GRA-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-08. ผลงานนักศึกษา โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 42
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการความรู้ของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) การรุ้ง หาสารีสรการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง 2. เพื่อเปรียบเทียบการจัดการความรู้สถาบันจิตวิทยาความมั่นคงจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ บุคลากรจากหน่วยงานในสถาบันสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง หน่วยขึ้นตรงในกองทัพไทย จำนวน 57 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทีละคู่ โดยวิธีทดสอบรายคู่ของ LSD test ในกรณีที่ผลการทดสอบให้ค่าแตกต่างกันระหว่างประชากรรายการ การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) วราภรณ์ ชาวเวียงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 ประการ ของข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความต้องการของมนุษย์ ด้านแรงจูงใจกับการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือ ข้าราชการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จำนวน 158 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test , One-way Anovaรายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เขมรินทร์ อภิสุทธิพงษากุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเ(2)เเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำเพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979เวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test)เและค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)รายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วิไลพร ชนะศึกการศึกษาเรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เครื่องมือศึกษาเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และจ้างเหมาดำเนินงาน ที่ปฏิบัติงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 232 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวรายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภมร วงษ์ศรีจันทร์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 125 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ค่า f-testรายการ การศึกษาความสอดคล้องแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับกลยุทธ์ธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานองค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2560) พิชัย พันธุ์วัฒนาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุที่มีผลต่อแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2.) เพื่อศึกษาอิทธิพลการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และ 3.) พัฒนาแบบจำลองความสอดคล้องของแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) คือ การดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ร่วมการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 678 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นร่วมกับการสุ่มตัวอย่างกระจายแบบง่ายได้รับข้อมูลกลับทั้งสิ้น 382 ตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์และแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลลัพธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และผลการดำเนินงานขององค์กร ผลลัพธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร นอกจากนั้นผลการดำเนินงานขององค์กรยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากกลยุทธ์ธุรกิจและแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ การศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง พละ 5 และพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย(หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ชัยนรินท์ ธีรไชยพัฒน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นองค์ประกอบตัวแปรสังเกตของตัวแปรแฝงในตัวแบบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในปัจจัยพละ 5 ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท พฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทย 2) ศึกษาระดับพละ 5 ระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และระดับความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทย ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาทของกลุ่มผู้บริหารในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทยและ 3) ทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยพละ 5 ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาทพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธนาคารพานิชย์ไทย 4 แห่ง จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างรายการ การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วชิระ สรรพศรีการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ ระหว่างบรรยากาศองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.905 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง จำนวน 389 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test (One Way ANOVA) และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิเคราะห์แบบ (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับประ สิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01รายการ การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี(หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภค เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภค และเพื่อศึกษาถึงปัญหาและข้อเสนอแนะในการนำข้อมูลบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคไปใช้ในอนาคต โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ทุกเพศ ทุกวัย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นจำนวน 402 คน โดยใช้สูตรการคำนวนจาก Taro Yamane โดยในการคำนวณหาค่าที่ระดับความเชื่อมั่นโดยคำนวนที่ค่าความเชื่อมั่น 95% โดยศึกษาเชิงประยุกต์ (Apply research) และศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) และสถิติอ้างอิง หรือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) โดยทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในกรณีนี้จะใช้ Chi-square Test ในการทดสอบระดับนัยยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95รายการ ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พรณิชา จันทร์กลิ่นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของนักศึกษา เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและความพึงพอใจเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจ ของผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการให้บริการด้านคุณภาพเจ้าหน้าที่ ด้านการให้บริการ ด้านอาคารสถานที่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด จำนวน 250 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้มารับบริการในงานด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี สาขาปากเกร็ด สถิติในการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)รายการ ความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ กรมกำลังพลทหารบก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศุภณัฐ ขันติวงศ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของกรมกำลังพลทหารบก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการ กรมกำลังพลทหารบก จำนวน 317 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามวัดความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของข้าราชการกรมกำลังพลทหารบก และข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาดำเนินการแจกแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test และ F-test และกําหนดค่าระดับความเชื่อมั่น (ระดับนัยสําคัญ) ที่ 0.05รายการ ความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุนิศา สุตตสันต์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.(2).เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.994 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยการทดสอบด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันรายการ ความพึงพอใจของกำลังพลนายสิบต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กองพันทหารสื่อสารที่ 21(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สิทธิพล ปัญญาศิริการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกำลังพลนายสิบต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กองพันทหารสื่อสารที่ 21 2) เพื่อเปรียบเทียบผลต่อความพึงพอใจของกำลังพลนายสิบต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กองพันทหารสื่อสารที่ 21 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ กำลังพลนายสิบกองพันทหารสื่อสารที่ 21 จำนวน 117 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVAรายการ ความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ระบบคอร์สเรียนส่วนตัว กรณีศึกษา โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์(หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พิมพ์ชนก คงบุ่งคล้าการค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ระบบคอร์สเรียนส่วนตัว กรณีศึกษา โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ระบบคอร์สเรียนส่วนตัว และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานระบบคอร์สเรียนส่วนตัว โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนที่เรียนกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แบบสอบถาม ซึ่งจำแนกตามสถานภาพ โดยมีประเด็นการวัดความพึงพอใจ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการทำงาน/การให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านห้องเรียนและสถานที่เรียน ด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบระบบ และด้านความเหมาะสมของราคา สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลจากการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ใช้ระบบคอร์สเรียนส่วนตัว มีความพึงพอใจด้านกระบวน การทำงานการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านห้องเรียนและสถานที่เรียน ด้านประสิทธิภาพ และประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบระบบ และด้านความเหมาะสมของราคา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ปัญหาจากการสอบถามนักเรียนที่ใช้งานระบบคอร์สเรียนส่วนตัวเกิดจากการออกแบบระบบการจัดวางรูปแบบเมนูยากต่อการใช้งาน การแสดงภาพ เสียง ตัวอักษร และข้อมูลต่าง ๆช้าโดยเฉพาะในบางช่วงเวลาที่มีนักเรียนเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากรายการ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ธิดารัตน์ พังงาการศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร มีวัตถูประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำแนกเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ เครื่องมือศึกษาเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรที่ใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก สัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 388 คน โดยใช้สถิติ t – test สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One - way ANOVAรายการ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการทำบัตรประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ธเนศ วงษ์ไทยการศึกษาวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการทำบัตรประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการการทำบัตรประจำตัวประชาชนของเทศบาลนครปากเกร็ด 2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณใช้ประชากร คือ ประชากรของตำบลปากเกร็ด จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติ t – test สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One - way ANOVA สำหรับตัวแปรที่แบ่งได้มากกว่า 2 กลุ่มรายการ ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: งานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) หทัยพันธุ์ ชัยพรประเสริฐการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจประชาชนที่มีต่อการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา : งานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจประชาชนที่มีต่อการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา : งานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ที่มีเพศ อายุ อาชีพ ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษารวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการให้บริการประชาชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มางานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 222 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล ในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ปริญญา วงศ์โกศลงานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ( 1 ) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19 ( 2 ) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและกำหนดกลุ่มตัวอย่างกำลังพลในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19 จำนวน 125 คน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในงานศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์สมมติฐานโดยใช้ One Way ANOVAรายการ ความสัมพันธ์ของประสบการณ์นักศึกษาที่ได้รับจากบุคลากรฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการกับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุวพัชร วุฒิเสน(1) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเหตุที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนกับความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่งทั่วประเทศ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,000 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน 2556 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 625 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 62.5 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)(Sripatum University, 2560) พวงเพชร บรรลุการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานพนักงานบริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) จำนวน 362 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ t-test และสถิติ One-Way ANOVA หากพบข้อแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LDS ( Least Significant Difference) และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »