INF-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู INF-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 14 ของ 14
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจำแนกใบพืชโดยการใช้คุณลักษณะรูปทรงและพื้นผิวของใบพืชด้วย ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม(ธวัช รวมทรัพย์, 2560) ธวัช รวมทรัพย์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อนำขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแต่ละขั้นตอนมาหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการจำแนกใบพืชโดยใช้คุณลักษณะรูปทรงและพื้นผิวของใบพืช 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการจำแนกใบพืชระหว่างขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมกับขั้นตอนวิธีเพื่อนบ้านใกล้สุด สำหรับข้อมูลที่นำมาใช้ในการทดลองการจำแนกใบพืช ประกอบด้วยภาพใบพืช 30 สายพันธุ์ รวมทั้งหมด 340 ใบ งานวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลใบพืช “Leaf” dataset โดย Pedro F.B.Silva et al. (2014) สำหรับข้อมูลใบพืชประกอบด้วย 14 คุณลักษณะโดยแบ่งออกเป็นคุณลักษณะรูปทรง 8 คุณลักษณะ และคุณลักษณะพื้นผิว 6 คุณลักษณะ จากนั้นได้ทำการแบ่งข้อมูลเพื่อทดสอบ (Split test) โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 70 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสร้างโมเดล และส่วนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับใช้ในการทดสอบโมเดล และทำการทดลองโดยการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เข้าสู่ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm :GA) เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม The purposes of this research were (1) to take each suitable process of genetic algorithm parameters in plant leaf classification by using leaf shape and texture features (2) to compare the results of leaf classification between the processes of genetic algorithm and k-nearest neighbors algorithm. The data used in the trial was 340 leaves classification from 30 plant species. This research used leaf dataset of Pedro F.B.Silva et al.(2014) which included 14 features divided into 8 shape features and 6 texture features. The split test was separated into 2 parts 70% for modeling and 30% for testing modeling; conducted by the configuration parameters to the process of genetic algorithm parameters in plant leaf classification.รายการ ตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถในการสร้างความไว้วางใจเพื่อการประเมินคุณภาพเว็บไซต์ของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านการรับรู้ของลูกค้า(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) รัฐ ใจรักษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถในการสร้างความไว้วางใจและตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินระดับความไว้วางใจที่อิงตามการรับรู้ของลูกค้า 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุที่ใช้เป็นองค์ความรู้ในการอธิบายถึงการรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพเว็บไซต์ของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ 3) เพื่อนำตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถในการสร้างความไว้วางใจที่สร้างขึ้นใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับประเมินระดับความไว้วางใจภายในเว็บไซต์ของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับการรับรู้ของลูกค้า The purposes of this research are: 1) to develop a trust capability maturity model (TCMM) and its metric for assessing the level of trust based on customer perceptions, 2) to develop a causal model using as the knowledge for describing customer perceptions toward the quality of e-Commerce website, and 3) to apply the TCMM for developing the application using as a tool to assess the level of trust on the e-Commerce websites to correspond with customer perceptions.รายการ การวินิจฉัยผลตรวจเลือดโดยใช้ออนโทโลจีและกฎนิวโรฟัซซีแบบปรับตัวได้(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) รณรงค์ แก้วประเสริฐงานวิจัยนี้ได้นำเสนอ ตัวแบบการตัดสินใจเชิงความหมายสำหรับการวินิจฉัยโรคและความเสี่ยงในการเกิดโรคส่วนบุคคลจาก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตัวแบบพัฒนาเป็นฐานความรู้ออนโทโลจีโดยผสมผสานหลักการของฟัซซีโลจิก และโครงข่ายประสาทเทียม กฎของการตัดสินใจเชิงความหมายแบบฟัซซีได้รับการออกแบบสำหรับข้อมูลนำเข้าผลตรวจเลือด 9 รายการตรวจ และข้อมูลการส่งออกการแปลผลตรวจ 3 ผลลัพธ์ ข้อมูลการนำเข้าประกอบด้วยผลตรวจ FBS, BUN, Creatinine, Uric acid, Cholesterol, Triglyceride, ALP, ALT และ AST และข้อมูลส่งออกเป็นผลของการแปลผลตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ผลการวินิจฉัยโรค และผลระดับความเสี่ยงในการเกิดโรค กฎฟัซซีของการวินิจฉัยโรคเชิงความหมายมีการเรียนรู้แบบมีผู้สอนแบบโครงข่ายประสาทเทียม โดยใช้ชุดข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมาใช้สอนและทดสอบกฎ ในงานวิจัยนี้เราใช้โปรแกรมโปรทีเจ เวอร์ชั่น 3.4.4 ในการสร้างออนโทโลจีเพื่อเป็นฐานความรู้ในรูปแบบของ OWL และสร้างกฎเชิงความหมายในรูปแบบภาษา SWRL ที่สามารถอนุมานกฎจากฐานความรู้เชิงความหมายที่สร้างขึ้น ได้ผลการตรวจวินิจฉัยโรคจากผลตรวจเลือด การประเมินประสิทธิภาพความถูกต้องของตัวแบบระบบวินิจฉัยโรคจากผลตรวจเลือดใช้การตรวจสอบแบบไขว้ (10 Fold Cross-Validation)โดยวัดค่าความแม่นยา(Precision) ได้ 98.55 % ค่าความครบถ้วน(Recall) ได้ 99.27 % และ ค่าความถ่วงดุล (F-measure) ได้ 99.07 % This research proposes a semantic decision making model for providing diagnosis of personalized risk disease in clinical laboratory results. The model presents an ontology based on adaptive neuro-fuzzy rule for blood diagnosis system. The semantic fuzzy rule was designed with nine input blood results and three output interpretations. The input variables are FBS, BUN, Creatinine, Uric acid, Cholesterol, Triglyceride, ALP, ALT and AST. The output detected the laboratory results interpretation such as diagnosis risk levels of disease which are classified with fuzzy linguistic variable. The data set used neural network modeled to make it appropriate for the supervise training, in diagnostic rule then the initial fuzzy structure was generated as fuzzy if-then rule, the semantic rules base was learned with the set of training data after which was tested and validated with the set of testing data. In this paper, we presented an implementation of this ontology in Protégé 3.4.4 using OWL and SWRL rule that can be inferred blood diagnosis results from an existing semantic knowledge-based with rule inference engine. The efficiency in providing accuracy for blood diagnosis of the proposed model was evaluated by 10 fold cross-validation. The model performance result was measured with average 98.55 % precision, 99.27 % recall and 99.07 % F-measure.รายการ ระบบนายหน้าโดยใช้ออนโทโลจีเพื่อการดำเนินการร่วมกัน ของการคำนวณแบบคลาวด์หลายแพลตฟอร์ม(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สุระชัย หัวไผ่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพัฒนาระบบนายหน้าโดยใช้ออนโทโลจีเพื่อการดำเนินการร่วมกันของการคำนวณแบบคลาวด์หลายแพลตฟอร์มที่สามารถจัดสรรทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ตั้งแต่สองแพลตฟอร์มขึ้นไปที่แตกต่างกันได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ผ่านระบบนายหน้า ในการพัฒนาออนโทโลจี ผู้วิจัยใช้หลักการวิศวกรรมออนโทโลจีเพื่อให้ออนโทโลจีสามารถรองรับการดำเนินการร่วมกันของการคำนวณแบบคลาวด์สามแพลตฟอร์มได้แก่ โอเพนสแตก อาปาเช่คลาวด์สแตก และวีเอ็มแวร์ อีเอสเอ็กซ์ไอ โดยใช้โพรทีเจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ประกอบของออนโทโลจีที่เสนอประกอบด้วย 4 คลาสหลักคือ คลาสอุปกรณ์การคำนวณกายภาพ คลาสแพลตฟอร์มการคำนวณแบบคลาวด์ คลาสแผ่นแบบเครื่องบริการ และคลาสการบริหารจัดการวัฏจักรชีวิตเครื่องเสมือนด้วยเทคโนโลยีเรสท์ และ17 คลาสย่อยการประเมินผลออนโทโลจีที่เสนอถูกดำเนินการโดยใช้แบบสำรวจผู้ใช้ซึ่งพบว่ามีค่าความเที่ยง 100 เปอร์เซ็นต์ค่าความระลึกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และค่าเอฟ-เมเชอร์ 100 เปอร์เซ็นต์ This thesis is a brokerage system using ontology for the interoperability of multi-cloud computing platforms that is capable of allocating the cloud infrastructure resources of more than two different platforms to meet the requirements of Infrastructure-as-a-Service (IaaS) users through the broker system. To develop the ontology, we engaged an ontological engineering principle so that the ontology can support interoperability among three specific cloud computing platforms, OpenStack, Apache CloudStack and VMware Esxi, by using Protégé as a development tool. The proposed ontology has been composed of four main classes, Physical compute device, Cloud computing platform, Server template, and REST VM life cycle management, and 17 subclasses. The evaluation of the ontology has been conducted through survey forms to obtain user feedbacks. It has been found that the ontology delivered 100 % of precision, 100 % of recall and 100 % of F-measure.รายการ ระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ธีรินทร์ เกตุวิชิตงานวิจัยนี้นำเสนอการการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และข้อมูลทางการแพทย์ผ่าน เว็บเซอร์วิส วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การพัฒนาและประเมินผลระบบแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยน สารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส โดยมุ่งเน้นการพัฒนาข้อมูล การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการส่งต่อในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส ตั้งแต่ ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลผู้ป่วยส่งกลับ และข้อมูลรายงาน ทางสถิติการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิสระหว่างฝั่งรับ และฝั่งส่งเป็นการส่ง ต่อที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยสร้างเมตาดาต้าเป็นต้นแบบข้อมูลมาตรฐานกลาง และโครงสร้าง เอกสารเอ็กซ์เอ็มแอลสำหรับการส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบที่ต่างกัน จากการทดสอบระบบ แสดงผลผ่านเว็บเซอร์วิส ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดระยะเวลาการติดต่อประสานงาน มีความ สะดวก รวดเร็วขี้น ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการประเมินประสิทธิภาพระบบ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าในภาพรวมประสิทธิภาพระบบอยู่ในระดับดีมากนักวิชาการ คอมพิวเตอร์และบุคลากรมีความเห็นว่าประสิทธิภาพระบบอยู่ในระดับดี และหน่วยงานสังกัด กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่ง ต่อผู้ป่วยผ่านเว็บเซอร์วิสไปใช้งาน จำนวน 2,424 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลในเขต 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน จำนวน 714 แห่ง และจังหวัดอื่นๆ จำนวน 1,728 แห่ง This research proposed a design of a Web-Services-based information and medical data exchange model. The purpose of the research is to design and developed a prototype system for patients’ information and medical data exchange between hospitals, under the Ministry of Health,in timely response and in accordance with international standards. A prototype system, based on this design, was implemented and evaluated for efficiency, effectiveness, and satisfaction of the prototype system. The results found that . The information and medical data exchange processes, in accordance with the XML, for handling data storing, data processing, data searching and retrieving were at fairly good level. The accuracy of data storing, data searching and editing, and reporting was at good level; . The performance efficiency of the prototype system was very good for the data security, followed by the completion of the requirements of the applications, and career responsibility respectively ; The satisfaction of users (provincial hospitals, city hospitals, and district hospitals) was at good level;. 2,424 hospitals, under the Ministry of Health, adopted the system for their referral systems.รายการ การพัฒนาออนโทโลจีสำหรับระบบผู้แนะนำการเลือกข้อสอบภาคปฏิบัติสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยปัจจัยเชิงคุณภาพ(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ทนุวงศ์ จักษุพางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ 1) เพื่อพัฒนาออนโทโลจีปัจจัยเชิงคุณภาพ 2)เพื่อพัฒนาระบบแนะนำการคัดเลือกข้อสอบภาคปฏิบัติสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยปัจจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้เทคนิคเดลฟายเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นปัจจัยเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยที่รวบรวมได้ถูกนาไปจัดกลุ่มตามเกณฑ์คุณภาพ ได้แก่ ความยากง่าย ความเที่ยงตรง อานาจจำแนก ความเชื่อมั่นและความเป็นปรนัย การพัฒนาออนโทโลจีอาศัยโปรแกรมโฮโซะและระบบแนะนำการออกข้อสอบภาคปฏิบัติสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีคุณภาพถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่นโดยมีระบบค้นหาเชิงความหมายช่วยสนับสนุนการทำงาน และทั้งหมดอาศัยเครื่องมือจัดการโปรแกรมประยุกต์ออนโทโลจีโอเอเอ็ม ผู้วิจัยได้ใช้การประเมินประสิทธิผลของงานวิจัยนี้ 3 วิธีคือ (1) การประเมินความเหมาะสมโครงสร้างออนโทโลจีโดยผู้เชี่ยวชาญ (2) การประเมินประสิทธิผลการค้นหาจากระบบค้นหาเชิงความหมายบนฐานออนโทโลจีด้วยค่าความเที่ยง ค่าระลึก และค่าเอฟเมเชอร์ (3) การประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบผู้แนะนำจากผู้ออกข้อสอบ ผลการวิจัยพบว่า ออนโทโลจีที่เสนอมีความเหมาะสมในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ย 4.28 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 และมีประสิทธิผลในการค้นหาในระดับดีมาก โดยมีค่าของความเที่ยงเท่ากับ 1.00 ค่าระลึกเท่ากับ 1.00 และ ค่าเอฟเมเชอร์เท่ากับ 1.00 นอกจากนี้ผู้ออกข้อสอบมีความพึงพอใจการใช้งานระบบแนะนำที่ได้มีค่าเฉลี่ย 4.30 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 This research has two objectives: to develop qualitative factor ontology and to apply the ontology for implementing a recommendation system with qualitative factors in selecting information technology hands-on examination problems. We used Delphi technique to gather opinions with respect to qualitative factors from experts. The factors were grouped on the criteria of discrimination, difficulty, validity, reliability and objectivity for the development of ontology by using Hozo program and the development of a recommendation system based on the developed ontology in the form of web application with Ontology Application Management (OAM) Framework. We evaluated the effectiveness of the process with two methods: (1) the suitability evaluation of the ontology’s structure by experts (2) the effectiveness evaluation of searching in terms of precision, recall and F-measure. The results showed that the proposed ontology had the suitability good a means 4.28 and standard deviation 0.52 evaluation, the best degree of searching effectiveness with a precision equal to 1.00 , a recall equal to 1.00 and an F-measure equal to 1.00 and had appropriate level of the recommendation system in suitability good a means 4.30 and standard deviation 0.53รายการ การหาจุดสนใจของภาพที่เหมาะสมของขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที สำหรับการยืนยันภาพลายเซ็น(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุลขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที เป็นขั้นตอนวิธีสำหรับการหาลักษณะเด่นของภาพที่ได้รับความนิยม โดยใช้หลักการทำซ้ำเพื่อหาจุดสนใจของภาพ (Keypoints) ซึ่งภาพแต่ละภาพที่ใช้ในการหาจุดสนใจของภาพ จะใช้จำนวนรอบในการวิเคราะห์ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้จุดสนใจของภาพที่ได้ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจุดสนใจของภาพที่เหมาะสมหรือไม่ ในงานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการกำหนดจำนวนรอบในการหาจุดสนใจของภาพลายเซ็นที่เหมาะสม โดยการเปรียบเทียบระยะห่างของภาพลายเซ็นซึ่งคำนวณจากระยะทางยุคลิดระหว่างจุดสนใจของภาพลายเซ็นในแต่ละรอบ โดยกำหนดเกณฑ์พิจารณา = 0.2 และนำจำนวนรอบที่ได้กำหนดจุดสนใจของภาพลายเซ็นต้นแบบเพื่อเปรียบเทียบระหว่างภาพลายเซ็นจริงและภาพลายเซ็นคู่ทดสอบด้วยขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที การเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างภาพลายเซ็น ใช้เกณฑ์พิจารณา = 0.25 นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบภาพลายเซ็นต้นแบบกับภาพลายเซ็นจริงและภาพลายเซ็นคู่ทดสอบโดยบุคคล ผลการวิจัยใช้ตัวอย่างภาพลายเซ็นจากบุคคลทั่วไปจำนวน 20 คนๆ ละ 10 ภาพลายเซ็นรวม 200 ภาพลายเซ็นเป็นลายเซ็นต้นแบบ ผลการวิเคราะห์ภาพลายเซ็นต้นแบบ พบว่าจุดสนใจของภาพลายเซ็นที่เหมาะสมเกิดขึ้นในรอบที่ 6 ด้วยค่าระยะห่างของภาพลายเซ็น ≤ และผลการเปรียบเทียบภาพลายเซ็นต้นแบบกับภาพลายเซ็นจริงจำนวน 20 ภาพและภาพลายเซ็นคู่ทดสอบจำนวน 20 ภาพ ด้วยขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟทีด้วยค่าระยะห่างของภาพลายเซ็น ≤ พบว่ามีค่าร้อยละความสำเร็จเท่ากับ 82.50 สำหรับการเปรียบเทียบโดยบุคคลจำนวน 10 คน พบว่ามีค่าร้อยละความสำเร็จเท่ากับ 77.25 SIFT Algorithm is a popular method for finding feature of an image. It uses repetitive method for finding key points within an image. The number of rounds for analyzing key points for each picture is not equal and still in doubt whether the key points found be appropriate. This research proposed a method for determining the number of rounds to be analyzed for obtaining the optimized key points for signature identification by comparing calculated Euclidean distance of signature image key points in each round with the assigned value of as 0.2, and used the signature image from optimized round to designate the key points of stored original signature images for comparison with a test signature image by the SIFT Algorithm with the assigned value of as 0.25, by the SIFT Algorithm. In addition, the comparison of signature was also performed by 10 individual persons. In this research, samples of 400 signatures from 20 persons, each provided 10 signatures, were tested and found that the optimized key points was found in the sixth round with the distance between the stored original signatures and the signatures used for testing, using SIFT Algorithm, was less than or equal to the assigned value. The distance from the comparisons of 20 sample signatures, between 20 genuine signatures and their test pairs, using SIFT Algorithm, was less than the assigned value. The test results showed that the comparison success percentage using the SIFT Algorithm was 82.50 and the comparison success percentage by 10 individual persons was 77.25.รายการ การพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบัน การพลศึกษาในประเทศไทย(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กนก อ้นถาวรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของบุคลากรสายผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาของประเทศไทย ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหารายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานสายผู้สอน และได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย สามารถสร้างเป็นตัวแบบรายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Competency list Model) ที่ยอมรับได้ว่าเป็นสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของบุคลากรสายผู้สอน สถาบันการพลศึกษา ได้ตัวบ่งชี้จำนวน 32 ตัว สร้างองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับข้อมูลจากผู้สอนจำนวน 640 คน ได้ตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัว และยืนยันความถูกต้องเชิงประจักษ์ด้วยเทคนิค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดความสำคัญของตัวแบบ ซึ่งองค์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attitude) ทุกองค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value > 0.05) ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/df < 3) ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI > 0.90) และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA <0.08) แสดงว่าทุกองค์ประกอบเป็นตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษา โดยองค์ประกอบที่มีความสำคัญเรียงจากมากไปหาน้อยคือ 1) ทักษะ (R2= 0.97) 2) ความรู้ (R2=0.75) 3) ทัศนคติ (R2 = 0.71) ทุกองค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ซึ่งสามารถอธิบายตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาได้ทุกองค์ประกอบ (R2 มากกว่า.50) This research aimed to develop an ICT competency indicator model for instructors in the Institutes of Physical Education (IPE) in Thailand. The researcher took information derived from document analysis and related literatures to seek for an ICT competency list to construct the ICT competency indicator model and verify for appropriateness and essence by eighteen experts, using the Delphi technique. The derived data included 32 indicators constructed from Exploratory Factor Analysis (EFA), and 12 indicators constructed from first order and second order Confirmatory Factor Analysis (CFA) using 640 samplings to confirm that every factor was empirical correct. The model comprised three components: knowledge, skill and attitude. The weight value of each component was statistical significant with P-value > 0.05 ; Chi Square statistic comparing the tested model and the Independent model with the saturated model (CMIN/df) < 3; Goodness of Fit Index (GFI) > 0.90; and Root Mean Squared Error Approximation (RMSEA) < 0.08, which indicated that every component was the ICT competency indicator model for instructional work performers in the IPE. The important factors, ranked form the most to the least, were Skill (R2=0.97), Knowledge (R2=0.75) and Attitude (R2=0.71) respectively. Every factor contained the predictive co-efficiency (R2) that was able to explain the ICT competency indicator model for the instructors in the IPE in every factor.รายการ ตัวแบบวุฒิภาวะธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการประเมินประสิทธิภาพ ระดับความเป็นธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถาบันอุดมศึกษาไทย(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กัลยา ใจรักษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีของสถาบันอุดมศึกษาไทย 2. เพื่อพัฒนากรอบแนวคิด และตัวชี้วัดธรรมาภิบาลไอทีบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันอุดมศึกษาไทย 3. เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะธรรมาภิบาลไอทีบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4. เพื่อพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพระดับความเป็นธรรมาภิบาลไอทีบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันอุดมศึกษาไทยรายการ ตัวแบบวุฒิภาวะการจัดการความรู้สำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศการประเมินและการแนะนาเพื่อมุ่งสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) จีรวรรณ นกเอี้ยงทองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการความรู้ เพื่อให้บรรลุผลการประเมิน ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ในแต่ละระดับ 2. เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะการจัดการความรู้ สาหรับมุ่งสู่การเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และ 3. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประเมินและการแนะนาในระบบการจัดการความรู้สาหรับมุ่งสู่การเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย This research has three main proposes as the following: 1. For studying the good practice of knowledge management in Thailand’s universities to match the quality assuance key factors. 2. For developing a knowledge management maturity model (KMMM) especially for Thailand’s university advancing towards the learning institutes. 3. For developing an evaluation and recommender system for knowledge management towards learning institute following quality assurance system of Thailand’s university.รายการ ตัวแบบและระบบบริการแคชสำหรับ การแคชคลาวด์แบบใช้ร่วมกันที่ฝั่งไคลเอ็นท์(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) จตุรงค์ ศรีวิโรจน์ในปัจจุบันคลาวด์ถูกนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการใช้ร่วมกันระหว่างผู้ใช้ ทำให้องค์การต้องมีค่าดำเนินการจากค่าโหลดข้อมูลจากคลาวด์ที่แพงและเกิดความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูล ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขด้วยการแคชคลาวด์เพื่อป้องกันการโหลดข้อมูลซ้ำจากคลาวด์ มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเสนอนโยบายการแทนที่ข้อมูลของระบบแคชคลาวด์ที่ฝั่งผู้ใช้บริการคลาวด์ซึ่งสามารถประหยัดค่าโหลดข้อมูลจากคลาวด์ ลดปริมาณการใช้แบนด์วิดท์ และระยะเวลาในการโหลดข้อมูลได้ งานวิจัยนี้ต่อยอดงานวิจัยดังกล่าวเพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นบริการแคชคลาวด์ (Cache-as-a-Service) ได้โดยการเสนอตัวแบบทางเทคนิคและตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการดำเนินการบริการแคชคลาวด์แบบใช้ร่วมกันที่ฝั่งไคลเอ็นท์ และเสนอต้นแบบระบบบริการแคชคลาวด์แบบใช้ร่วมกันที่ฝั่งไคลเอ็นท์ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 1) ชุดตัวแบบทางเทคนิคของบริการแคช 6 ตัวแบบที่เกิดจากองค์ประกอบ 2 มิติคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลได้แก่ แรม, หน่วยขับโซลิดสเตท, และหน่วยขับจานบันทึกแบบแข็ง และมิติที่สองคือแบบแผนการใช้งานได้แก่ แบบใช้พื้นที่แคชแยกเดี่ยว (isolated cache space) และแบบใช้พื้นที่แคชร่วมกัน (shared cache space) ตัวแบบทั้ง 6 ได้แก่ ตัวแบบบริการแคชแรมแบบใช้พื้นที่แคชแยกเดี่ยว, ตัวแบบบริการแคชแรมแบบใช้พื้นที่แคชร่วมกัน , ตัวแบบบริการแคชหน่วยขับโซลิดสเตทแบบใช้พื้นที่แคชแยกเดี่ยว, ตัวแบบบริการแคชหน่วยขับโซลิดสเตทแบบใช้พื้นที่แคชร่วมกัน, ตัวแบบบริการแคชหน่วยขับจานบันทึกแบบแข็งแบบใช้พื้นที่แคชแยกเดี่ยว, ตัวแบบบริการแคชหน่วยขับจานบันทึกแบบแข็งแบบใช้พื้นที่แคชร่วมกัน 2) ตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์ของบริการแคชคลาวด์ที่สามารถใช้เป็นแบบแผนการกำหนดราคาค่าบริการ 2 ตัวแบบ ได้แก่ ตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์ของบริการแคชคลาวด์กรณีเช่าพื้นที่โคโลเคชั่น (colocation) และตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์ของบริการแคชคลาวด์กรณีเช่าบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ 3) ระบบต้นแบบบริการแคชคลาวด์แบบใช้ร่วมกันที่ฝั่งไคลเอ็นท์ที่ต่อประสานกับสควิดซอฟต์แวร์รหัสเปิดเพื่อทำการประมวลผลขั้นตอนวิธีการแคชข้อมูลที่โหลดจากคลาวด์ และมีฟังก์ชั่นสำคัญที่ผู้ใช้บริการแคชคลาวด์สามารถตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน และตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ Presently, cloud has been used to store large data for sharing among users imposing on organizations expensive operational costs due to cloud data loading and data access delays. These problems can be solved by using cloud caching to prevent repetitive data loading from clouds. There is a related research proposing the cache replacement policy of cloud caching system at client side that can economize data loading expense, reduce bandwidth usage and data loading latency. This research extends such research so that it becomes a cloud cache as a service (CaaS) by proposing technical and economic models for operating client-side shared CaaS, which aims for reducing cloud data loading charges and delays. This research also proposes the prototyping system of the client-side shared CaaS. Research main contributions are 1) a sets of technical models of totally six types comprising two-dimensional elements that are data storage technologies, RAM, SSD, HDD and the second dimension represents usage patterns, isolated cache space and shared cache space. The six models are RAM isolated cache space, RAM shared cache space, SSD isolated cache space, SSD shared cache space, HDD isolated cache space, and HDD shared cache space, 2) a set of two economical models that can be used as a pricing pattern an economical model of the cloud cache service based on colocation service and an economical model based on a cloud infrastructure as a services (IaaS), and 3) A prototyping CaaS system for client-side shared cloud caching that interfaces with opensource software Squid, which processes a cloud data caching algorithm. The system has essential functions for users such as, checking resources usage, monitoring performance, and monitoring service charge.รายการ วิธีการตัดคำและออกแบบออนโทโลจีสำหรับประเมินคำตอบอัตนัยภาษาไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึกข้อสอบอัตนัย คือ เป็นข้อสอบที่ไม่มีตัวเลือกคำตอบ แต่ใช้วิธีตอบด้วยการเขียนบรรยาย สำหรับการตรวจให้คะแนน ผู้ตรวจอาจใช้เวลานานเพื่อพิจารณาคะแนนให้เกิดความเหมาะสม ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการตรวจข้อสอบอัตนัยแบบออนไลน์ สำหรับทดลองใช้กับวิชา “GEN1102 ระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน” โดยใช้วิธีการค้นหาและเปรียบเทียบคำศัพท์ อย่างไรก็ตามนักวิจัย พบรูปแบบปัญหาที่เกิดจากคำศัพท์ที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับออนโทโลจีมาใช้แก้ปัญหาด้วยการสร้างความสัมพันธ์เชิงความหมายแล้วส่งต่อไปยังการประมวลผลคะแนน ในการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยความถูกต้อง (precision) ที่ร้อยละ 94.42 ค่าความครบถ้วน (recall) ที่ร้อยละ 59.92 และค่าประสิทธิภาพโดยรวม (f-measure) ที่ร้อยละ 72.52 ส่วนความความแตกต่างระหว่างการให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญกับการให้คะแนนจากระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการสำรวจความพึงพอใจจากการใช้งาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.49, S.D.=0.52) และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.21, S.D.=0.70) เช่นกันรายการ การพัฒนาระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พันธิการ์ วัฒนกุลห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ใช้ การที่ทราบถึงคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนได้นั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีเครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการประเมินผลห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนโดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทยและเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนจริงในระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ ของไทย วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนาตัวชี้วัดในมิติคุณภาพต่าง ๆ 2) การพัฒนาระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาระดับต่าง ๆ ของไทยและ 3) การประเมินระบบห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ามิติการวัดคุณภาพที่ใช้ในการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่เหมาะสมกับการศึกษาของไทยแบ่งออกเป็น 5 มิติคือ มิติทางด้านเทคนิค มิติเนื้อหา มิติความรู้ความเข้าใจ มิติการรู้คิด และมิติทางสังคม ในแต่ละมิติมีตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามบริบทของระดับการศึกษา ระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วนคือ ส่วนการติดต่อผู้ใช้งาน ส่วนการประมวลผล ขั้นตอนวิธีการประมวลผล ตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับการประเมิน และฐานข้อมูล ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ระบบสามารถแสดงผลการประเมินคุณภาพ 5 มิติในรูปแบบตัวเลขและกราฟฟิคและให้ข้อแนะนำสำหรับตัวชี้วัดที่ควรปรับปรุงในแต่ละมิติ การประเมินระบบ 3 ด้านคือ ด้านการฟังก์ชันการทำงานของระบบ การใช้งานและประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญที่จากระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 5 คน พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับดีทั้ง 3 ด้าน และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจากหน่วยงานด้านการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 20 คน อยู่ในระดับดีมากรายการ การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สาวิตรี จูเจี่ยวิทยานิพนธ์บับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์และเพื่อการพัฒนาระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 206 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้พัฒนาคุณภาพ กลุ่มนักศึกษา/ผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอน และกลุ่มผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเพื่อการยืยยันตัวชี้วัด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ มี 4 มิติ 35 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย มิติคุณภาพด้านโครงสร้าง 22 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการศึกษา 6 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการเรียนการสอน 4 ตัวชี้วัด และมิติคุณภาพด้านเทคโนโลยี 3 ตัวชี้วัด ระบบประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ สามารถประเมินคะแนนตามตัวชี้วัดแต่ละมิติ สามารถวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และบอกจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนาและจุดที่ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ระบบสามารถให้คำแนะนำ โดยแสดงรายละเอียดตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) นอกจากนี้ระบบยังสามารถรายงานผลคะแนนประเมินคุณภาพเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ เพื่อให้ทราบถึงระดับประสิทธิภาพขิงเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ รวมไปถึงคำอธิบายลักษณะของระดับคุณภาพที่ได้ และส่วนที่ควรมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น