BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 49
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Air Travel Behavior and Attitude of Domestic Passengers toward Low Cost Airline Services(CHOPHAYOM JOURNAL, 2562-09) Chuleewan Praneetham; Prasert Sitthijirapat; Jaree Phrommana; Jutarat LaophramThe purpose of the research was to study the air travel behavior and attitude of domestic passengers toward low-cost airline services. The samples of the study were 400 Thai passengers selected by purposive sampling technique. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by different methods as follows: percentage and frequency were used to analyzed basic data. Mean and standard deviation were used to analyze attitude toward low-cost airline services. Pearson chi-square was used to analyze the relationship between demographic factors on behavior toward air travel, t-test was used to analyze passengers’ attitudes toward low-cost airline services with different genders, and One-way-ANOVA was used to analyze passengers’ attitude toward low-cost airline services by age, education, and occupation factors. The study indicated that the main objective for flying was leisure. The respondents came along with 2-3 companions. They used service 1-5 times yearly. Most of them traveled on Monday to Friday, reserved air tickets via airline mobile application. They, mostly, bought tickets 1 month in advance, and paid by credit card. Most of them checked in via checked-in counter. They searched and received the information about the airline services from the internet. The research findings revealed that personal factors; gender, age, education, and occupation were highly correlated with consumers’ behavior of low cost airlines at the 0.05 level of statistical significance. The passengers had high level of satisfaction for check-in, boarding service, and baggage services. Results also showed that different gender, age, education, and occupation factors were not difference significantly to attitude of domestic passengers toward low-cost airline services. The information from this research can be used to set a plan for marketing mix strategy of low cost airline in order to increase the number of their customers.รายการ Aviation Accidents Caused by Human Error(2565-08-07) Ratthapong Ma-soom; Vichit U-on; Kingkeaw PornapiraksakulThis independent research the objectives were 1) to study the factors of human error, 2) to study air transport accidents, and 3) to study the relationship between human error affecting air transportation accidents of airline employees. The sample group used in this research was airline employees. By using questionnaires as a tool to collect data The statistics used in the descriptive analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Test the hypothesis to compare the results of the research. It was found that human error affecting air transportation accidents of airline employees. Overall, it was at a low level. Operational efficiency of airline personnel the overall picture is at a high level. Individual factors with different gender, age, occupation, status, age of employment and income It is effective in performing different tasks. And in each aspect of behavior while working and the aspect of violating the rules while working is different from person to personรายการ Casual Factor Study Influenced toOrganizational Commitment of Generation of Y Personnel Working in Energy Business and Public Utility in Thailand(sripatum University, 2559-07-21) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของแบบจำลองความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย จำนวน 300 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ในประเทศไทย พบว่า ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 8.77 ที่ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom) 11 มีค่าความน่าจะเป็นเข้าใกล้ 1 (p = 0.64291) นั่นคือ ค่าไค-สแควร์ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) รวมทั้งค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 และ .96 ตามลำดับ แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม (TE) สูงสุดต่อความผูกพันต่อองค์กร (CORG) คือ องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (LEAD) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .63 รองลงไปคือ องค์ประกอบด้านความพึงพอใจในงาน (JSAT) และองค์ประกอบด้านบรรยากาศองค์กร (OCLI) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .38 และ .37 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง (DE) พบว่า องค์ประกอบด้านความพึงพอใจในงาน (JSAT) มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความผูกพันต่อองค์กร (CORG) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ .38 รองลงไป คือ องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (LEAD) และองค์ประกอบด้านบรรยากาศองค์กร (OCLI) โดยมีค่าอิทธิพล เท่ากับ .32 และ .31 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลระหว่างปัจจัย พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์กร ได้ร้อยละ 84.00 (R2 = 0.84) และ มีสมการโครงสร้าง คือ CORG = 0.38(JSAT) + 0.31(OCLI) + 0.32(LEAD)รายการ The Contemporary of Single Dad in Thai Society(วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2558-07) Warunsiri Praneetham; Asst.Prof.Prasert Sitthijirapat, Ph.DGlobalization brings many changes to Thai society. One of them was single parent status. This article aims to present review of the contemporary of single dad in Thai society, role of single dad in Thai society, and the impact of became to single dad.Moreover, the paper also reviews the public policy and useful sources for single dad. The contribution of article would provide more understanding of single dad.รายการ Driving Sustainable and Inclusive Growth in the Wellness Industry in Thailand(Sripatum University, 2567-04) รวิภา อัครจินดานนท์; อนุพงศ์ อวิรุทธาThe Thai wellness industry. Employing qualitative research methods, it analyzes the challenges and opportunities for driving sustainable and inclusive growth in the Thai wellness sector. The findings suggest that while sustainability practices are gaining traction, the industry must do more to enhance inclusivity in wellness services, ensuring accessibility and affordability to a broader segment of the population. This article underscores the importance of aligning the wellness industry in Thailand with sustainability and inclusivity goals to promote both individual well-being and the well-being of the broader community.รายการ Marketing Mix and International Tourists' Consumer Behavior Towards Thai Street Food in Thailand After Post-COVID 19 Era(Sripatum University, 2566-12) อนุพงศ์ อวิรุทธา; รวิภา อัครจินดานนท์This study attempts to explore the factors that influence their preferences, decision-making, and overall satisfaction in order to gain insights into the role street food plays in shaping their cultural experience during their visit to Thailand. The respondents in this study were international tourists in Bangkok. The numbers of respondents are 200 respondents. The participants in this study are voluntary and anonymity. Descriptive, frequency, percentage distributions, Xs are used to describe and report the information collected affecting to individual variables and demographic information. The regression equation provided represents a statistical model that examines the relationship between the independent variables (product, price, place, and promotion) and the dependent variable (street food experience). It reveals that all four independent variables have positive coefficients, suggesting that improvements in product quality, reasonable pricing, attractive place (location), and effective promotions can enhance the overall street food experience.รายการ Model of relationship of factors influencing the performance of the food and beverage business in Thailand.(วารสาร UTCC International Journal of Business and Economicsปีที่ 11 ฉบับที่ 2หน้า 179-198, 2562-08-01) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกลุThe purposes of the research entitled, “Model of relationship of factors influencing the performance of the food and beverage business in Thailand” were to study factor influencing business operational results of food and beverage industry in Thailand, the direct, indirect and overall influence of a causal relationship model and to ascertain the validity of developed model in comparison with the available empirical data of food and beverage industry operational results in Thailand. The relationship between developed model and empirical data of business operations of food and beverage industry in Thailand was also under the study. Total 300 section head and higher up of food and beverage industry were selected as research samples from the reliable stock listed companies. SPSS computerized program is engaged in analyzing and processing the collected questionnaires, having statistical significance 0.05. Data were analyzed using are Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation or S.D., Confirmatory Factor Analysis, and Coefficient Correlation of research model with the empirical evidenceรายการ The Impact of the European Green Deal on Thailand's Exports to the EU(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 2567-06) Suthinee Mongkol and Tammanoon WisitsakThis research investigates how the Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) will impact Thailand's exports of steel and iron to the European Union (EU). The European Green Deal (EGD) is the European Commission's policy that aims to promote a green transition, along with the plan to make Europe the first continent to be climate neutral by 2050. This includes the sought-after Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM), which levies tariffs on carbon-importing goods to the EU. This research (1) evaluate how CBAM would affect Thailand's exports of steel and iron to the EU (2) explore the perceptions and preparedness of Thai export firms regarding CBAM (3) provide policy recommendations to mitigate adverse effects and leverage potential opportunities for Thailand. The study identifies concerns regarding cost rise and competitive loss based on semi-structured interviews with ten Thai export firms. The ten companies interviewed are located in various industrial regions of Thailand, including Bangkok, Samut Prakan, and Chonburi. It has also indicated that Thai manufacturers should embrace environmentally friendly production practices to manage these impacts effectively. The study also suggests that Thai policymakers should ensure that the CBAM legislation is accompanied by viable instrumental and technical support to reduce the initial cost borne by iron and steel traders in Thailand. Exporters must embrace innovations and improve their energy systems so that their products remain relevant in the EU region. Legal specifications and adequate communication systems with exporting entities and EU institutions are essential in managing CBAM provisions to sustain access to the market. The findings from the interviews revealed that Thai firms are concerned about the increased costs and potential competitive disadvantages. The companies expressed the need for technical assistance and clear communication to mitigate these impacts.รายการ The Perception and Attitude of Consumers toward the Intention to Use Digital Payment System in Cashless Society Era in Thailand(Rajabhat Maha Sarakham University, 2563-07) Anupong Avirutha; Ravipa Akrajindanon; Supawadee Hamanee; Rachata Rungtrakulchai; Woradech Na Krom; Mada ChayatattoThe purpose of this research is to study the perception and attitude of customer toward digital payment system in the cashless society era. The data set of 400 samples are collected. The findings show that Thai consumers are perceived of digital payment system the at the high level. Furthermore, the Thai consumers understand about the digital payment system at high level of the understanding. Additionally, they also perceived of the digital payment system policy at the high level. The results show a significant relationship among perceive and attitude toward digital payment system and intention to use digital payment system.รายการ การนำนโยบายกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปปฎิบัติ : กรณีสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2550(2553) เอกอนันต์ ณ เชียงใหม่รายการ รายการ การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการ EDFR(วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 2566-04-25) เพียงใจ คงพันธ์; อนงค์ ไต่วัลย์; ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ขั้นตอน คือ 1) EDFR รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 19 คน 2) EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม ให้พิจารณาคำตอบและยืนยันความสอดคล้องของข้อมูล หาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติในเชิงพื้นที่ คือ 1.1) ชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ 1.2) ชุมชนมีความตระหนักรู้ในคุณค่าของชุมชนโดยเจ้าของวัฒนธรรม 2) คุณสมบัติในเชิงกระบวนการ คือ 2.1) นักท่องเที่ยวกับชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2.2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม 2.3) นักท่องเที่ยวเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ท่องเที่ยว 2.4) ไม่ทำลายคุณค่าของชุมชนแต่กลับนำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 2. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วยหลักการพัฒนา 2 ด้าน คือ 1. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 1.2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต 1.3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 1.4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 1.5) ด้านการบริการและความปลอดภัย 2. ด้านการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ 2.1) ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2.2) การตลาดเชิงสร้างสรรค์ 2.3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์รายการ การพัฒนาบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การในเขตอุตสาหกรรม 304 พาร์ค 7 จังหวัดปราจีนบุรี(2553) ชื่นชีวัน นีซังรายการ การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2565-06-13) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และรูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาMGT 423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ และ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาMGT423สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนในรายวิชา MGT 423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 73 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านภาพรวมผลการเรียนรู้ของนักศึกษา รายวิชา MGT423 สัมมนา ทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุดและอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา MGT423 สัมมนา ทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับสูงรายการ การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเพื่อการบริการวิชาการสู่สังคมภายใต้ยุคดิจิทัลเพื่อเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หน้า 83-92, 2566-06-13) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และรูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาMGT 423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ และ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาMGT423สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนในรายวิชา MGT 423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 73 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชา MGT423 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านภาพรวมผลการเรียนรู้ของนักศึกษา รายวิชา MGT423 สัมมนา ทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุดและอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา MGT423 สัมมนา ทางการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ อยู่ในระดับสูงรายการ การศึกษาระบบขนส่งและเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายน้ำมัน กรณีศึกษา ธรกิจรับจัดการขนส่งน้ำมัน(2553) นภัสวรรณ เรือนเพชรรายการ การศึกษาแนวทางการลงทุนด้วยการประยุกต์ใช้ลิเนียโปรแกรมมิ่ง:กรณีศึกษาสหกรณ์ ออมทรัพย์มหาวิทยาเกษตรศาสตร์(มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 2563-10) สุภาวดี ฮะมะณีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาแนวทางการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยง จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการลิเนียโปรแกรมมิ่งเพื่อใช้ในการลงทุน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ด้านงบการเงิน จากรายงานประจำปีของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงเวลาตั้งแต่ เดือนมกราคม ปี 2551 ถึงเดือนธันวาคม ปี 2562 เป็นระยะเวลา 12 ปี โดยข้อมูลด้านงบการเงิน ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากประจำ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเงินลงทุนในสหกรณ์อื่น ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลตอบแทนของแบบจำลองลิเนียโปรแกรมมิ่งของตลาดมีค่าBi เท่ากับ 0.944 อัตราผลตอบแทนที่ต้องการร้อยละ 4.97 จากการศึกษา อัตราผลตอบแทนของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากรายงานประจำปี มีอัตราผลตอบแทนที่ต้องการร้อยละ 3.40 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนของสหกรณ์ที่ได้รับจากแบบจำลองลิเนียโปรแกรมมิ่ง มีอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ สูงกว่าอัตราผลตอบแทนจากข้อมูลรายงานประจำปี การเปรียบเทียบผลการลงทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากรายงานประจำปี มีสินทรัพย์ในการลงทุนเท่ากับ 14,718,541,187.78 บาท ได้รับผลตอบแทนเท่ากับ 518,035,041.79 บาท ส่วนในแบบจำลองลิเนียโปรแกรมมิ่งนั้นได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 731,879,388.6 บาท ซึ่งผลตอบแทนที่จากการลงทุนสูงกว่าผลตอบแทนจากรายงานประจำปีของสหกรณ์รายการ การสร้างความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์เกษตรชุมชนด้วยการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ(Journal of Marketing and Management, 2566-10-10) วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการบริหารจัดการในระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ของ ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์และพัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์เกษตร อินทรีย์สู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วน การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการถอดบทเรียน โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ นักการตลาด และนักวิชาการในชุมชน จำนวน 9 คน ในพื้นที่ปริมณฑล 2 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัด นครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร และนำมาถอดบทเรียน ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์ สมการ เชิงโครงสร้าง (SEM) ใช้แนวทางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 540 ตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับการ ใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตร ในรูปแบบออนไลน์โดยทำการสำรวจในพื้นที่ปริมณฑล ผลการวิจัยพบว่า โมเดลตามสมมติฐานที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือกล่าว อีกนัยคือ (1) การบริหารการผลิต และการบริหารพันธมิตร ส่งผลโดยตรงต่อการบริหารการจัดจำหน่าย การบริหารโลจิสติกส์ การบริหารการตลาด และ (2) การบริหารการจัดจำหน่าย การบริหารโลจิสติกส์ การบริหารการตลาด ส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งโมเดลนี้ สามารถ อธิบายความแปรปรวนของผลิตภัณฑ์การเกษตรชุมชนที่ยั่งยืนได้ร้อยละ 83.12 โดยผลการวิเคราะห์ เส้นทางมีความกลมกลืนกันกับโมเดลเชิงประจักษ์คือ χ2/df=1.213, p=0.1057, CFI= 0.975, GFI=0.963, AGFI=0.932, RMSEA=0.034รายการ การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วารสารวิิชาการ มหาวิิทยาลััยราชภััฏกาญจนบุุรีี, 2565-01) ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียม ความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 3) เสนอแนวทางสำหรับการเตรียมตัว เกษียณอายุสำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา เอกชนในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติพรรณนาที่นำมาวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติอนุมานที่นำมาทดสอบสมมติฐานคือ สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุงานของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านจิตสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อม เพื่อเกษียณอายุอยู่ในระดับมาก เมื่อทดสอบความต่างของปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการ เตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ สถานภาพทางการสมรส รายได้ต่อเดือน และความเพียงพอของรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุต่างกัน 2) ปัจจัย ด้านจิตสังคมและปัจจัยด้านทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ และ 3) แนวทางการเตรียมตัวเกษียณอายุสำหรับอาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ (1) ควรสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับการติดต่อเพื่อช่วยเหลือกัน (2) ควรมี การวางแผนทางการเงินที่ดี (3) ควรให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ควรเข้ามา ช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น การให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมรายการ ความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางอยู่เป็นประจำในการรับบริการมื้ออาหารบนเครื่องบินโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 2567-06) ธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์ และสุธินี มงคลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารที่มีการเดินทางอยู่เป็นประจำในประเด็นการรับบริการอาหารบนเครื่องบินโดยวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารชาวไทยที่เป็นสมาชิกระดับสูงของสายการบิน มีการเดินทางในเส้นทางในประเทศและต่างประเทศรวมกันเกิน 50,000 ไมล์ต่อปีหรือเทียบเท่าตามเกณฑ์ของแต่ละสายการบิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 20 ท่าน จากหลากหลายอาชีพ ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกพึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1. มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม 2. เกิดความภาคภูมิใจในสายการบิน 3. มีความปลอดภัยมากกว่า 4. ไม่ได้มีความคาดหวังกับบริการอื่นนอกเหนือจากการขนส่ง 5. การลดต้นทุนของสายการบินซึ่งอาจนำไปสู่การลดราคาของบัตรโดยสารได้และร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่พึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อเช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ 1. ขาดความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้งาน 2. ไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาด 3. ไม่มั่นใจว่าจะเป็นการสร้างขยะเพิ่มหรือไม่ 4. เสียภาพลักษณ์ของสายการบิน 5. ไม่เชื่อมั่นในนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายการบิน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่สายการบินควรพิจารณาเรื่องการสื่อสารและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้อย่างทั่วถึงแก่ผู้โดยสารเพื่อยกระดับความพึงพอใจให้มีมากขึ้น
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »