สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู สารนิพนธ์ โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 43
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายในการกำกับดูแลด้านการเงินการคลังของเทศบาล(2551-02-12T15:59:21Z) จตุพร บุญชอบประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ถือกำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เทศบาลได้รับการกระจายอำนาจทางปกครองให้สามารถบริหารกิจการและปกครองตัวเองได้ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,134 แห่ง เทศบาลทั้งสามรูปแบบกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ภูมิภาคของประเทศไทย ในการบริหารและการปกครองตนเองของเทศบาล ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาลจะบริหารกิจการของตน ภายใต้การกำกับดูแลของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามกฎหมาย ในด้านการบริหารงานการเงินการคลังของเทศบาลในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยสามารถออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อวางแนวทางการจัดการด้านการเงินการคลัง การงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้ ดังนั้นในการบริหารงานด้านการเงินการคลังของเทศบาลจึงต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ คือ 1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 และ 3) พ.ศ.2543 2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ระเบียบทั้งสามฉบับ มีลักษณะเป็นการควบคุมดูแลเทศบาล โดยกำหนดให้เทศบาลทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการตั้งงบประมาณ วิธีการบริหารพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่าย การเก็บรักษาเงิน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วศักยภาพของเทศบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากจึงก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ราชการส่วนกลางมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับ ควรจะได้มีการปรับปรุงให้อิสระแก่เทศบาลในการใช้ดุลยพินิจในการกำหนดแนวทางการบริหารองค์กรของตนเองมากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2540 และให้สอดคล้องกับขนาดของเทศบาล อันจะทำให้เทศบาลมีความคล่องตัวในการบริหารงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดได้ดียิ่งขึ้นรายการ ปัญหาการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ในประเทศไทย(2551-02-12T16:32:43Z) นิรุธ ตันวิมลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปบแบวิธีพิจารณาความที่เหมาะสมและสอดคล้องกับประเพณีและแนวทางปฏิบัติทางการค้าพาณิชย์ โดยมุ่งที่จะให้ประเทศไทยมีการจัดระบบวิธีพิจาณาคดีพาณิชย์แยกต่างหากจากระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปอย่างชัดเจน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวล (Civil Law System) โดยมิได้มีการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์และหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งและหลักวิธีพิจารณาคดีแพ่งแต่อย่างใด ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาปรัชญาหรือหลักคิดในทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้นได้ และมักจะต้องนำปรัชญาแลหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายแพ่งทั่วไปมาบังคับใช้กับนิติสัมพันธ์ทางการค้าพาณิชย์ ทำให้การตัดสินชี้ขาดคดีพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในระบบกฎหมายแพ่งในบางกรณีก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ขัดแย้งกับกับกรอบความคิดของการระงับข้อพิพาททางการค้าพาณิชย์ ซึ่งต้องการความสะดวก รวดเร็ว และต้องมีการตัดสินชี้ขาดโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีปฏิบัติและหลักการที่มีใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าพาณิชย์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ถูกมองข้ามไป และเป็นการมองข้ามมาตั้งแต่เริ่มการจัดทำประมวลกฎหมายในประเทศไทย อันเป็นการขัดแย้งต่อสำนึกในความยุติธรรมของคนในวงการค้าพาณิชย์อย่างรุนแรง จนทำให้ระบบกฎหมายและระบบศาลของไทยไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากคู่ค้าชาวต่างประเทศเท่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อเนื่องให้สัญญาทางการค้าระหว่างพ่อค้าไทยและต่างประเทศมักถูกเรียกร้องให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายต่างประเทศที่ใช้อนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และต้องไปฟ้องร้องดำเนินคดีกันในศาลต่างประเทศ ทำให้พ่อค้าไทยต้องเสียเปรียบ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็น อย่างยิ่ง ดังนั้นการปรับปรุงระบบกฎหมายพาณิชย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและจำเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การส่งเสริมกิจการค้าพาณิชย์ของไทย ทั้งจะช่วยเพิ่มพูนความยอมรับนับถือในระบบกฎหมายและการศาลของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการดำเนินการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งในประเทศไทยนั้น อาจมีได้ในหลายแนวทางด้วยกัน ซึ่งปัญหาสำคัญมิใช่อยู่ที่ว่าควรแยกประมวลกฎหมายพาณิชย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญก็คือกฎหมายพาณิชย์จะต้องช่วยส่งเสริมกิจการค้าให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และต้องสามารถคุ้มครองผู้ประกอบการค้าที่สุจริตไอ้อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการศึกษาความเป็นไปได้ ในขั้นตอนแรกของการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์นั้น เราควรที่จะต้องมีการพัฒนาหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกต่างหากจากกระบวนวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปเสียก่อน โดยให้มีระบบศาลชำนาญพิเศษแยกต่างหาก สำหรับพิจาณาพิพากคดดีพาณิชย์ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้น โดยการพัฒนาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นศาลทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าพาณิชย์มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไม่อาจที่จะแยกกันเด็ดขาดได้ โดยการพิจารณาคดีต้องคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมเป็นสำคัญ โดยได้กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบที่มีความรู้ความเข้าใจในทางการค้าพาณิชย์เข้าตัดสินคดีความร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพภายในกรอบเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีที่แน่นอน และหากมีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการจัดวางระบบและกฎเกณฑ์กติกาในคดีพาณิชย์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพ ลักษณะและความต้องการของกิจการค้าพาณิชย์ อันจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกิจการค้าพาณิชย์ของประเทศให้อยู่ในมาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า(2551-02-13T02:25:25Z) สฤษดิ์ วินทะไชยพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 จัดได้ว่าเป็นกฎหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากที่สุดฉบับหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มุ่งต่อการธำรงรักษา “กลไกตลาด” ของระบบเศรษฐกิจไทยให้ดำเนินไปอย่างเป็นปกติ ปราศจากการแทรกแซงจากผู้ประกอบธุรกิจบางรายด้วยวิธีการอันไม่ชอบธรรม ตลอดจนการป้องกันการผูกขาดทางการค้า และจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายดังกล่าว กรณีที่กฎหมายไม่ให้สิทธิที่จะผูกขาดไว้โดยเฉพาะ ก็ยังเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ควรที่จะถือว่า “การมีอำนาจเหนือตลาด” หรือ “การผูกขาด” เป็นความผิดในตัวเอง หากพิจารณาถึงความจริงทางธุรกิจ ที่องค์กรธุรกิจพยายามปรับปรุงคุณภาพของสินค้า พัฒนากระบวนผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อทำให้มีต้นทุนที่ต่ำลงและสามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำให้สินค้าของตนขายได้มากขึ้นและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ยิ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากเท่าใด ก็มีอำนาจเหนือตลาดที่จะสามารถกำหนดทิศทางของสินค้าและราคาในตลาดนั้นมีมากขึ้นตามไปด้วย หากกฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะป้องกันมิให้องค์กรธุรกิจใดมีอำนาจเหนือตลาด หรือผูกขาด ก็จะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางธุรกิจ และนอกจากการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตจะไม่มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงคุณภาพสินค้าและพัฒนากระบวนการผลิตของตน เนื่องจากไม่อาจแน่ใจได้ว่าหากวันใดธุรกิจมีส่วนแบ่งตลาดมาก กฎหมายจะเข้ามาแทรกแซงธุรกิจของตน ดังนั้นหากอำนาจเหนือตลาดนั้นเกิดขึ้นจากประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการดำเนินธุรกิจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใต้กฎหมาย และหากขนาด หรืออำนาจเกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ปัญหาที่ต้องคำนึงถึงต่อไปคือ ให้ความสนใจหรือเข้าไปสอดส่องดูแลเรื่อง “พฤติกรรม” (Behavior) ของธุรกิจต่างๆ ที่แข่งขันอยู่ในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด ว่าได้ทำการแข่งขันในตลาดอย่าง “เป็นธรรม” หรือไม่ ความเป็นธรรมในที่นี้ควรให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ คือ องค์กรธุรกิจควรแข่งขันกันในเรื่องของ “ประสิทธิภาพ” ของแต่ละองค์กร โดยอาจจะเป็นการแข่งขันกันผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าคู่แข่ง การบริหารจัดการ กระบวนการผลิต และผลิตคุณภาพ (Productivity) เหล่านี้เป็นต้น และหากมีการใช้กลวิธีที่ไม่เป็นธรรมในการทำให้คู่แข่งต้องล้มเลิกกิจการ เช่น การลดราคาสินค้าต่ำกว่าต้นทุน ทำให้บริษัทคู่แข่งขนาดเล็กที่มีสายป่านทางการเงินที่สั้นกว่าไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ การกีดกันคู่แข่งออกจากแหล่งวัตถุดิบหรือปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต การทำให้คู่แข่งรายใหม่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ กรณีเช่นนี้ที่เป็นบทบาทของกฎหมายที่จะเข้ามาดูแลป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่ไม่เป็นธรรมนี้ขึ้น หรือหากเกิดขึ้นแล้วก็พยายามหาทางระงับให้เร็วที่สุดก่อนที่จะเกิดผลเสียต่อการแข่งขันในตลาดสินค้านั้น สมควรปรับปรุงแก้ไข บทบาทของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่เหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมขององค์กรธุรกิจต่างๆ ที่แข่งขันอยู่ในตลาด โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาดว่าได้ทำการแข่งขันในตลาดอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ความเป็นธรรมในที่นี้ควรสอดคล้องกับเศรษฐกิจ คือควรแข่งขันในเรื่องของประสิทธิภาพขององค์กรโดยเน้นเรื่องแข่งขันด้านการผลิตที่มีคุณภาพ และหากกฎหมายการแข่งขันทางการค้าจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องราคาสินค้าแล้ว ควรที่จะเป็นบทบาทในการรักษากลไกของตลาดให้ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติโดยไม่มีองค์กรธุรกิจใดเข้าไปบิดเบือนการทำงานของกลไกตลาดด้วยการตกลงราคาร่วมกันกำหนดราคาสินค้า มากกว่าการเข้าไปตรวจสอบว่าระดับราคาที่ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งกำหนดขึ้นเพียงลำพัง “เป็นธรรม” หรือไม่ และการคุ้มครองคู่แข่งขันในตลาดที่มิได้รับความชอบธรรม ที่มีการใช้วิธีการที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมเพื่อทำลายคู่แข่ง และเอาเปรียบคู่แข่งขัน เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายกลไกการแข่งขันในตลาดรายการ บทบาทและหน้าที่ของทนายความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม(2551-02-13T03:06:38Z) กำพล มั่นใจอารยะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ได้อนุญาตให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่มากระทำละเมิดหรือผิดสัญญากับผู้เสียหายที่มีเป็นจำนวนมาก และถูกฟ้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มซึ่งเป็นระบบการดำเนินคดีแบบใหม่และยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างคดีแพ่งสามัญ ปัจจุบันมีการร่างกฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อออกใช้บังคับทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยุติธรรมให้กับประชาชน เนื่องจากการดำเนินคดีแบบกลุ่มสามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ในการดำเนินคดีเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการที่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายประเภทที่ไม่มีความสามารถฟ้องคดีเพื่อเยียวยาความเสียหายด้วยตนเอง ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทอำนาจและหน้าที่ทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่มีอยู่เดิมมาเป็นระบบดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มให้มีศักยภาพความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทนายความส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่าไร เพราะเป็นร่างกฎหมายใหม่ซึ่งไม่ได้นำออกมาใช้เหมือนกับคดีแพ่งสามัญทั่วไป บทบาทและหน้าที่ของทนายความที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นการร่างคำ-ฟ้อง คำร้อง ตลอดจนรวบรวมประมวลหลักฐานการค้นหาข้อเท็จจริงการดำเนินคดี กระบวนพิจารณา ตลอดจนการบังคับคดีจะมีความยุ่งยากสับสนซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ตัวความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจอย่างท่องแท้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สภาทนายความควรให้มีการศึกษา อบรม สนับสนุนให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่มออกมาใช้เป็นกฎหมายในอนาคตรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองกลไกทางเทคโนโลยี(2551-02-13T08:42:32Z) อนุชา เอี่ยมมีแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เพื่อให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์โดยตรงแล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ นำมาใช้เพื่อป้องกันการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการสิทธิของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบันหรือจะมีขึ้นในอนาคต จากการศึกษา พบว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เกิดขึ้นเนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ตลอดจนพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ผู้ศึกษาเห็นว่ายังไม่มีมาตรการทางกฎหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายฉบับใด ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมในเรื่องของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์นำมาใช้เพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรง ถึงแม้ว่างานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แล้วก็ตาม แต่งานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น จะต้องเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ไม่สามารถจัดเป็นงานประเภทหนึ่งประเภทใดอันถือได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่หากได้มีการพิจารณาความหมายของงานอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยละเอียดแล้ว พบว่าประเภทงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ได้คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังไม่ใช่ตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด กลไกทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาความหมายของกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์ กับการให้ความคุ้มครองตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ผู้ศึกษาเห็นว่าหากเกิดกรณีการทำลายหรือหลีกเลี่ยงกลไกทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานลิขสิทธิ์ สามารถนำหลักความผิดตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ... มาบังคับใช้ในการฟ้องร้องเพื่อชดใช้และเยียวยาความเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่ได้ให้บทนิยามของคำว่ากลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีไว้แต่อย่างใด ผู้ศึกษามีความเห็นว่าหากจะมีการปรับปรุงหรือกำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ควรเลือกปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองงานลิขสิทธิ์มากที่สุด เพียงแต่บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้มากว่าสิบปี ทำให้ไม่สามารถนำมาปรับใช้และไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคที่มีการสร้างสรรค์และจัดเก็บผลงานในรูปข้อมูลดิจิตอลและมีการเผยแพร่งานบนโลกอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย หรือหากจะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่กลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อปกป้องงานลิขสิทธิ์โดยตรงแล้ว ผู้ศึกษาเห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมานั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และควรกำหนดบัญญัติให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้การกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนกว่าการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอื่นๆ ซึ่งผู้กระทำความผิดมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการกระทำความผิด ผู้ที่จะมีส่วนในการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับกลไกหรือมาตรการทางเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการปกป้องการละเมิดงานลิขสิทธิ์ ด้วยเช่นกันรายการ ปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี(2551-02-16T08:10:39Z) ทัยเลิศ, ลือปือสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมาย มาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี เนื่องจากธุรกิจการค้าประเวณีซึ่งมีการเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพการด้อยการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม รวมถึง การกระจายรายได้สู่ประชาชนสู่ชนบทเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศ เกิดการชะลอตัว และปัญหาที่ตามมาคือปัญหาความยากจนของคนในประเทศ จนถูกมองว่า เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเกิดกลุ่มผู้แสวงหาประโยชน์ การค้าประเวณี จึงกลายเป็นแหล่งธุรกิจตลาดสินค้าอุตสาหกรรมบริการหรือช่องทางสร้างรายได้ ที่ลงทุนต่ำได้กำไรสูง ก่อให้เกิดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการค้า การใช้บริการหรือการแสวงหากำไรจากธุรกิจการค้าประเวณีก็ยังไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีจะเป็นผลสำเร็จได้ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยมาตรการ ทางกฎหมายที่ชัดเจน จากการศึกษากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันนั้น ใช้แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีตามแนวคิดแบบปรามการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่ามีการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และในทางกลับกันกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลักลอบเปิดสถานค้าประเวณีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้น ดังนั้นปัญหาทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้าประเวณีจึงไม่ใช่ การที่ประเทศไทยขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับปัญหาที่มีอยู่ เป็นแต่เพียงว่ากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงเห็นว่าแนวทางที่จะแก้ไขป้องกันการค้าประเวณีจะต้องมีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กันไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของปัญหา การแก้ไขปรับปรุงระเบียบและกฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเพียงปลายเหตุ ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีจะไม่อาจบรรลุความสำเร็จได้เลย ถ้าพิจารณาเฉพาะมาตรการกฎหมายซึ่งยังมีความบกพร่องทั้งตัวบทกฎหมายและทางปฏิบัติเพียงอย่างเดียว การแก้ปัญหาย่อมไม่ประสบความสำเร็จเพราะโดยความเป็นจริงกฎหมายเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่ประกอบกันเข้าเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศในอนาคตรายการ มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการซื้อขายซากรถ(2551-02-16T08:23:56Z) ปวีณวัชร์, ภัทรชัยพงศ์การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้ข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์ของงานป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมการกระทำผิดในการโจรกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รวมถึงการวางแผนและเสนอแนะนโยบาย แนวทางและมาตรการทางกฎหมายที่จะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ในปัจจุบัน การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมวิธีการสืบสวนตรวจสอบรถที่สงสัยว่าจะเป็นรถสวมซากจากรถที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อศึกษาถึงวิธีการโจรกรรมรถ การสวมซากทะเบียนรถและกระบวนการของคนร้ายในการโจรกรรมรถ การสวมซากรถ และการจำหน่ายรถ และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการป้องกันและบทลงโทษเกี่ยวกับการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์และควบคุมการซื้อขายซากรถที่เกิดอุบัติเหตุ โดยศึกษาเอกสารวิชาการและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์วิธีการสวมซากรถ วิธีการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาสวมซากกับซากรถที่เสียหายจากอุบัติเหตุ และวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการสวมซากรถและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์ในปัจจุบันและอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาสวมซากเพื่อจำหน่ายมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและยังเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เมื่อโจรกรรมรถมาได้แล้วจะมีกรรมวิธีที่จะนำไปจำหน่ายแตกต่างกันไป เช่น นำไปแยกเป็นชิ้นส่วนหรืออะไหล่ นำไปสวมซากรถที่เกิดอุบัติเหตุ หรือนำไปใช้โดยสวมป้ายทะเบียน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายที่ใช้ควบคุมการกระทำผิดนั้นมีบทลงโทษไม่รุนแรงและการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ นำไปสู่ความเดือดร้อนของสังคม ทำให้พวกมิจฉาชีพไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของบ้านเมือง กอปรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความรู้ความเข้าใจกระบวนการกระทำความผิดของเหล่ามิจฉาชีพ และหากยังมีการอนุญาตให้จำหน่ายรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถหมดสิ้นไปได้ ในขณะที่ต่างประเทศเมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุจะต้องทิ้งหรือขายไปเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงมากกว่าราคารถใหม่ และรถที่มีอายุใช้งานเกิน 4 ปี จะต้องเสียภาษีแพงเป็นหลายเท่า เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนรถและป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้น ส่วนมาตรการทางกฎหมายนั้นใช้มานานมากและไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายมากมายทำให้ผู้กระทำความผิดอาศัยเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายได้รายการ ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารภาษีอากรที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง(2551-02-16T08:33:40Z) พันธุ์ศักดิ์, เกตุวัตถาการบริหารภาษีอากรที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง เป็นมาตรการสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดระบบบริการสาธารณะแก่ประชาชนในเขตจังหวัด ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 การศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารภาษีอากรที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัญหาการจัดเก็บภาษีอากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อศึกษาความหมายและหลักการของภาษีอากร และวิวัฒนาการของการจัดเก็บภาษีอากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเก็บเองที่นำมาใช้บังคับและควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีอากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และเพื่อเสนอแนวคิวในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมกับการจัดเก็บภาษีอากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ที่เป็นงานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวข้องกับแนวคิดในเรื่องการจัดเก็บภาษีอากร และการตรวจสอบกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีและหนังสือสั่งการต่างๆ การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การศึกษาวิจัยจากข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มผู้เสียภาษีอากร ประชาชน ข้าราชการและกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 351 ตัวอย่าง ผลจากการศึกษาพบว่า การให้องค์การบริการส่วนจังหวัดจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มในแต่ละจังหวัดโดยอิสระ เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ การที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดต่างๆ มีอำนาจออกข้อบัญญัติได้เองและดำเนินการไม่พร้อมกันทั่วประเทศ การแทรกแซงทางการเมือง แหล่งกำเนิดภาษีที่เป็นทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ การเป็นองค์กรทางการเมืองขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ล้วนเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดเก็บภาษีอากรและมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีอากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด นอกจากนั้น ยังพบว่า การจัดเก็บภาษีอากรยังเก็บได้จำนวนน้อยมากไม่เพียงพอที่จะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเอามาเป็นรายได้ เพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะคือ ควรแก้ไขพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจในการออกข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีบุหรี่และภาษีน้ำมันตามมาตรา 64 และค่าธรรมเนียมจากผู้พักในโรงแรมตามมาตรา 65 โดยยกเลิกอำนาจการออกข้อบัญญัติในส่วนนี้ และให้ส่วนกลาง (รัฐ) เป็นผู้ออกกฎหมายแทนโดยออกเป็นพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งจะมีลักษณะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ และควรให้มีกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานการจัดเก็บภาษีอากรที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง ซึ่งจะทำให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และควรเน้นการประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษีอากรให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องจัดเก็บภาษีอากรและการนำเงินภาษีอากรไปใช้พัฒนาในเขตจังหวัดให้มากขึ้น รวมทั้งให้ทราบถึงกระบวนการการตรวจสอบการใช้งบประมาณของทางราชการรายการ ผลกระทบของนิติกรรมและสัญญาอันเนื่องมาจากการไม่แยกกฎหมายแพ่งออกจากกฎหมายพาณิชย์(2551-02-16T08:43:23Z) เปมิกา วิวัฒนพงศ์พันธ์ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System) และมีการบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวมไว้ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิรูปกฎหมายโดยมิได้แยกแยะให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของปรัชญากฎหมาย หลักคิด และกระบวนวิธีประยุกต์ใช้กฎหมายพาณิชย์จะเป็นไปในแนวทางของกฎหมายแพ่ง จึงทำให้การใช้กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของไทยปะปนกันมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เป็นเหตุให้ระบบกฎหมายพาณิชย์ไม่มีความเป็นเอกเทศจากกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ชื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แสดงอยู่ในตัวแล้วว่าประเทศไทยได้รวมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้าอยู่ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน เหมือนดังที่เป็นอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งสวิสและตุรกี แต่มีบางประเทศ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ ได้แยกบัญญัติเป็นประมวลกฎหมายแพ่งฉบับหนึ่ง และประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกฉบับหนึ่งต่างหากจากกัน ทั้งนี้ เพราะประสงค์จะให้พ่อค้าอยู่ใต้บังคับของกฎหมายพาณิชย์เป็นพิเศษจากบุคคลธรรมดา เนื่องจากพ่อค้าต้องการติดต่อค้าขายกันอย่างรวดเร็วและพ่อค้าเป็นผู้ที่รู้จักระมัดระวังประโยชน์ได้เสียของตนดีแล้ว ไม่จำต้องบังคับให้ปฏิบัติตามแบบวิธี เพื่อให้มีเวลาในการตัดสินใจในการทำสัญญาเหมือนอย่างบุคคลธรรมดา สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื้อหาและกระบวนวิธีบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยกลับได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System) อยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดความสับสนและขัดแย้งทางความคิด เพราะสภาพและลักษณะของนิติสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าพาณิชย์หรือระหว่างคู่กรณีในทางการค้าพาณิชย์นั้น มีความแตกต่างจากนิติสัมพันธ์ในทางแพ่งระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองอย่างมาก จึงทำให้กฎเกณฑ์ที่ถือว่าถูกต้องและเป็นธรรมในระหว่างปัจเจกบุคคลทั่วไปอาจจะเป็นกฎเกณฑ์กติกาที่ขัดแย้งกับประเพณีทางการค้าหรือแนวทางปฏิบัติระหว่างพ่อค้าที่เป็นคู่กรณีอย่างรุนแรง ทั้งนี้ กฎหมายในเรื่องแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาในปัจจุบันยังไม่มีความเหมาะสมในการใช้กับคดีทางพาณิชย์เพราะถือว่ามีความเคร่งครัดเกินไปและการตีความกฎหมายในเรื่องแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาก็ถือเป็นการตีความไปในทางที่ขัดต่อประเพณีการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งการจะพัฒนากฎหมายพาณิชย์ในส่วนของเรื่องแบบและหลักฐานเป็นแห่งนิติกรรมสัญญา ควรที่จะให้มีระบบการพิสูจน์ที่แตกต่างจากกฎหมายแพ่ง เช่น ในกรณีการยอมให้มีการนำพยานบุคคลมาสืบถึงการทำสัญญาในทางพาณิชย์ด้วยวาจาหรือโดยวิธีการมีหนังสือยืนยันทางการค้า โดยการพัฒนากฎหมายพาณิชย์ในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยการจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่ในรูปแบบของกฎหมายพิเศษเพื่อเป็นข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ การพัฒนากฎหมายจะต้องช่วยส่งเสริมกิจการค้าให้แพร่หลายและต้องสามารถคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการค้าและพาณิชย์ที่สุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยให้ออกจากกันอย่างชัดเจนโดยมุ่งที่จะให้ประเทศไทยมีการจัดระบบกฎหมายพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาแยกออกจากระบบกฎหมายแพ่งอย่างชัดเจน เพื่อให้ข้อจำกัดและความไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจการค้าและพาณิชย์ของประเทศไทยลดน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เหมาะสมกับสภาพและลักษณะของกิจการค้าพาณิชย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการแยกประมวลกฎหมายแพ่งออกจากประมวลกฎหมายพาณิชย์ยังสนับสนุนกิจการค้าพาณิชย์ของประเทศไทยจะทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น อันจะส่งผลให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบรรดาผู้ที่อยู่ในวงการค้าพาณิชย์มากขึ้นยิ่งขึ้นอีกด้วยรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้า(2551-02-16T08:50:14Z) เฉลิมวัฒน์, วิมุกตายนปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบังคับใช้ การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจึงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อจำกัดการคุ้มครองหลายประการ จึงได้มีการนำหลักกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิดแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ ในการฟ้องร้องคดีเพื่อให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้รับความเสียหาย ได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าและบริการ แต่การให้คุ้มครองผู้บริโภคตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวก็ยังมีประเด็นปัญหาหลายประเด็น คือ 1. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามรูปแบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ที่ยังมีความ แตกต่างกัน เกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์และการนำหลักความรับผิดมาใช้ 2. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เกี่ยวกับข้อจำกัดอยู่เฉพาะคู่กรณีสัญญา ทำให้ผู้เสียหายที่ไม่ใช่คู่กรณีสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ได้กำหนดสิทธิของผู้บริโภคให้มีผู้รับผิดและชดใช้เยียวยาต่อความเสียหาย 3. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด ซึ่งตามกฎหมายลักษณะสัญญาก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ส่วนกฎหมายลักษณะละเมิดก็มีความยุ่งยากเกี่ยวกับภาระพิสูจน์ 4. ปัญหาการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ แม้จะสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมายลักษณะละเมิด แต่ก็มีภาระและค่าใช้จ่ายและไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับการชดใช้ความเสียหายหรือไม่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น การศึกษาในครั้งนี้เห็นว่ากฎหมายที่ใช้ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลบังคับใช้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวทางและหลักการที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขในรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายหรือสิทธิที่จะได้มีผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายจากสินค้าหรือบริการนั้น โดยการนำหลักความรับผิดเด็ดขาดมาใช้ หรือการขยายขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการโดยตรง และลดภาระในกรณีที่ต้องนำพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ผลิตหรือผู้ขายของโจทก์ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับกฎหมายในต่างประเทศ หรือหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติที่มีอยู่แล้วเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก็ควรที่จะผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์มาใช้บังคับ เพื่อใช้เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมดุลระหว่างผู้ผลิตสินค้าและหรือผู้ให้บริการกับผู้บริโภคด้วย ซึ่งถ้าหากสามารถผลักดันจนประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถเป็นกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีหลักประกันเกี่ยวกับการคุ้มครองและการชดใช้เยียวยาความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์นั้น อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภครายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต(2551-02-16T08:55:58Z) โชฎึก, โชติกำจรการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามารับผิดชอบในการควบคุมดูแลอย่างชัดเจน เป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้สามารถดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตได้อย่างเสรี ซึ่งการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นการประกอบธุรกิจในด้านสินเชื่อที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อสังคมของประเทศ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิต รวมทั้งกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่พบว่ายังไม่มีสภาพบังคับทำให้ผู้ประกอบธุรกิจทางด้านบัตรเครดิตบางราย ไม่ปฏิบัติตาม ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หากไม่มีกฎหมายหรือ องค์กรเฉพาะขึ้นมาควบคุมให้เป็นไปในแนวทางหรือบรรทัดฐานเดียวกันหรือให้มีมาตรฐานเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้และการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 1. ปัญหาอันเกิดจากการการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตที่ขาดมาตรการควบคุม 2. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกผลตอบแทนสูงเกินสมควร และการคิดดอกเบี้ยค้างชำระ เบี้ยปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีความซ้ำซ้อน ในสัญญาบัตรเครดิต 3. ปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน กับช่องทางหลีกเลี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตต่อการคุ้มครองผู้บริโภคบัตรเครดิต 4. ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของสัญญาบัตรเครดิตและการนำหลักกฎหมายมาปรับและบังคับใช้กับสัญญาบัตรเครดิตยังไม่มีความชัดเจนแน่นอน 5. ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่อการให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิต 6. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่ขาดการควบคุม จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวพบว่ามาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมและยังไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิตซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ผู้เขียนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมาบังคับใช้กับบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โดยมีเนื้อหาสาระทั้งหมดอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันที่มีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรเครดิต จึงต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตให้ชัดเจน โดยให้มีกฎหมายรองรับถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว โดยให้มีอำนาจควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ โดยให้อยู่ภายใต้อำนาจและกฎหมายเดียวกัน 2. ต้องบัญญัติกฎหมายเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตขึ้นมาเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อมาควบคุมและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งนี้โดยอาจเป็นการบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตราขึ้นมาใหม่เป็นพระราชบัญญัติบัตรเครดิต เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้ 2.1 ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องรูปแบบของข้อตกลงการใช้บัตรเครดิตที่ต้องมีมาตรฐานและเป็นธรรม บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลา การฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัตรเครดิต 2.2 บัญญัติถึงข้อกำหนดในเรื่องการคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม ตามความเป็นจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม โดยสมควรต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ เมื่อรวมคำนวณแล้วต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดซึ่งจำนวนเท่าใดนั้นให้ถือปฏิบัติเป็นอัตราเดียวกัน อันจะทำให้ผู้ออกบัตรไม่สามารถแสวงหาประโยชน์จากผู้ถือบัตรได้อีกต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและการชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของสัญญาประกอบการท่าเทียบเรือ ศึกษากรณีท่าเรือแหลมฉบัง(2551-02-16T09:03:20Z) ฆสวัฒน์, พึ่งประชาการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าประมูลเพื่อบริหารและประกอบกิจการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือบี 1-บี 4 เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าและการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารสำนักงานที่เทียบเรือลานวางตู้สินค้า ฯลฯ แล้วเห็นได้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจการร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยที่ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะตอบแทนให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการของท่าบี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับท่าเรือคือท่าเทียบเรือ ตามมาตรา 6(3) และมาตรา 9(11) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 อันเป็นกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และให้ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคาร และที่ดินที่ให้เช่า” บทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่า การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาบริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้นเอง และการท่าเรือแห่งประเทศไทยสมควรที่จะต้องได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะไม่ได้บัญญัติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยตรงเหมือนเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติยกเว้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาโดยกรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 2 เคยมีความเห็นที่ 80/2536 ในประเด็นตามที่กรุงเทพมหานครหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปได้ว่า คำว่า “กฎหมายอื่น” ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีความหมายรวมถึงพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ด้วย ดังนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเอง ก็สมควรที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สินดังกล่าว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนนั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งเงินทุน การระดมเงินลงทุน หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ที่มีความก้าวหน้ากว่าภาครัฐ ดังนั้น ในกิจการของรัฐหรือการดำเนินกิจการของรัฐบางอย่างจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุนหรือเข้ามาร่วมประกอบกิจการที่เป็นของรัฐ และส่งผลในการกระตุ้นให้นักธุรกิจเอกชนไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจในชาติหรือนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการประกอบการท่าเทียบเรือหรือกิจการอื่นๆ อันจะส่งผลให้ประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่อไปรายการ การเสียสิทธิทางกฎหมายของบุคคลล้มละลายในธุรกิจ(2551-06-23T07:52:28Z) ธนเดช อังคะนาวินการศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคเอกชน เรื่องการเสียสิทธิของลูกจ้างในภาคเอกชนนั้นหากตกเป็นบุคคลล้มละลาย ก็ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับบุคคลเหล่านั้น เพราะบางบริษัทก็กำหนดเป็นคุณสมบัติไว้ บางบริษัทก็ไม่กำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน ดังนั้นเมื่อมีการเลิกจ้างจะถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายต่างๆ รวมถึงการต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไว้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีคำพิพากษากำหนดเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ จึงควรที่จะมีการกำหนดสิทธิของลูกจ้าง ไว้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นผลดีต่อทุกๆ ฝ่ายในอนาคตต่อไป การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคราชการ พบว่า สิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายซึ่งเป็นข้าราชการนี้ นอกจากจะต้องออกจากราชการแล้ว เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เบี้ย-หวัด หรือเงินอื่นๆ ก็จะต้องถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มารับเงินดังกล่าวไป เพื่อรวบรวมไปชำระแก่เจ้าหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายหลุดพ้นจากการล้มละลายโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริงแทบจะทำไม่ได้เลย เพราะข้าราชการผู้ล้มละลายนั้น ขาดทั้งสถานภาพทางสังคมและขาดทั้งรายได้จากการรับราชการเนื่องจากต้องออกจากราชการ จึงทำให้การหลุดพ้นจากการล้มละลายทำได้ยากยิ่งขึ้น การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคการเมือง ในทางการเมืองควรมีการเปิดกว้างในเรื่องคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และผู้แทนราษฎร โดยเปิดโอกาสให้บุคคลล้มละลายสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะผู้ที่จะตัดสินก็คือ ประชาชน ไม่ใช่ถูกจำกัดสิทธิ โดยข้อห้ามของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องการเสียสิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายในภาคราชการและการเมืองนั้นหากเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด ระดับใด ตำแหน่งอะไร ก็จะต้องถูกออกจากราชการโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2535 เช่นเดียวกับข้าราชการการเมือง ซึ่งหากเป็นบุคคลล้มละลายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นข้าราชการการเมืองโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดทั้งสิ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การศึกษาค้นคว้านี้ ได้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสาร ระเบียบต่างๆ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่ยังเห็นว่าไม่ควรมีการจำกัดสิทธิของบุคคลล้มละลายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เนื่องจากไม่มีระเบียบกฎหมายกำหนดห้ามไว้ จึงต้องกระทำตามระเบียบข้อกำหนดของกฎหมายเดิมไปก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เสนอแนวทางในการพิจารณาแก้ไข การเสียสิทธิของบุคคลล้มละลายในสังคมไทยไว้ทั้งในภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติ รวมทั้ง นักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาต่อไปรายการ ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 : ศึกษากรณีมติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(2551-06-25T02:24:06Z) จิรยุ ทองทวนในการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งข้นทางการค้า พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างของตลาดสินค้าและบริการในประเทศไทย หลักการพื้นฐานทางกฎหมายและทางเศรษฐศาสตร์ในการควบคุมกำกับผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ตลอดจนปัญหาในการบังคับใช้โดยเปรียบเทียบกับการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป ประเทศญี่ปุ่น โดยจากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติการแข่งข้นทางการค้า พ.ศ. 2542 มีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้ากำหนดให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าต้องกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งตลาดและยอดขายของผู้มีอำนาจเหนือตลาดสำหรับในแต่ละภาคธุรกิจ ซึ่งปรากฏว่าแม้ว่าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ปรากฎว่ายังมิได้ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงยังไม่สามารถใช้บังคับได้ และทำให้มาตรการในการควบคุมพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดบังคับมิได้ 2. ปัญหาด้านองค์กรบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ได้พยายามหลีกเลี่ยงปกป้องมิให้มีการแทรกแซงทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเพิ่งจะเริ่มปฏิบัติงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีปัญหาในแง่ของการคัดเลือกคณะกรรมการที่ยังขาดการคัดเลือกโดยระบบที่โปร่งใสและขาดความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองซึ่งมักจะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจอยู่ด้วย ดังจะเห็นจากการที่กำหนดให้มติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจะต้องรับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. กำหนดให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ถูกควบคุมโดยฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย 2. ส่งเสริมให้เอกชนสามารถฟ้องคดีการแข่งขันทางการค้าต่อศาล 3. ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าในการดำเนินงานตามกฎหมายได้แก่ การเตือน การให้คำแนะนำรายการ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสัญญาทางธุรกิจ(2551-06-25T02:36:15Z) ปิยะ พิมพ์ซากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้อย่างชัดเจนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรมจากการใช้สัญญา แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการทำสัญญาต่างๆยังไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง แม้กฎหมายดังกล่าวข้างต้นจะออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ให้บริการแต่ก็ยังมีข้อน่าคิดอยู่ว่ากฎหมายที่ออกมาคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านสัญญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 นั้นได้ให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ กำหนดสิทธิของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น คือ “สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา” และกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญาทางธุรกิจไว้ในหลายเรื่องที่สำคัญได้แก่ในมาตรา 35 ทวิ ที่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณากำหนดและประกาศในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการบางประเภทที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจในธุรกิจที่ถูกควบคุมสัญญาตามประกาศนั้นจะต้องใช้ข้อสัญญาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด หรือตามแบบสัญญามาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นเท่านั้น การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศจะมีสภาพบังคับทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศดังกล่าวยังเกิดปัญหาอยู่หลายประการ ทำให้ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองด้านสัญญาอย่างจริงจังสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ยังมีปัญหาอยู่หลายประการในเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสัญญา ซึ่งในปัจจุบันนี้ประกาศต่างๆที่คณะกรรมการประกาศใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้กันอย่างจริงจัง อีกทั้งประกาศจำนวน 12 ฉบับ ที่คณะกรรมการประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้เขียนเห็นควรให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญาประกาศการควบคุมการทำสัญญาเพิ่มเติมอีกหลายประเภทซึ่งจะได้ว่ากล่าวกันต่อไป เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาให้ครอบคลุมทั่วถึงอย่างแท้จริงรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ(2551-06-25T03:23:45Z) พรชนะ อุ่นเจริญการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของบุคคลวิกลจริตที่เกิดจากโรคในทางจิตเวช ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถและของผู้อนุบาล รวมถึงการบอกล้างหรือให้สัตยาบันในนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถทำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจในการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนไร้ความสามารถประกอบธุรกิจก่อนเป็นคนไร้ความสามารถหรือหลังจากที่เป็นคนไร้ความสามารถ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อนุบาลที่ดูแลธุรกิจของคนไร้ความสามารถไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจแทน คนไร้ความสามารถของผู้อนุบาล ซึ่งปัญหาต่างดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้คนไร้ความสามารถได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน(2551-06-25T03:33:09Z) อัจฉริยะ เพชรอาภาการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน มีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นบุคคล ที่จิตฟั่นเฟือนไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของโรคในทางจิตเวชที่มีผลต่อการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่เรียกว่าวิกลจริตหรือแค่จิตฟั่นเฟือน ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนประเภทของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของบุคคลที่ “จิตฟั่นเฟือน” ปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่คอยดูแลบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนในการประกอบธุรกิจ ปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ มาตรการทางกฎหมายในกรมธรรม์ประกันภัยร้านทอง(2551-06-26T06:23:09Z) วีระชาต์ บันลือสมบัติกุลจากลักษณะของการเกิดสัญญาประกันภัย กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำสัญญาตามแบบอย่างใด เพียงแต่มีการตกลงกันด้วยวาจาสัญญาก็ย่อมเกิดขึ้นได้ โดยในทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้กรอกใบคำขอเอาประกันภัยที่ทางบริษัทผู้รับประกันภัยจัดเตรียมไว้ให้ซึ่งเรียกว่าสัญญาสำเร็จรูป หรือ สัญญามาตรฐาน และเมื่อสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วบริษัทผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายหลัง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า กรมธรรม์ประกันภัยต้องมีเนื้อความตรงกันตามสัญญาประกันภัยที่ตกลงกันไว้ แต่ปรากฏว่าในการออกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ผู้รับประกันภัยมักจะเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดเข้ามาในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งข้อความเหล่านี้จะไมปรากฏอยู่ในใบคำขอเอาประกันมาก่อน จึงเป็นการเอาเปรียบคู่สัญญา ถือเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังจะเห็นได้จากคำร้องเรียนที่มีมายังกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ตลอดทั้งข้อพิพาทในศาลยุติธรรมอันเนื่องมาจากเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดในกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อลดช่องว่างของการทำสัญญาประกันภัยรวมทั้งลด ข้อพิพาทที่มีคดีขึ้นสู่ศาลและเพื่อให้เป็นไปตามหลักความสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยควรจะเปิดเผยเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่อยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้ข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัยหมดไป เพราะต่างฝ่ายต่างรู้ถึงเงื่อนไขในการทำสัญญาซึ่งกันและกัน ดังนั้น เพื่อให้การทำประกันภัยได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้เอาประกันภัยในการทำสัญญา บริษัทจึงสมควรที่จะแนะนำตัวแทนหรือนายหน้าประกันของบริษัทให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาให้กับผู้เอาประกันภัยได้ทราบด้วย และควรเขียนข้อจำกัดความรับผิดของบริษัทประกันภัยรวมถึงกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยกรณีได้รับความเสียหายตามสัญญาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อให้ผู้เอาประกันภัยจะได้ทราบถึงสิทธิเรียกร้องของตนเองในเวลาที่เกิดความเสียหายขึ้น จากสภาพปัญหาของสัญญาประกันภัยที่มีความไม่ชัดเจน เคลือบคลุม ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมขึ้นกับผู้เอาประกันภัย และความไม่ชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเมื่อเกิดวินาศภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยขึ้นก็จะมีการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการคำนวณการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยพิทักษ์ร้านทอง ก็มีการชดใช้ให้ไม่เต็มตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสนใจและเห็นถึงความจำเป็นว่าจะต้องทำสารนิพนธ์เรื่องนี้ เพื่อที่จะศึกษาและนำผลของการวิเคราะห์ปัญหาที่พบมาเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมกฎระเบียบหรือกฎหมายที่ใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพต้องตามวัตถุประสงค์ของการประกันภัยให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นธรรมต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยต่อไปรายการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริม(2551-06-26T06:41:53Z) วรัญญู วงศ์พินทุการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้ครอบคลุมธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมนี้ ซึ่งการประกอบธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมนี้ได้ใช้วิธีการทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภค ทั้งในลักษณะที่เป็นการติดต่อกับผู้บริโภค นอกสถานที่โดยการสาธิตคุณภาพของสินค้า ให้ผู้บริโภคได้เห็น เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าที่เรียกว่าการขายตรง การทำการตลาดวิธีดังกล่าวเป็นตลาดในเชิงรุก จำเป็นต้องใช้วิธีการระดมเครือข่ายผู้ขายตรงเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ใช้วิธีระดมเครือข่ายในการหลอกลวงให้มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ขายตรงในทางมิชอบ การตลาดเชิงรุกนี้ทำให้ผู้บริโภค อยู่ในภาวะที่ไม่อาจตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ วิธีการขายแบบเชิงรุกนี้หากมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าในด้านของการระดมหรือเครือข่ายผู้ขายตรงหรือการขายสินค้าไม่ตรงกับคำกล่าวอ้าง ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เข้าไปเป็นเครือข่ายในการขายตรง และต่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยทั่วไป ผู้เขียนได้ศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2541 และกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจคุ้มครองและครอบคลุมปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในปัจจุบันทั้งหมดได้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากตัวบทกฎหมายและมาตรการบังคับใช้ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือเกิดจากการขัดแย้งกันทางกฎหมาย เนื่องจากธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ บางครั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงยังไม่ชัดเจน ต้องใช้กฎหมายหลายฉบับมาปรับใช้จนอาจขัดแย้งกันได้ นอกจากนั้นความไม่รัดกุมของกฎหมายอาจทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ และกฎหมายที่มีอยู่ไม่มีบทลงโทษที่เข้มงวดกับผู้จำหน่ายตรง เป็นเหตุให้ผู้จำหน่ายตรง อาจกระทำผิดไปจากกฎหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจไม่เข้าใจกฎหมายหรือพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพียงพอเพราะไม่ได้ศึกษาโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายหลายประการได้ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เข้มงวด บังคับ ควบคุม ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมอย่างจริงจังเด็ดขาดเมื่อเกิดการกระทำผิด ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย และไม่ให้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและไม่เป็นธรรมในสังคม จึงได้นำปัญหาและอุปสรรคข้อบกพร่องต่างๆ ที่มีผลต่อผู้บริโภคและปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกิจการขายตรงอาหารเสริม ในปัจจุบันมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข มาตรการทางกฎหมายต่างๆ โดยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการเร่งรัดและแก้ไขปัญหากฎหมายพร้อมทั้งมาตรการทางกฎหมาย นำมาใช้บังคับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอาหารเสริม ให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนผู้บริโภคให้มีการรวมตัว มีการสร้างมาตรฐานต่างๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่รัดกุมและเข้มงวด และบังคับให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างในการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับธุรกิจการขายตรงอาหารเสริมในภายหน้าเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคต่อไปรายการ ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์(2551-07-01T08:11:50Z) มิตรชาย ก่ำทองการศึกษาในเรื่อง “ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์” ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงบทบัญญัติทางกฎหมายในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหาย ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย โดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษานี้ ได้มาจากบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เอกสารสัมมนา และคำพิพากษาของศาลต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสัมพันธ์กับเรื่องปัญหาในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นการบังคับเกี่ยวกับกรณีที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง และก็ไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกำหนดค่าเสียหายประเภทต่าง ๆ รวมถึงปัญหา และวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายไว้ อันมีผลทำให้ศาล และคู่ความในคดีไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการนำสืบพิสูจน์ของค่าเสียหายได้อย่างเหมาะสมกับข้อพิพาท ซึ่งในกรณีที่ได้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้น ในประเด็นในเรื่องเดียวกันนี้ กฎหมายต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มากกว่าของไทย อำนาจของศาลนั้นเป็นอำนาจอิสระ และเป็นดุลพินิจของศาลแต่ละท่าน ดังนั้น เมื่อมีหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วศาลซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีจะได้มีแนวทางในการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหายตามความเป็นจริง เพราะศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน และมีปริมาณของข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าคดีทั่ว ๆไป ประเทศไทยจึงควรศึกษา และนำหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวมาวิเคราะห์ เพื่อปรับใช้เป็นแนวทาง การพัฒนา และแก้กฎหมายของประเทศไทยในเรื่องเดียวกันต่อไป สารนิพนธ์นี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 และมาตรา 65 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 12 โดยบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงคำร้องว่าควรจะเป็นคำขอฝ่ายเดียว และการบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลย หรือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างว่าได้กระทำละเมิด สามารถทำการยื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ และการให้วางประกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงการบัญญัติถึงระยะเวลาสิ้นสุดของคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ โดยควรมีการบัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่องประเภท หรือลักษณะของค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากการทำละเมิด หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับปัญหาการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีแต่ละประเภท รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรการการบังคับพยานที่มาให้เป็นพยาน หรือบันทึกถ้อยคำไว้แล้วไม่มาศาล เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม ให้คำพิพากษาของศาลมีความชัดเจน และเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »