GRA-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-08. ผลงานนักศึกษา โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 42
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) วราภรณ์ ชาวเวียงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 ประการ ของข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความต้องการของมนุษย์ ด้านแรงจูงใจกับการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือ ข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จำนวน 158 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test , One-way Anovaรายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วิไลพร ชนะศึกการศึกษาเรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เครื่องมือศึกษาเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และจ้างเหมาดำเนินงาน ที่ปฏิบัติงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 232 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุรเดช จองวรรณศิริการวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนสนใจ โดยประชากรที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นนักลงทุนบุคคลที่มี ประสบการณ์ ความรู้ และความตระหนักในการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ จำนวน 460 คน ผลการ วิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างปรากฏอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆรายการ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ณัฏฐิญา บัวรุ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจของข้าราชการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test และ F-testรายการ การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี(หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภค เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภค และเพื่อศึกษาถึงปัญหาและข้อเสนอแนะในการนำข้อมูลบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคไปใช้ในอนาคต โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ทุกเพศ ทุกวัย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นจำนวน 402 คน โดยใช้สูตรการคำนวนจาก Taro Yamane โดยในการคำนวณหาค่าที่ระดับความเชื่อมั่นโดยคำนวนที่ค่าความเชื่อมั่น 95% โดยศึกษาเชิงประยุกต์ (Apply research) และศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) และสถิติอ้างอิง หรือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) โดยทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในกรณีนี้จะใช้ Chi-square Test ในการทดสอบระดับนัยยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95รายการ ความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุนิศา สุตตสันต์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.(2).เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.994 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยการทดสอบด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันรายการ ตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(Sripatum University, 2560) ภรณี หลาวทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความ สามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (3) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับ 4-5 ดาว จำนวน 420 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 324 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 77.14 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงการ (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรพื้นฐาน ระบบการทำงาน และบทบาทของภาครัฐ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์กร ความสามารถทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรรายการ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการทำบัตรประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ธเนศ วงษ์ไทยการศึกษาวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการทำบัตรประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการการทำบัตรประจำตัวประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ด 2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณใช้ประชากร คือ ประชากรของตำบลปากเกร็ด จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติ t – test สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One - way ANOVA สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้มากกว่า 2 กลุ่มรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล(Sripatum University, 2560) สุรเดช จองวรรณศิริการวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนสนใจ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นนักลงทุนบุคคลที่มีประสบการณ์ ความรู้ และความตระหนักในการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ จานวน 460 คน ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างปรากฏอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของนักลงทุนตามระดับความสามารถในการรับความเสี่ยง แหล่งข้อมูลที่นักลงทุนให้ความสนใจ การรับรู้ต่อปัจจัยทางการบริหารของบริษัท และความคาดหวังต่อผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทของนักลงทุน นอกจากนั้นจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจในข้อมูลชุดเดียวกัน ปรากฏผลที่แสดงถึงกระบวนการตัดสินใจของนักลงทุนไทยที่จะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่สนใจด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัทใน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานของบริษัทกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท และผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ โดยผลการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแบบที่พัฒนาขึ้นและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นนักลงทุนบุคคล สามารถแสดงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนควรได้ตระหนักความสำคัญของปัจจัยดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ บริษัทผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคตต่อไปรายการ ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ 4(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) จิราภรณ์ แก้วเชือกหนังการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการ โรงเรียนธัญบุรี ตามหลักสังคหวัตถุ 4 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนธัญบุรี ตามหลักสังคหวัตถุ 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนธัญบุรี ตามหลัก สังคหวัตถุ 4 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูผู้สอนของโรงเรียนธัญบุรี จำนวน 100 คน ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วมาทำการวิเคราะห์สามารถ สรุปผลการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test และ F-test และกําหนดค่าระดับความเชื่อมั่น (ระดับนัยสําคัญ) ที่ 0.05รายการ คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสังกัดส่วนการเจ้าหน้าที่ สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เขมเรศ อภิสุทธิพงษากุลการศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสังกัดส่วนการเจ้าหน้าที่ สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสังกัดส่วนการเจ้าหน้าที่ สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้ และตำแหน่งหน้าที่ โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรสังกัดส่วนการเจ้าหน้าที่ สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ศึกษาได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มประชากรด้วยการใช้สูตร Yamane (1973) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากร ทั้งสิ้นรวม 63 คน และสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยใช้สถิติ t - test และ One - way ANOVAรายการ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการของกองพันทหารราบ ที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ชาญยุทธ แคล้วปลอดทุกข์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ 2. เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบแรงจูงใจของข้าราชการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมกับความเป็นจริงและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จำนวน 259 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว และแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการของกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาดำเนินการแจกแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ และ F-test และกําหนดค่าระดับความเชื่อมั่น (ระดับนัยสําคัญ) ที่ 0.05รายการ คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)(Sripatum University, 2560) ศิริพร เสนามนตรีการค้นคว้าอิสระ เรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของ BEDO จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานของ BEDO จำนวน 73 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ t-test และสถิติ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วย Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษา พบว่า 1.ผู้ปฏิบัติงานของ BEDO มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานของ BEDO มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับสูง 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และด้านสิทธิส่วนบุคคล รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด คือ ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านโอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของบุคคล ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสภาพการปฏิบัติงานมีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม เป็นลำดับสุดท้าย 2.ผู้ปฏิบัติงานของ BEDO ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สังกัดและอายุงาน แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ปฏิบัติงานของ BEDO ที่มีสถานะ ตำแหน่งปัจจุบันและเงินเดือนปัจจุบัน แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันรายการ ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พรณิชา จันทร์กลิ่นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของนักศึกษา เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและความพึงพอใจเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจ ของผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการให้บริการด้านคุณภาพเจ้าหน้าที่ ด้านการให้บริการ ด้านอาคารสถานที่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด จำนวน 250 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด สถิติในการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)รายการ แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของสถาบันการอาชีวศึกษา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุภัทรา สงครามศรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ สถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 115 แห่ง ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา แห่งละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 345 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2558 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 306 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)รายการ ความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ กรมกำลังพลทหารบก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศุภณัฐ ขันติวงศ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของกรมกำลังพลทหารบก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการ กรมกำลังพลทหารบก จำนวน 317 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามวัดความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของข้าราชการกรมกำลังพลทหารบก และข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาดำเนินการแจกแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test และ F-test และกําหนดค่าระดับความเชื่อมั่น (ระดับนัยสําคัญ) ที่ 0.05รายการ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ธิดารัตน์ พังงาการศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร มีวัตถูประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำแนกเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ เครื่องมือศึกษาเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรที่ใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก สัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 388 คน โดยใช้สถิติ t – test สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One - way ANOVAรายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เขมรินทร์ อภิสุทธิพงษากุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเ(2)เเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำเพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979เวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test)เและค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)รายการ ความสัมพันธ์ของประสบการณ์นักศึกษาที่ได้รับจากบุคลากรฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการกับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุวพัชร วุฒิเสน(1) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเหตุที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนกับความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่งทั่วประเทศ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,000 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน 2556 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 625 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 62.5 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)รายการ ตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภรณี หลาวทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความ สามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (3) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับ 4-5 ดาว จำนวน 420 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 324 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 77.14
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »