BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Casual Factor Study Influenced toOrganizational Commitment of Generation of Y Personnel Working in Energy Business and Public Utility in Thailand(sripatum University, 2559-07-21) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของแบบจำลองความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย จำนวน 300 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ในประเทศไทย พบว่า ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 8.77 ที่ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom) 11 มีค่าความน่าจะเป็นเข้าใกล้ 1 (p = 0.64291) นั่นคือ ค่าไค-สแควร์ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) รวมทั้งค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 และ .96 ตามลำดับ แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม (TE) สูงสุดต่อความผูกพันต่อองค์กร (CORG) คือ องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (LEAD) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .63 รองลงไปคือ องค์ประกอบด้านความพึงพอใจในงาน (JSAT) และองค์ประกอบด้านบรรยากาศองค์กร (OCLI) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .38 และ .37 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง (DE) พบว่า องค์ประกอบด้านความพึงพอใจในงาน (JSAT) มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความผูกพันต่อองค์กร (CORG) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .38 รองลงไป คือ องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (LEAD) และองค์ประกอบด้านบรรยากาศองค์กร (OCLI) โดยมีค่าอิทธิพล เท่ากับ .32 และ .31 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลระหว่างปัจจัย พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์กร ได้ร้อยละ 84.00 (R2 = 0.84) และ มีสมการโครงสร้าง คือ CORG = 0.38(JSAT) + 0.31(OCLI) + 0.32(LEAD)รายการ บรรยากาศในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านธุรกิจโรงแรม เขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 2567-12-01) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ศุภาสิณีย์ กาญจนโรจน์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านธุรกิจโรงแรมเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศึกษาบรรยากาศในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านธุรกิจโรงแรม เขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานด้านธุรกิจโรงแรมเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 375 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย ดังนี้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับบรรยากาศในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรต่างกัน และบรรยากาศในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การรายการ บรรยากาศในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านธุรกิจโรงแรม เขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 2567-12-01) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ศุภาสิณีย์ กาญจนโรจน์รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย(วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2567-12-01) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ภาวิศา การัตน์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานของธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มในประเทศไทย และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดาเนินงานของธุรกิจอาหารและ เครื่องดื่มในประเทศไทย ผู้วิจัยกาหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไปที่ ปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจที่อยู่ในหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยเท่านั้น จานวน 300 คน ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นามา วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใน การศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอย พหุคูณ สาหรับค่านัยสาคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กาหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มใน ประเทศไทย อยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ส่งผลต่อผลการดาเนินงานของธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยอยู่ในระดับมากรายการ แบบจำลองความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศไทย(2560, 2560-12) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์; วิชิต อู่อ้นบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อน าเสนอความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ผ่านมา เพื่ออธิบายถึง ความหมายและความเป็นมา องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัย เอกสารจากบทความทั้งสิ้น 291 บทความ สามารถน ามาใช้ได้จริง 152 บทความ โดยมีแหล่งที่มาของบทความจากฐานข้อมูลต่างๆ และน าข้อมูล เหล่านี้มีวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ตัวแปรที่ได้รับความนิยมใช้ศึกษาความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน ประกอบด้วย ระบบการท างาน ทุนมนุษย์ เครือข่ายทางธุรกิจ ความสามารถทางเทคโนโลยี องค์กรแห่งนวัตกรรม