GRA-08. ผลงานนักศึกษา

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 42
  • รายการ
    รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุทธิกันต์ อุตสาห์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือ ข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่าย ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอรามัน จังหวัดยะลา กำหนดระเบียบวิธีวิจัยแบบการ วิจัยเชิงคุณภาพโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ประชากรคือ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อำเภอรามัน จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 16 ตำบล 83 หมู่บ้าน จำนวน 163 คน และผู้ช่วยนักวิจัย จำนวน 16 คน เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1) การสังเคราะห์เอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสังเคราะห์ ประเด็นสถานการณ์สภาพปัญหาและอุปสรรค 3) การศึกษาสถานการณ์จริงในพื้นที่ 4) การกำหนดแนวทาง การปฏิบัติงาน
  • รายการ
    คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร กรณีศึกษา บริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วิลาวัลย์ ภโววาท
    การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร กรณีศึกษาบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.900 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและพนักงานบริษัท โสมาภา อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคม ด้านสิทธิของพนักงาน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.561 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  • รายการ
    คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน บริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เกดชนา วันทานี
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ 3) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน บริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรบริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด จำนวน 300 ราย จากจำนวนประชากร 1,137 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อายุงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยอายุ อายุงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันจะมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคง ด้านลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคม ด้านสิทธิของพนักงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ด้านลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงาน บริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ชนม์ขนิษฐ์ วิศิษฎ์สมบัติ
    ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ประเภทบุคลากร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน สถานภาพ และวุฒิการศึกษา เป็นต้น 2) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ 4) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน สังกัดสายวิชาการ และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน สังกัดสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏที่อยู่เขตจตุจักร และเขตบางเขน จำนวน 321 คน
  • รายการ
    แรงจูงใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานธุรกิจค้าปลีก สินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ชัชพร มานะกิจ; ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ
    ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบันระยะเวลาการปฏิบัติงาน รายได้ในปัจจุบัน เป็นต้น 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 205 ราย จากจำนวนประชากร 440 คน และวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า T-test ค่า F-test และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อัตราเงินเดือน มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การด้านความรู้สึก ของพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    คุณลักษณะของงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) นิตยา ปาปะเถ; ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และใช้สถิติได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคุณลักษณะของงานในระดับมากที่สุด และมีความผูกพันต่อองค์การในระดับมากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่แตกต่างกัน
  • รายการ
    ภาวะผู้นำที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) กฤติกา เตโช
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ บุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จำนวน 1,371 คน สามารถกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 310 คน จากสูตรการคำนวณของ Taro Yamane วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จุฑามาส พจน์สมพงษ์; ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2) ศึกษาภาวะผู้นำที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 108 ราย จากจำนวนประชากร 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านตำแหน่งงานมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โดยตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนและนักวิชาการคอมพิวเตอร์จะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน พบว่า ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในงาน และปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการทำงานมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการพลเรือนในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ชุดา บรรทม
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการพลเรือนในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร 2. เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และใช้สถิติได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ T-test และ ANOVA เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาสรุปว่าข้าราชการพลเรือนในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง แต่มีความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรคือระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05
  • รายการ
    การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วชิระ สรรพศรี
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ ระหว่างบรรยากาศองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.905 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง จำนวน 389 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test (One Way ANOVA) และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิเคราะห์แบบ (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับประ สิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  • รายการ
    การศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง พละ 5 และพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย
    (หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ชัยนรินท์ ธีรไชยพัฒน์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นองค์ประกอบตัวแปรสังเกตของตัวแปรแฝงในตัวแบบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในปัจจัยพละ 5 ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาท พฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทย 2) ศึกษาระดับพละ 5 ระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และระดับความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทย ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาทของกลุ่มผู้บริหารในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทยและ 3) ทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยพละ 5 ในผู้ปฏิบัติกรรมฐานในพุทธศาสนาเถรวาทพฤติกรรมด้านคุณธรรมในมิติของสังคหวัตถุ 4 และความสามารถเชิงปัญญาของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจธนาคารพานิชย์ไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ในธนาคารพานิชย์ไทย 4 แห่ง จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง
  • รายการ
    แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของสถาบันการอาชีวศึกษา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุภัทรา สงครามศรี
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ สถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 115 แห่ง ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา แห่งละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 345 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2558 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 306 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุรเดช จองวรรณศิริ
    การวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนสนใจ โดยประชากรที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นนักลงทุนบุคคลที่มี ประสบการณ์ ความรู้ และความตระหนักในการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ จำนวน 460 คน ผลการ วิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างปรากฏอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆ
  • รายการ
    ตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภรณี หลาวทอง
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความ สามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (3) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับ 4-5 ดาว จำนวน 420 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 324 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 77.14
  • รายการ
    ผลกระทบของวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในมุมมองของผู้บริหาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การโดยการวัดแบบสมดุล ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วิสิตศักดิ์ สุขสะอาดพสุ.
    การศึกษานีม้ีวัตประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีปฏิบตัิด้านทรัพยากรมนษุย์ การทำงาน เป็นทีมและการมีส่วนร่วม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กับผลการปฏิบตัิงานขององค์การใน ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ผ้วิจัยได้เก็บข้อมลูจากผ้บูริหาร โรงพยาบาลเอกชนโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 313 ฉบบั และได้ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยการ วิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ผลที่ได้จากการศกึษาพบว่า วิธีปฏิบตัิด้านทรัพยากรมนษุย์ส่งผลกระทบ โดยตรงในทางบวกกับผลการปฏิบตัิงานขององค์การตามหลกัการวัดผลแบบสมดุล และยังส่งผลกระทบ ทางอ้อมโดยผ่านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ รวมถึงการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมก็ ส่งผลกระทบโดยตรงกับผลการปฏิบตัิงานขององค์การ และยงส่งผ่านทางอ้อมโดยผ่านพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การอีกด้วย แสดงว่าพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ์ มีส่วนช่วยเสริมให้ โรงพยาบาลมีผลการปฏิบตัิงานที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นผ้บูริหารโรงพยาบาลควรส่งเสริมให้องค์การมีวิธีปฏิบตัิ ด้านทรัพยากรมนุษย์ การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การใน ระดับสูง เพื่อให้ผลการปฏิบัตังานขององค์การดีขึ้นด้วย
  • รายการ
    ปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กรในประเทศไทย กรณีศึกษา: ผู้ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การบินของสนามบิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สิทธิปัฐพ์ มงคลอภิบาลกุล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กรในประเทศไทย กรณีศึกษา: ผู้ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การบินของสนามบิน (2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบการจัดการความปลอดภัยกับวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงบวกและบรรยากาศองค์กรที่มีความปลอดภัย (3) เพื่อศึกษาถึง อิทธิพลระหว่างผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกับพฤติกรรมความปลอดภัย พฤติกรรมความปลอดภัยกับบรรยากาศที่มีความปลอดภัย และผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกับระบบการจัดการความปลอดภัย ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานขององค์กรที่ปฏิบัติงานภายในเขตการบินของสนามบินในประเทศไทยภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจำนวนพนักงานรวมกัน 61,482 คน ทำการสุ่มตัวอย่างพนักงานจากองค์กรดังกล่าวจำนวน 440 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน พ.ศ. 2557 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 414 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืนร้อยละ 94 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติที่เรียกว่า การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้น
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ของประสบการณ์นักศึกษาที่ได้รับจากบุคลากรฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการกับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุวพัชร วุฒิเสน
    (1) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเหตุที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนกับความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่งทั่วประเทศ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,000 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน 2556 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 625 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 62.5 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล
    (Sripatum University, 2560) สุรเดช จองวรรณศิริ
    การวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนสนใจ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นนักลงทุนบุคคลที่มีประสบการณ์ ความรู้ และความตระหนักในการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ จานวน 460 คน ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างปรากฏอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของนักลงทุนตามระดับความสามารถในการรับความเสี่ยง แหล่งข้อมูลที่นักลงทุนให้ความสนใจ การรับรู้ต่อปัจจัยทางการบริหารของบริษัท และความคาดหวังต่อผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทของนักลงทุน นอกจากนั้นจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจในข้อมูลชุดเดียวกัน ปรากฏผลที่แสดงถึงกระบวนการตัดสินใจของนักลงทุนไทยที่จะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่สนใจด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัทใน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานของบริษัทกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท และผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ โดยผลการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแบบที่พัฒนาขึ้นและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นนักลงทุนบุคคล สามารถแสดงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนควรได้ตระหนักความสำคัญของปัจจัยดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ บริษัทผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคตต่อไป
  • รายการ
    การศึกษาความสอดคล้องแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับกลยุทธ์ธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานองค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (Sripatum University, 2560) พิชัย พันธุ์วัฒนา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุที่มีผลต่อแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 2.) เพื่อศึกษาอิทธิพลการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และ 3.) พัฒนาแบบจำลองความสอดคล้องของแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) คือ การดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ร่วมการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 678 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นร่วมกับการสุ่มตัวอย่างกระจายแบบง่ายได้รับข้อมูลกลับทั้งสิ้น 382 ตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์และแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลลัพธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และผลการดำเนินงานขององค์กร ผลลัพธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร นอกจากนั้นผลการดำเนินงานขององค์กรยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากกลยุทธ์ธุรกิจและแนวปฎิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  • รายการ
    ตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
    (Sripatum University, 2560) ภรณี หลาวทอง
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความ สามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานขององค์กร (3) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับ 4-5 ดาว จำนวน 420 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 324 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 77.14 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงการ (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรพื้นฐาน ระบบการทำงาน และบทบาทของภาครัฐ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์กร ความสามารถทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร