สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู สารนิพนธ์ โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 43
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเสียสิทธิทางกฎหมายของบุคคลล้มละลายในธุรกิจ(2551-06-23T07:52:28Z) ธนเดช อังคะนาวินการศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคเอกชน เรื่องการเสียสิทธิของลูกจ้างในภาคเอกชนนั้นหากตกเป็นบุคคลล้มละลาย ก็ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับบุคคลเหล่านั้น เพราะบางบริษัทก็กำหนดเป็นคุณสมบัติไว้ บางบริษัทก็ไม่กำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน ดังนั้นเมื่อมีการเลิกจ้างจะถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายต่างๆ รวมถึงการต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไว้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีคำพิพากษากำหนดเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ จึงควรที่จะมีการกำหนดสิทธิของลูกจ้าง ไว้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นผลดีต่อทุกๆ ฝ่ายในอนาคตต่อไป การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคราชการ พบว่า สิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายซึ่งเป็นข้าราชการนี้ นอกจากจะต้องออกจากราชการแล้ว เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เบี้ย-หวัด หรือเงินอื่นๆ ก็จะต้องถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มารับเงินดังกล่าวไป เพื่อรวบรวมไปชำระแก่เจ้าหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายหลุดพ้นจากการล้มละลายโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริงแทบจะทำไม่ได้เลย เพราะข้าราชการผู้ล้มละลายนั้น ขาดทั้งสถานภาพทางสังคมและขาดทั้งรายได้จากการรับราชการเนื่องจากต้องออกจากราชการ จึงทำให้การหลุดพ้นจากการล้มละลายทำได้ยากยิ่งขึ้น การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคการเมือง ในทางการเมืองควรมีการเปิดกว้างในเรื่องคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และผู้แทนราษฎร โดยเปิดโอกาสให้บุคคลล้มละลายสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะผู้ที่จะตัดสินก็คือ ประชาชน ไม่ใช่ถูกจำกัดสิทธิ โดยข้อห้ามของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องการเสียสิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายในภาคราชการและการเมืองนั้นหากเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด ระดับใด ตำแหน่งอะไร ก็จะต้องถูกออกจากราชการโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2535 เช่นเดียวกับข้าราชการการเมือง ซึ่งหากเป็นบุคคลล้มละลายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นข้าราชการการเมืองโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดทั้งสิ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การศึกษาค้นคว้านี้ ได้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสาร ระเบียบต่างๆ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่ยังเห็นว่าไม่ควรมีการจำกัดสิทธิของบุคคลล้มละลายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เนื่องจากไม่มีระเบียบกฎหมายกำหนดห้ามไว้ จึงต้องกระทำตามระเบียบข้อกำหนดของกฎหมายเดิมไปก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เสนอแนวทางในการพิจารณาแก้ไข การเสียสิทธิของบุคคลล้มละลายในสังคมไทยไว้ทั้งในภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติ รวมทั้ง นักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาต่อไปรายการ ความรับผิดชอบในทางละเมิดกรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ถึงมาตรา 437(2551-08-26T03:46:09Z) ภูวนัย นันทเวชในองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิดกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นต้องมีลักษณะที่เป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ และการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น กฎหมายให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นธรรมเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคคลนั้น หรือเป็นการรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 ดังนั้นบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายจึงต้องรับผิชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าการที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น มิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เกิดจากเหตุอื่นที่เข้ามาแทรกแซงหรือเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นละเมิดอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย ถ้าจะให้บุคคลนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจจะไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้ได้ประสบเหตุนั้น ในกรณีของการกระทำความผิดในทางละเมิดของบุคคลอื่น แต่ให้บุคคลหนึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากบุคคลที่กระทำความผิดเป็นบุคคลที่ตนเองต้องรับผิดชอบในการดูแลหรือว่ามีหน้าที่ในการอบรมและรับผิดชอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เรียกว่าความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น ตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 และมาตรา 430 กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักประกันการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับผลของการกระทำละเมิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น จึงเป็นความรับผิดที่ไม่มีการกระทำความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด แต่เกิดจากข้อสันนิษฐานของความรับผิดทางกฎหมายที่ต้องการปกป้องผู้เสียหาย เนื่องจากกฎหมายถือว่าบุคคลที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแล การควบคุม การสั่งการหรือการใช้ความระมัดระวังไม่ดีพอ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ แต่ถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เกิดจากสาเหตุเหล่านั้น แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้บุคคลนั้นจักได้ใช้ในความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ได้แก่ เมื่อลูกจ้างได้กระทำละเมิดการจะนำเรื่องเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ ยกเว้นความรับผิดสามารถนำมาอ้างได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับความรับผิดทางละเมิดทั้งที่เป็นหลักทั่วไปหรือเป็นความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 และความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 มาตรา 429 และมาตรา 430 รวมทั้งความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 433 มาตรา 434 และมาตรา 436 ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ ไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าเหตุสุดวิสัยสามารถที่จะนำมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับคดี ดังนั้นการที่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้จึงเป็นการยืนยันได้ว่าเหตุสุดวิสัยใช้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้ทั้ง 3 ลักษณะของความผิด แม้จะไม่มีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิดไว้ ดังนั้นการพิจารณาที่เกิดจากความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเป็นต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนโดยต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งนักกฎหมายไทยมีความเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับเหตุสุวิสัย จากกรณีที่มีการนำเอาความหมายของเหตุสุวิสัยที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศมาใช้เพื่อการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่จำเลยจากความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยรายการ ความเป็นไปได้ในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยองค์กรทนายความ(2552-08-28T03:08:42Z) ธเนศ ทรงธนวงศ์การนำข้อพิพาททางธุรกิจขึ้นสู่ศาลทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันอีกด้วย หากจะมีวิธีแก้ปัญหาการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่าก็จะเกิดประโยชน์แก่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความเป็นไปได้ในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยองค์กรทนายความ” นี้ คือ ต้องการหาความเป็นไปได้ว่าทนายความสามารถมีส่วนร่วมในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการนำข้อพิพาทสู่ศาลหรือไม่ วิธีการศึกษาเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ทนายความ ศาล และบุคคลที่กำลังอยู่ระหว่างการพิพาททางธุรกิจ เพื่อทราบว่าเห็นด้วยกับวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยองค์กรทนายความหรือไม่ และภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง จากการทำการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบว่า ทนายความส่วนมากเต็มใจเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทโดยทางเลือกใหม่นี้ ถ้าหากเขามีรายได้คุ้มกับการเข้าไปมีส่วนร่วมนี้ ศาลทุกท่านเห็นด้วยกับวิธีทางเลือกนี้ เพราะว่าเป็นการลดภาระคดีจากศาล แต่ความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีกฎหมายบังคับให้คู่กรณีปฏิบัติตามข้อตกลง ผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิพาทพร้อมที่จะใช้บริการนี้ หากเขาเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับการนำข้อพิพาทสู่ศาลและมีวิธีการบังคับให้คู่พิพาทปฏิบัติตามข้อตกลงได้จริง ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบว่า มีความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ที่จะมีองค์กรทนายความทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางธุรกิจรายการ บทบาทและหน้าที่ของทนายความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม(2551-02-13T03:06:38Z) กำพล มั่นใจอารยะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ได้อนุญาตให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่มากระทำละเมิดหรือผิดสัญญากับผู้เสียหายที่มีเป็นจำนวนมาก และถูกฟ้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มซึ่งเป็นระบบการดำเนินคดีแบบใหม่และยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างคดีแพ่งสามัญ ปัจจุบันมีการร่างกฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อออกใช้บังคับทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยุติธรรมให้กับประชาชน เนื่องจากการดำเนินคดีแบบกลุ่มสามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ในการดำเนินคดีเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการที่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายประเภทที่ไม่มีความสามารถฟ้องคดีเพื่อเยียวยาความเสียหายด้วยตนเอง ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทอำนาจและหน้าที่ทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่มีอยู่เดิมมาเป็นระบบดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มให้มีศักยภาพความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทนายความส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่าไร เพราะเป็นร่างกฎหมายใหม่ซึ่งไม่ได้นำออกมาใช้เหมือนกับคดีแพ่งสามัญทั่วไป บทบาทและหน้าที่ของทนายความที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นการร่างคำ-ฟ้อง คำร้อง ตลอดจนรวบรวมประมวลหลักฐานการค้นหาข้อเท็จจริงการดำเนินคดี กระบวนพิจารณา ตลอดจนการบังคับคดีจะมีความยุ่งยากสับสนซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ตัวความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจอย่างท่องแท้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สภาทนายความควรให้มีการศึกษา อบรม สนับสนุนให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่มออกมาใช้เป็นกฎหมายในอนาคตรายการ ปัญหากฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : ศึกษาเฉพาะกรณีการชำระหนี้เป็นตัวเงิน(2551-07-04T03:47:28Z) ปณต คำนึงการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ได้มีการพัฒนาก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Network) ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ในปัจจุบันจึงมีการทำธุรกิจการค้าขายสินค้าและบริการด้านต่างๆ ผ่านบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากรูปแบบการค้าขายสินค้าและบริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือการทำธุรกรรมใดๆ ผ่านระบบเครือข่ายดังกล่าวเป็นรูปแบบทางการค้ารูปแบบใหม่ จึงก่อให้เกิดสัญญารูปแบบใหม่ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “สัญญาทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce Contracts)” ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีความแตกต่างจากสัญญาที่บัญญัติไว้ตามหลักทั่วไป เนื่องด้วยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งความเจริญก้าวหน้าดังกล่าวยังถือว่าเป็นการพัฒนาการทางการค้าในรูปแบบใหม่โดยดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ในธุรกิจผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรียกว่า เรียกกันทั่วไปว่าอีคอมเมิร์ช (E-commerce) ซึ่งมีรูปแบบในการดำเนินการในระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มตั้งแต่การเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการในธุรกิจของตน (Electronics Showcase) การใช้เครือข่ายเพื่อสั่งจองสินค้า (Electronics Ordering) จากการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะเอื้อประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสารและการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ แล้ว ยังส่งผลต่อธุรกรรมทางการเงิน (Financial Transactions) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในการพัฒนาในวงการด้านการเงินดังกล่าวก็ยังส่งผลให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ทางกฎหมายตามมาอีกมากมาย ซึ่งมีผลกระทบถึงผลประโยชน์ในด้านส่วนตัว และส่วนรวมของประเทศ อีกทั้ง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดภาระหน้าที่ระหว่างซึ่งกันและกันในการที่จะชำระหนี้ ในทางการค้าขายสินค้าและบริการ ซึ่งภาระหน้าที่ในทางการค้าขายสินค้าและบริการที่เป็นปัญหาทางด้านกฎหมายและเป็นประเด็นที่จะต้องมีการศึกษามากที่สุด คือ ประเด็นเรื่องการชำระหนี้เป็นตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการชำระเงินค่าสินค้า หรือ การส่งมอบสินค้าและบริการ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบทั้งสิ้น จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงปัญหาด้านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนหามาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อนำมาปรับ บังคับใช้ให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการติดต่อค้าขายสินค้าและบริการ ตลอดจนวิธีการชำระหนี้ในรูปแบบใหม่ๆ ภายใต้มาตรการการคุ้มครองทางกฎหมายที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในปัจจุบันด้วยเช่นกันรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต(2551-02-16T08:55:58Z) โชฎึก, โชติกำจรการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามารับผิดชอบในการควบคุมดูแลอย่างชัดเจน เป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้สามารถดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตได้อย่างเสรี ซึ่งการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นการประกอบธุรกิจในด้านสินเชื่อที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อสังคมของประเทศ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิต รวมทั้งกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่พบว่ายังไม่มีสภาพบังคับทำให้ผู้ประกอบธุรกิจทางด้านบัตรเครดิตบางราย ไม่ปฏิบัติตาม ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หากไม่มีกฎหมายหรือ องค์กรเฉพาะขึ้นมาควบคุมให้เป็นไปในแนวทางหรือบรรทัดฐานเดียวกันหรือให้มีมาตรฐานเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้และการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 1. ปัญหาอันเกิดจากการการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตที่ขาดมาตรการควบคุม 2. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกผลตอบแทนสูงเกินสมควร และการคิดดอกเบี้ยค้างชำระ เบี้ยปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีความซ้ำซ้อน ในสัญญาบัตรเครดิต 3. ปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน กับช่องทางหลีกเลี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตต่อการคุ้มครองผู้บริโภคบัตรเครดิต 4. ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของสัญญาบัตรเครดิตและการนำหลักกฎหมายมาปรับและบังคับใช้กับสัญญาบัตรเครดิตยังไม่มีความชัดเจนแน่นอน 5. ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่อการให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิต 6. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่ขาดการควบคุม จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวพบว่ามาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมและยังไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิตซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ผู้เขียนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมาบังคับใช้กับบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โดยมีเนื้อหาสาระทั้งหมดอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันที่มีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรเครดิต จึงต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตให้ชัดเจน โดยให้มีกฎหมายรองรับถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว โดยให้มีอำนาจควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ โดยให้อยู่ภายใต้อำนาจและกฎหมายเดียวกัน 2. ต้องบัญญัติกฎหมายเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตขึ้นมาเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อมาควบคุมและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งนี้โดยอาจเป็นการบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตราขึ้นมาใหม่เป็นพระราชบัญญัติบัตรเครดิต เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้ 2.1 ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องรูปแบบของข้อตกลงการใช้บัตรเครดิตที่ต้องมีมาตรฐานและเป็นธรรม บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลา การฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัตรเครดิต 2.2 บัญญัติถึงข้อกำหนดในเรื่องการคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม ตามความเป็นจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม โดยสมควรต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ เมื่อรวมคำนวณแล้วต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดซึ่งจำนวนเท่าใดนั้นให้ถือปฏิบัติเป็นอัตราเดียวกัน อันจะทำให้ผู้ออกบัตรไม่สามารถแสวงหาประโยชน์จากผู้ถือบัตรได้อีกต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและการชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของสัญญาประกอบการท่าเทียบเรือ ศึกษากรณีท่าเรือแหลมฉบัง(2551-02-16T09:03:20Z) ฆสวัฒน์, พึ่งประชาการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าประมูลเพื่อบริหารและประกอบกิจการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือบี 1-บี 4 เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าและการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารสำนักงานที่เทียบเรือลานวางตู้สินค้า ฯลฯ แล้วเห็นได้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจการร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยที่ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะตอบแทนให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการของท่าบี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับท่าเรือคือท่าเทียบเรือ ตามมาตรา 6(3) และมาตรา 9(11) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 อันเป็นกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และให้ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคาร และที่ดินที่ให้เช่า” บทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่า การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาบริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้นเอง และการท่าเรือแห่งประเทศไทยสมควรที่จะต้องได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะไม่ได้บัญญัติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยตรงเหมือนเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติยกเว้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาโดยกรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 2 เคยมีความเห็นที่ 80/2536 ในประเด็นตามที่กรุงเทพมหานครหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปได้ว่า คำว่า “กฎหมายอื่น” ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีความหมายรวมถึงพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ด้วย ดังนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเอง ก็สมควรที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สินดังกล่าว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนนั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งเงินทุน การระดมเงินลงทุน หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ที่มีความก้าวหน้ากว่าภาครัฐ ดังนั้น ในกิจการของรัฐหรือการดำเนินกิจการของรัฐบางอย่างจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุนหรือเข้ามาร่วมประกอบกิจการที่เป็นของรัฐ และส่งผลในการกระตุ้นให้นักธุรกิจเอกชนไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจในชาติหรือนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการประกอบการท่าเทียบเรือหรือกิจการอื่นๆ อันจะส่งผลให้ประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(2553-05-16T08:25:09Z) พัลลภ นาคทรัพย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเกิดการบังคับใช้ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เช่น การจำหน่ายโดยคิดอัตราค่าเสื่อมสภาพร้อยละ 20 จากราคาซื้อหรือได้มาครั้งแรกเป็นราคาประเมิน ขั้นต่ำในการขายทอดตลาดเพราะปัจจุบันราคาพัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในราชการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติได้ปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจจึงต้องมีการกำหนดคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นใหม่ ปัญหาการสืบราคาจากผู้ประกอบอาชีพซื้อขายจริงระเบียบกำหนดให้เพียง 3 รายรวมถึงการเช่า อสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) เพื่อใช้เป็นที่เก็บสิ่งของหลวงเพื่อความปลอดภัยของพัสดุเนื่องจากสถานที่ เก็บคับแคบไม่เพียงพอและปัญหาการอนุมัติว่าจะใช้ตำแหน่งใดเป็นผู้อนุมัติเพราะกฎหมายไม่ได้ ระบุตำแหน่งใดไว้เป็นการโดยเฉพาะตลอดจนการประกาศเผยแพร่ในการปิดประกาศการประมูล ขายทอดตลาดที่จำกัดเฉพาะในวงแคบเพียงสถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาดและปัญหาสุดท้ายสิ่ง ที่จำเป็นที่สุดคือบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเองในการใช้อำนาจไปในทางที่ มิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้มีการเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้องตนเองมีการล็อคสเป็คในการ จำหน่ายพัสดุ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายอย่างละเอียดพบว่า ควรแก้ไขปรับปรุง ระเบียบเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีการคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเสียใหม่เป็นร้อยละ 30 จากราคาที่ซื้อหรือได้มาครั้งแรกตามภาวะเศรษฐกิจเพื่อให้การจำหน่ายพัสดุรวดเร็วยิ่งขึ้นราคาไม่แพงเกินไปและ ให้กำหนดผู้สืบราคาประเมินพวกที่มีอาชีพซื้อขายอย่างน้อย 6 รายขึ้นไปจะทำให้มีการจำหน่ายที่ สะดวกขึ้น ตามด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) ถ้าระบบจำหน่ายที่รวดเร็วถูกต้องตามระเบียบ แล้วการเช่าสถานที่ก็จะใช้พื้นที่เก็บสิ่งของหลวงน้อยลงค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงน้อยลงด้วยจากเดือนละ 20,000 บาท กำหนดให้เหลือ 10,000 บาท ทำให้ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการเช่าดังกล่าว การจำหน่ายพัสดุในหน่วยงานของรัฐมีการกำหนดวงเงินของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจ ไว้หลายตำแหน่งวงเงินสมควรที่จะกำหนดเพียงตำแหน่งเดียวคือ ผู้บังคับการซึ่งเป็นหัวหน้าส่วน ราชการเป็นผู้สั่งให้มีการจำหน่ายเพียงตำแหน่งเดียวเพื่อให้พัสดุที่มีราคาสูงมากๆ ได้จำหน่ายไปใน คราวเดียวกันตามวงเงินที่ได้คือไม่เกิน 1,000,000 บาท และการประกาศเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัสดุที่จะขายทอดตลาดควรกำหนดให้มีมากกว่าหนึ่งสถานที่ อาจรวมถึงลงเว็บไซด์เพื่อให้มี ผู้สนใจมาสู้ราคามากขึ้นเกิดผลดีต่อหน่วยราชการทำให้มีการขายทอดตลาดได้คล่องตัวมากขึ้น ปัญหาสุดท้ายที่พบและสำคัญที่สุดที่ต้องมีบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เพื่อ มิให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเกี่ยวกับพัสดุใช้อำนาจไปทางที่มิชอบไม่เป็นธรรมและโปร่งใสในการ จำหน่ายพัสดุที่ต้องวางตัวเป็นกลางไม่เห็นแก่สินบนผลประโยชน์สิ่งอื่นใดรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว(2552-08-28T03:49:45Z) กำหนด โสภณวสุจากการศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ทำให้ทราบว่า คนไทยทำการสมรสกับคนต่างด้าวได้ มีผลสมบูรณ์ โดยกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเช่นเดียวกับคนไทยสมรสกับคนไทย ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินสมรสหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีบทบัญญัติจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินในประเทศไทย และยังมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิบางประการของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวในการขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือถือที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ก็จะไม่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของคนไทย ทำบันทึกยืนยันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สินสมรส จึงจะรับจดทะเบียนให้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สัมพันธ์กับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทั้งยังเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาวางหลักกฎหมายไว้ว่า “ที่ดินและทรัพย์สินซึ่งได้มาในระหว่างสมรส ย่อมเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีส่วนอยู่ด้วยคนละครึ่ง และคนต่างด้าวซึ่งเป็นสามีหรือภริยาอาจขอให้แบ่งที่ดินนั้นให้แก่ตนครึ่งหนึ่งได้” ในการศึกษาสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐาน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยมุ่งประเด็นว่า คนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการขอให้ได้มาซึ่งการถือครองที่ดิน ตลอดจนเมื่อได้ถือครองที่ดินแล้ว คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรบ้าง เมื่อทราบปัญหาและอุปสรรคแล้ว จึงนำหลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลฎีกาและหลักนิติธรรมมาเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ทั้งนี้จะเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และในขณะเดียวกันจะช่วยอำนวยความยุติธรรมด้วย โดยนัยดังกล่าว พอสรุปแนวทางได้ว่า เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในประมวลกฎหมายที่ดิน ในกรณีการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ควรเชื่อได้ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดจะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว โดยกำหนดนิยามศัพท์และบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน ให้อยู่ในกรอบที่ชัดเจนสอดคล้องกับหลักแห่งความเสมอภาค และความทัดเทียมของบุคคลภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้ริดรอนสิทธิและเสรีภาพของคนไทยในการถือครองที่ดิน รวมตลอดถึงควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว ให้มีบทบัญญัติครอบคลุมชัดเจนตามระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ(2551-06-25T03:23:45Z) พรชนะ อุ่นเจริญการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของบุคคลวิกลจริตที่เกิดจากโรคในทางจิตเวช ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถและของผู้อนุบาล รวมถึงการบอกล้างหรือให้สัตยาบันในนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถทำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจในการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนไร้ความสามารถประกอบธุรกิจก่อนเป็นคนไร้ความสามารถหรือหลังจากที่เป็นคนไร้ความสามารถ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อนุบาลที่ดูแลธุรกิจของคนไร้ความสามารถไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจแทน คนไร้ความสามารถของผู้อนุบาล ซึ่งปัญหาต่างดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้คนไร้ความสามารถได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน(2551-06-25T03:33:09Z) อัจฉริยะ เพชรอาภาการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน มีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นบุคคล ที่จิตฟั่นเฟือนไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของโรคในทางจิตเวชที่มีผลต่อการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่เรียกว่าวิกลจริตหรือแค่จิตฟั่นเฟือน ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนประเภทของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของบุคคลที่ “จิตฟั่นเฟือน” ปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่คอยดูแลบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนในการประกอบธุรกิจ ปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขุดดินถมดิน บ่อดิน(2555-10-11T07:39:07Z) ไชยดิษฐ์ ปัญญาเหมือนสกุลในการค้นคว้าครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ขุดดินหรือทำบ่อดิน และการถมดิน ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ายังมี หลักเกณฑ์และข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม และบทบัญญัติของกฎหมายซ้ำซ้อนกับบทกฎหมาย อื่น เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และข้อบัญญัติท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้เป็นอุปสรรคในการ ธุรกิจดังกล่าว จึงเห็นควรศึกษาและนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อขจัดปัญหาให้หมดไปดังนี้ 1. ปรับปรุง บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ที่เป็นอุปสรรค ในการประกอบกิจการหรือธุรกิจการขุดดินหรือทำบ่อดิน ถมดิน ที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับบทกฎหมาย อื่น เพื่อรวมและบังคับใช้ตามพระราชบัญญัตินี้ 2. แก้ไข หลักเกณฑ์ที่เป็นปัญหา อุปสรรค เพื่อลดขั้นตอน และเพื่อความสะดวกในการขอ การลงทุนประกอบกิจการหรือธุรกิจ การขุดดินหรือทำบ่อดิน และถมดิน เพื่อให้เอื้อต่อการส่งเสริม การลงทุนของภาคเอกชน ตามนโยบายของรัฐบาล 3. ปรับปรุงเพิ่มเติม มาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจหรือ การประกอบกิจการ ขุดดินหรือบ่อดิน และถมดิน ให้รัดกุม ไม่ก่อผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน 4. จำกัดอำนาจการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเพิ่มบทบาทอำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ และเพิ่มมาตรการบทกำหนดโทษบางประการเพื่อ ให้สามารถบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ให้ได้ผลดีอย่างขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอบสวน: ศึกษากรณีที่ผู้เสียหาย และหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก(2552-08-28T07:56:57Z) ชุติวัฒน์ ทนทานด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีกรณีที่เด็กตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดทางเพศ หรือการถูกทำร้ายในด้านต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของเด็กอย่างรุนแรง สารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี สิทธิมนุษยชนตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 26 พ.ศ.2550 และปัญหาที่มีผลกระทบจากการสอบสวนเด็กในคดีอาญา ซึ่งได้นำเอาแนวความคิดจากการสอบสวนเด็กในต่างประเทศมากำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยมีการกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน และรวมถึงวิธีการให้มีลักษณะแตกต่างจากวิธีการสอบสวน การฟ้องร้องและการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป จากการศึกษา พบว่าวิธีการสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น มีการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากความไม่พร้อมในด้านบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ และวิธีการทำงานตลอดจนรูปแบบองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างเหมาะสม จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลตามเจตนารมณ์อย่างชัดเจน จึงเห็นควรจัดให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติร่วมกันอย่างชัดเจน มีระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหายและพยานที่เป็นเด็ก และหน่วยงานพิเศษในแต่ละองค์กร มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายในการกำกับดูแลด้านการเงินการคลังของเทศบาล(2551-02-12T15:59:21Z) จตุพร บุญชอบประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ถือกำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เทศบาลได้รับการกระจายอำนาจทางปกครองให้สามารถบริหารกิจการและปกครองตัวเองได้ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,134 แห่ง เทศบาลทั้งสามรูปแบบกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ภูมิภาคของประเทศไทย ในการบริหารและการปกครองตนเองของเทศบาล ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาลจะบริหารกิจการของตน ภายใต้การกำกับดูแลของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามกฎหมาย ในด้านการบริหารงานการเงินการคลังของเทศบาลในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยสามารถออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อวางแนวทางการจัดการด้านการเงินการคลัง การงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้ ดังนั้นในการบริหารงานด้านการเงินการคลังของเทศบาลจึงต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ คือ 1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 และ 3) พ.ศ.2543 2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ระเบียบทั้งสามฉบับ มีลักษณะเป็นการควบคุมดูแลเทศบาล โดยกำหนดให้เทศบาลทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการตั้งงบประมาณ วิธีการบริหารพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่าย การเก็บรักษาเงิน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วศักยภาพของเทศบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากจึงก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ราชการส่วนกลางมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับ ควรจะได้มีการปรับปรุงให้อิสระแก่เทศบาลในการใช้ดุลยพินิจในการกำหนดแนวทางการบริหารองค์กรของตนเองมากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2540 และให้สอดคล้องกับขนาดของเทศบาล อันจะทำให้เทศบาลมีความคล่องตัวในการบริหารงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดได้ดียิ่งขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายในการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า(2552-08-28T03:59:27Z) เอกวิทย์ สารการแม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเมื่อมีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาทางกฎหมายหลายประเด็นด้วยกันสืบเนื่องมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกันและมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมาย จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาที่พบได้ ดังนี้ 1. ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าระหว่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 กับประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องของความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 2. ปัญหาเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษทางอาญา เกี่ยวกับความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งในและนอกราชอาณาจักร 3. ปัญหาจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาซึ่งให้เหตุผลในคำพิพากษาแตกต่างกับเหตุผลของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเนื่องมาจากการนำมาตรการทางอาญามาบังใช้ในความรับผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของบทบัญญัติตามกฎหมายและเพื่อให้การบังคับใช้ของกฎหมายมีความชัดเจนและมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ควรยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273-275 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนการบังคับใช้ของกฎหมายและการลงโทษทางอาญา เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนภายในราชอาณาจักร และจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางเดียวกันกับต่างประเทศ 2. บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 มาตรา 108-109 กรณีเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากควรเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “การปลอมเครื่องหมายการค้า” และ “การเลียนเครื่องหมายการค้า” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความสับสนเมื่อเกิดกรณีความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า หรือหากไม่มีการเพิ่มเติมความหมายก็ควรพิจารณารวมบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 108-109 ไว้ด้วยกัน เพื่อขจัดปัญหาความสับสนระหว่างความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 3. หน่วยงานภาครัฐควรมีการพิจารณาประเด็นปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายอย่างจริงจัง ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสภาพการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อไป 4. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ควรยกเลิกความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด แล้วแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายและเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าโดย การกำหนดโทษทางอาญาให้ผู้กระทำความผิดที่มีสถานะของการกระทำความผิดมีความร้ายแรงไม่เท่ากันได้รับโทษต่างกันรายการ ปัญหาการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ในประเทศไทย(2551-02-12T16:32:43Z) นิรุธ ตันวิมลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปบแบวิธีพิจารณาความที่เหมาะสมและสอดคล้องกับประเพณีและแนวทางปฏิบัติทางการค้าพาณิชย์ โดยมุ่งที่จะให้ประเทศไทยมีการจัดระบบวิธีพิจาณาคดีพาณิชย์แยกต่างหากจากระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปอย่างชัดเจน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวล (Civil Law System) โดยมิได้มีการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์และหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งและหลักวิธีพิจารณาคดีแพ่งแต่อย่างใด ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาปรัชญาหรือหลักคิดในทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้นได้ และมักจะต้องนำปรัชญาแลหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายแพ่งทั่วไปมาบังคับใช้กับนิติสัมพันธ์ทางการค้าพาณิชย์ ทำให้การตัดสินชี้ขาดคดีพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในระบบกฎหมายแพ่งในบางกรณีก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ขัดแย้งกับกับกรอบความคิดของการระงับข้อพิพาททางการค้าพาณิชย์ ซึ่งต้องการความสะดวก รวดเร็ว และต้องมีการตัดสินชี้ขาดโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีปฏิบัติและหลักการที่มีใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าพาณิชย์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ถูกมองข้ามไป และเป็นการมองข้ามมาตั้งแต่เริ่มการจัดทำประมวลกฎหมายในประเทศไทย อันเป็นการขัดแย้งต่อสำนึกในความยุติธรรมของคนในวงการค้าพาณิชย์อย่างรุนแรง จนทำให้ระบบกฎหมายและระบบศาลของไทยไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากคู่ค้าชาวต่างประเทศเท่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อเนื่องให้สัญญาทางการค้าระหว่างพ่อค้าไทยและต่างประเทศมักถูกเรียกร้องให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายต่างประเทศที่ใช้อนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และต้องไปฟ้องร้องดำเนินคดีกันในศาลต่างประเทศ ทำให้พ่อค้าไทยต้องเสียเปรียบ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็น อย่างยิ่ง ดังนั้นการปรับปรุงระบบกฎหมายพาณิชย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและจำเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การส่งเสริมกิจการค้าพาณิชย์ของไทย ทั้งจะช่วยเพิ่มพูนความยอมรับนับถือในระบบกฎหมายและการศาลของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการดำเนินการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งในประเทศไทยนั้น อาจมีได้ในหลายแนวทางด้วยกัน ซึ่งปัญหาสำคัญมิใช่อยู่ที่ว่าควรแยกประมวลกฎหมายพาณิชย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญก็คือกฎหมายพาณิชย์จะต้องช่วยส่งเสริมกิจการค้าให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และต้องสามารถคุ้มครองผู้ประกอบการค้าที่สุจริตไอ้อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการศึกษาความเป็นไปได้ ในขั้นตอนแรกของการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์นั้น เราควรที่จะต้องมีการพัฒนาหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกต่างหากจากกระบวนวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปเสียก่อน โดยให้มีระบบศาลชำนาญพิเศษแยกต่างหาก สำหรับพิจาณาพิพากคดดีพาณิชย์ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้น โดยการพัฒนาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นศาลทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าพาณิชย์มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไม่อาจที่จะแยกกันเด็ดขาดได้ โดยการพิจารณาคดีต้องคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมเป็นสำคัญ โดยได้กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบที่มีความรู้ความเข้าใจในทางการค้าพาณิชย์เข้าตัดสินคดีความร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพภายในกรอบเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีที่แน่นอน และหากมีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการจัดวางระบบและกฎเกณฑ์กติกาในคดีพาณิชย์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพ ลักษณะและความต้องการของกิจการค้าพาณิชย์ อันจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกิจการค้าพาณิชย์ของประเทศให้อยู่ในมาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งรายการ ปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี(2552-08-28T03:39:38Z) ทัยเลิศ ลือปือสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี เนื่องจากธุรกิจการค้าประเวณีซึ่งมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพการด้อยการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกระจายรายได้สู่ประชาชน สู่ชนบทเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการชะลอตัว และปัญหาที่ตามมาคือปัญหาความยากจนของคนในประเทศ จนถูกมองว่าเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเกิดกลุ่มผู้แสวงหาประโยชน์การค้าประเวณี จึงกลายเป็นแหล่งธุรกิจตลาดสินค้าอุตสาหกรรมบริการ หรือช่องทางสร้างรายได้ที่ลงทุนต่ำได้กำไรสูง ก่อให้เกิดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาในการหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการค้า การใช้บริการ หรือการแสวงหากำไรจากธุรกิจการค้าประเวณี ก็ยังไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีจะเป็นผลสำเร็จได้ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมาย ที่ชัดเจน จากการศึกษากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันนั้น ใช้แนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีตามแนวคิดแบบปรามการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่า มีการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และในทางกลับกันกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการลักลอบเปิดสถานค้าประเวณีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้น ดังนั้นปัญหาทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้าประเวณี จึงไม่ใช่การที่ ประเทศไทยขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับปัญหาที่มีอยู่ เป็นแต่เพียงว่ากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบัน ที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันไม่ได้ผลเท่าที่ควรรายการ ปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี(2551-02-16T08:10:39Z) ทัยเลิศ, ลือปือสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมาย มาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี เนื่องจากธุรกิจการค้าประเวณีซึ่งมีการเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพการด้อยการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม รวมถึง การกระจายรายได้สู่ประชาชนสู่ชนบทเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศ เกิดการชะลอตัว และปัญหาที่ตามมาคือปัญหาความยากจนของคนในประเทศ จนถูกมองว่า เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเกิดกลุ่มผู้แสวงหาประโยชน์ การค้าประเวณี จึงกลายเป็นแหล่งธุรกิจตลาดสินค้าอุตสาหกรรมบริการหรือช่องทางสร้างรายได้ ที่ลงทุนต่ำได้กำไรสูง ก่อให้เกิดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการค้า การใช้บริการหรือการแสวงหากำไรจากธุรกิจการค้าประเวณีก็ยังไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีจะเป็นผลสำเร็จได้ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยมาตรการ ทางกฎหมายที่ชัดเจน จากการศึกษากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันนั้น ใช้แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีตามแนวคิดแบบปรามการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่ามีการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และในทางกลับกันกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลักลอบเปิดสถานค้าประเวณีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้น ดังนั้นปัญหาทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้าประเวณีจึงไม่ใช่ การที่ประเทศไทยขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับปัญหาที่มีอยู่ เป็นแต่เพียงว่ากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงเห็นว่าแนวทางที่จะแก้ไขป้องกันการค้าประเวณีจะต้องมีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กันไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของปัญหา การแก้ไขปรับปรุงระเบียบและกฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเพียงปลายเหตุ ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีจะไม่อาจบรรลุความสำเร็จได้เลย ถ้าพิจารณาเฉพาะมาตรการกฎหมายซึ่งยังมีความบกพร่องทั้งตัวบทกฎหมายและทางปฏิบัติเพียงอย่างเดียว การแก้ปัญหาย่อมไม่ประสบความสำเร็จเพราะโดยความเป็นจริงกฎหมายเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่ประกอบกันเข้าเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศในอนาคตรายการ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเงิดทดแทน: ศึกษากรณีการจ่ายเงินทดแทนให้แก้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน(2552-08-28T02:55:34Z) อนันตญา เนียมคล้าย อนันตญา เนียมคล้ายสารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ฉบับปัจจุบัน ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่อง จากการทำงาน ในบทบัญญัติมาตราที่ 18 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีสูญเสียอวัยวะ กรณีทุพพลภาพ กรณีตายหรือสูญหาย ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับ ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นหลัก เกณฑ์ที่มีการจ่ายเงินทดแทนในอัตราที่น้อยเกินไปจากการศึกษาการจ่ายเงินของต่างประเทศ เช่นประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ พบว่าต่างประเทศจะมีวิธีการคำนวณการจ่ายเงินทดแทนแยกเป็นประเภทออกไป เช่น กรณีทุพพลภาพจะคำนวณการจากความ สำคัญของอวัยวะ กรณีตายจะคำนวณจากอายุของลูกจ้างที่จะสามารถทำรายได้ต่อไป เป็นต้น แต่ในประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินทดแทนไว้ทุกกรณีในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเท่านั้น กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องรับภาระทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างโดยตรงที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน โดยจ่ายทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทน จึงเห็นว่าพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมาพิจารณาปรับปรุงแก้ ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนตามความเหมาะสมกับการที่ลูกจ้างได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ให้กับงานของนายจ้างได้บรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งนี้การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานนั้น จะไม่ส่งผลกระทบแก่นายจ้างแต่อย่างใดในการที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าสถานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนได้นำเงินไปลงทุนเป็นการสร้างรายได้ เพื่อให้กองทุนมีความมั่นคงและสามารถดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประ-กันตนได้มากขึ้น และผลจากการนำเงินไปลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนเป็นผลกำไร จากการลงทุนมากขึ้นทุกปี โดยคำนวณหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ทำให้กอง ทุนมีความมั่นคงมากขึ้นและสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้ปรับค่าทำศพจาก 30,000 บาท เป็น 40,000 บาท ปรับเพิ่มอัตราค่า บริการทางการแพทย์ และปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญเพื่อให้ผู้ประกัน ตนได้รับเงินบำนาญมากขึ้นเมื่อเกษียณ อายุ และสำนักงานประกันสังคมจะทยอยปรับเพิ่มสิทธิประ- โยชน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นก็เพราะสำนักงานประกัน สังคมได้ดอกผลจากการลงทุนมากขึ้น ทำให้สามารถ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องจัดเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตน ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไข พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 ในกรณี ลูกจ้างเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จากเดิมในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นอัตราร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน และค่าทดแทนการเสียเวลาการทำงาน จากเดิมจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน เป็นการจ่ายค่าทดแทนตั้งแต่วันแรกที่ลูก- จ้างไม่สามารถทำงานได้ และการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากเดิมจ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 35,000 บาท เป็นเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 45,000 บาท และกรณีตายจากเดิมจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนแต่ไม่เกิน 8 ปี เป็นไม่เกิน 12 ปี ฉะนั้นเหตุผลที่มีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนนี้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ของผู้ประกันตนที่มีความเสี่ยงการประสบอันตรายในหน้าที่การงาน และให้สอดคล้องกับสถานการปัจจุบันและในอนาคตรายการ ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 : ศึกษากรณีมติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(2551-06-25T02:24:06Z) จิรยุ ทองทวนในการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งข้นทางการค้า พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างของตลาดสินค้าและบริการในประเทศไทย หลักการพื้นฐานทางกฎหมายและทางเศรษฐศาสตร์ในการควบคุมกำกับผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ตลอดจนปัญหาในการบังคับใช้โดยเปรียบเทียบกับการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป ประเทศญี่ปุ่น โดยจากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติการแข่งข้นทางการค้า พ.ศ. 2542 มีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้ากำหนดให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าต้องกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งตลาดและยอดขายของผู้มีอำนาจเหนือตลาดสำหรับในแต่ละภาคธุรกิจ ซึ่งปรากฏว่าแม้ว่าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ปรากฎว่ายังมิได้ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงยังไม่สามารถใช้บังคับได้ และทำให้มาตรการในการควบคุมพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดบังคับมิได้ 2. ปัญหาด้านองค์กรบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ได้พยายามหลีกเลี่ยงปกป้องมิให้มีการแทรกแซงทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเพิ่งจะเริ่มปฏิบัติงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีปัญหาในแง่ของการคัดเลือกคณะกรรมการที่ยังขาดการคัดเลือกโดยระบบที่โปร่งใสและขาดความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองซึ่งมักจะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจอยู่ด้วย ดังจะเห็นจากการที่กำหนดให้มติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจะต้องรับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. กำหนดให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ถูกควบคุมโดยฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย 2. ส่งเสริมให้เอกชนสามารถฟ้องคดีการแข่งขันทางการค้าต่อศาล 3. ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าในการดำเนินงานตามกฎหมายได้แก่ การเตือน การให้คำแนะนำ
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »