นควรให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญาประกาศการควบคุมการทำสัญญาเพิ่มเติมอีกหลายประเภทซึ่งจะได้ว่ากล่าวกันต่อไป เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาให้ครอบคลุมทั่วถึงอย่างแท้จริง