LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 82
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนากฎหมายสำหรับกระบวนการยุติธรรมในการเลือกตั้งท้องถิ่น(Sripatum University, 2559-06-13) ยงยุทธ แสงรุ่งเรืองการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหากระบวนการยุติธรรมในการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาล เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีการบริหารคดีและกระบวนการยุติธรรมที่ดีเป็นแบบอย่างเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ วิจัยเชิงปริมาณ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา(2561) พรเพชร ชลศักดิ์ตระกูลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีความเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในอำนาจตุลาการ พัฒนากระบวนการยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา มีระบบลูกขุน ผู้พิพากษาสมทบ และพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับศาลอาญาไทย คือ ระบบผู้พิพากษาสมทบ การวิจัยได้จัดทำกฎหมายต้นแบบเป็นร่างพระราชบัญญัติผู้พิพากษาสมทบในคดีอาญา พ.ศ. .... มี 5 หมวด 20 มาตรา และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญของบทบัญญัติประกอบด้วย คุณสมบัติของผู้พิพากษาสมทบ การได้มาของผู้พิพากษาสมทบ การดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ อำนาจหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบ และการอุทธรณ์และฎีการายการ องค์กรควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พิจิตร เกิดจรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยองค์กรควบคุมและตรวจสอบการตรากฎหมายให้ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลของการวิจัยพบว่าการควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย มี 3 ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ รูปแบบองค์กร ขอบเขตอำนาจและหน้าที่ และกระบวนการใช้อำนาจ นำไปสู่การจัดทำร่างปรับปรุงแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ในประเด็น เข้าสู่อำนาจหรือที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสรรหา คุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจในการรับฟ้องโดยตรงไม่ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และอำนาจในการวินิจฉัยเฉพาะความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติกฎหมาย การวิจัยได้จัดทำบทบัญญัติต้นแบบสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาวิจัยต่อไป คือ “องค์กรและกระบวนการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ”รายการ การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหลักประกันสินเชื่อทางธุรกิจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ศิวพร เสาวคนธ์วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัยเรื่องการพัฒนาพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมต่อการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องมีการพิจารณาปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า การนำทรัพย์ทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นั้น มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่อาจก่อให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ในวงการธุรกิจอย่างแพร่หลายได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันขาดความชัดเจนและมิได้มีการวางหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นสาระสำคัญของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจที่จะก่อให้เกิดการยอมรับอย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การรับหลักประกันจนถึงการบังคับชำระหนี้เอาจากหลักประกันใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ (1) ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาที่นำมาเป็นหลักประกัน (2) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (3) สิทธิของผู้ให้หลักประกันทรัพย์สินทางปัญญา (4) การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และ (5) ศาลที่มีอำนาจในการดำเนินคดีหลักประกันทรัพย์สินทางปัญญา อันนำมาสู่การวิเคราะห์และจัดทำเป็น “ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....” เพื่อปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ที่เป็นข้อค้นพบสำคัญของการศึกษาวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุระทิน ชัยทองคำการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จากปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค และความไม่เหมาะสมของกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมมนารับฟังความคิดเห็น (Hearing) ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่มมีปัญหาและไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จึงได้จัดทำร่างปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยเพิ่มเติม หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง เป็นหมวด 6/1 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม แยกออกเป็น 6 ส่วน จำนวน 20 มาตรา ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การฟ้องคดี ส่วนที่ 3 การพิจารณาคดี ส่วนที่ 4 คำพิพากษาหรือคำสั่ง ส่วนที่ 5 อุทธรณ์และฎีกา และส่วนที่ 6 บังคับคดีรายการ ต้นแบบการกำกับดูแลที่ดีสำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-03-09) กรประณม วงษ์มงคลการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาต้นแบบหลักการกำกับดูแลที่ดีที่จะนำมาใช้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นหลักการที่เป็นองค์ประกอบการกำกับดูแลที่ดีที่มีลักษณะเฉพาะสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจใน ประเทศไทย การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล(นิติศาสตรดุษฎีบณัฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยลัยศรีปทุม. 2562, 2562) ณรงค์ พลมาตร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ ของสภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามหลักนิติธรรมและหลักธรรมาภิบาล โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ การบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนำนโยบายผู้สูงอายุของท้องถิ่นไปปฏิบัติ รวมทั้งเสนอแนวทางการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดีและเหมาะสมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 2) กลุ่มผู้นำนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุไปปฏิบัติ และ 3) กลุ่มผู้สูงอายุจากพื้นที่เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลตำบลระแหง ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดนโยบายและแผนงานระดับท้องถิ่น ได้ใช้แนวทางของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก และการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติงานในระบบราชการที่ปฏิบัติตามระเบียบที่มีหรือเทียบเคียงตามขั้นตอนทางปฏิบัติที่ดำเนินการอยู่ผู้สูงอายุมีข้อเสนอเพิ่มเติม คือ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มทรัพยากรการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในลักษณะชมรมให้เป็นจุดศูนย์กลางของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชญานิศ ภาชีรัตน์การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สืบเนื่องจากปัญหาข้อพิพาททางอาญาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ เพื่อทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จึงนำมาสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อกำหนดเป็นกฎหมายกลางให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญา รวมทั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการระงับข้อพิพาททางอาญาบางประเภท โดยวิเคราะห์กฎหมายภายใน กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ทำให้ได้มาซึ่งวิธีการระงับข้อพิพาทที่สามารถจะทำให้คดีอาญาลดลงไปได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย การไกล่เกลี่ย การชะลอฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การเจรจาต่อรอง อันนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562รายการ ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม., 2562) กรกฎ ทองขะโชคการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์แห่งปัญหาและผลกระทบของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย และรูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเจาะจง การมีส่วนร่วมออกแบบและการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือ การมีหน่วยงานหลายหน่วยงานดำเนินการแต่ไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการ การแก้ปัญหาด้วยการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยมีโครงสร้างกฎหมาย 20 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หมวด 3 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หมวด 4 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก เครือข่ายท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หมวด 5 กองทุนท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ข้อบัญญัติท้องถิ่นนี้จะทำให้การจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีประสิทธิภาพขึ้น การวิจัยเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นตามแนวทางของข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปใช้ในการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ข้อเสนอแนะประเด็นวิจัยต่อไป คือ “การวิจัยข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ความมั่นคงด้านอาหารในลุ่มน้ำ”รายการ กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ(นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม., 2562) ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิจัยพบว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศถือว่ามีสถานภาพความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเหมือนกับบุคคลที่เป็นเพศหญิงและชาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันด้วยสิทธิการสมรส ส่วนประเทศไทยมีกฎหมายให้การรับรองสิทธิการสมรสเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น จึงขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย แบบการจดทะเบียนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตรบุญธรรม มรดก และอายุความ การวิจัยเสนอแนะให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุมัติหลักการ นำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้เกิดกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และหัวข้อวิจัยต่อไปคือกฎหมายต้นแบบว่าด้วยคำนำหน้านามของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศรายการ รูปแบบองค์กรประชาท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ธานี เนื่องจำนงค์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบองค์กรประชาท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบโครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่ ที่มีกฎหมายรองรับ มีสภาพบังคับได้ตามกฎหมาย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดรูปแบบองค์กรประชาท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงสร้างองค์กร ที่มาขององค์กร สถานะขององค์กร ขอบเขตแห่งหน้าที่และความรับผิดชอบ การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และการประสานงานกับภาคเอกชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมในปัจจุบันเป็นไปในรูปแบบของอาสาสมัครด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบันยังต้องอาศัยการขยายตัวของอุตสาหกรรมเป็นหลัก จึงส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง และปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบองค์กรในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมีสภาพบังคับได้ตามกฎหมาย ในระดับท้องถิ่น ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ ได้รูปแบบองค์กรประชาท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่มีโครงสร้างมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม มีสถานะขององค์กร และขอบเขตแห่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน รวมถึงการประสานงานทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน มีสภาพบังคับตามกฎหมายในระดับท้องถิ่น เพื่อบูรณาการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ รูปแบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแนวใหม่ขององค์การคลังสินค้า (อคส.)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ณัฐวุฒิ เจี่ยงเพ็ชร์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำรูปแบบการบริหารจัดการสินค้าทางเกษตรแนวใหม่แบบครบวงจรขององค์การคลังสินค้า (อคส.) วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเชิงปริมาณ และการรับฟังความคิดเห็น โดยมีรูปแบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศอินเดียและองค์กรภาคเอกชนของประเทศไทย เป็นแนวทางในการวิเคราะห์รายการ รูปแบบองค์กรเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ฉัฏรเพ็ชรมงคล จันทร์เพ็ญการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำรูปแบบองค์กรเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่มีอำนาจหน้าที่ชัดเจนเพียงองค์กรเดียวในการสืบสวนจับกุม การสืบสวนจับกุมสอบสวนดำเนินคดี และคุ้มครองเยียวยา มีพื้นที่รับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะการมีหลายองค์กรที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทำให้เกิดความทับซ้อนกัน ขาดการบูรณาการการทำงานร่วมและประสานกัน ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กร จนเป็นช่องว่างกฎหมายให้เจ้าหน้าที่แสวงหาประโยชน์จากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การวิจัยจึงเสนอให้จัดตั้งองค์กรในรูปแบบขององค์คณะสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์ ประกอบด้วย 6 องค์กร คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมการปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีขอบเขตอาจหน้าที่รับผิดชอบคดีค้ามนุษย์ทั่วราชอาณาจักร ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ให้มีการจัดตั้งองค์คณะสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์โดยมีการจัดทำกฎหมายรองรับเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อ คือ การจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์รายการ กฎหมายต้นแบบเพื่อใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เสนอปัญหาของการผังเมืองที่ไม่สามารถควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อยสวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามตามธรรมชาติ หากถูกทำลายแล้วจะยากต่อการฟื้นฟู ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ควรมีผังเมืองเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อันจะสอดคล้องกับหลักการผังเมืองในระดับสากล โดยมีประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านผังเมืองที่ควรนำมาศึกษาเปรียบเทียบ คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐสิงค์โปร์ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบรายการ รูปแบบการบริหารจัดการโยกย้ายถิ่นฐานประชาชนเพื่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร. นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จิระศักดิ์ ทนุกิจการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโยกย้ายถิ่นฐานประชาชนเพื่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ กำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะโครงการไฟฟ้าหงสา เมืองหงสา แขวงไซยะบุลี สปป.ลาว โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบผลการวิจัย คือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการโยกย้ายถิ่นฐานประชาชน มีปัจจัยในกระบวนการวางแผนและดำเนินงาน ประกอบด้วย คือ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโครงการและการมีส่วนร่วม การเวนคืนที่ดินและการชดเชย การพัฒนาพื้นที่โยกย้ายจัดสรร การขนย้ายทรัพย์สินและให้ความช่วยเหลือในระยะข้ามผ่าน การฟื้นฟูอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ การติดตามและประเมินผลคุณภาพชีวิตภายหลังการโยกย้าย กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และระบบการจัดการข้อมูลของผู้โยกย้าย การวิจัยเสนอแนะให้นำข้อค้นพบไปใช้ในโครงการขนาดใหญ่ของไทยโดยให้กำหนดเป็นนโยบายระดับประเทศ ระดับโครงการ และระดับปฏิบัติการเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งกับการต่อต้านโครงการและก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนในผลประโยชน์ที่จะได้จากโครงการ ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อ คือ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตภายหลังการโยกย้าย และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจากโรงไฟฟ้าภายหลังการโยกย้าย”รายการ กรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของแม่ธรณี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จุฬาพัฒน์ กีรติภูมิธรรมการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนทัศน์ทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางกับกระบวนทัศน์ทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางเพื่อจัดทำกรอบกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณี โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ สาเหตุของปัญหาวิกฤตระบบนิเวศเกิดจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ภายใต้กระบวนทัศน์ทางกฎหมายแบบมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางซึ่งมีปรากฏอยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทย ในขณะที่กระบวนทัศน์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมแบบมีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางมีกลไกทางกฎหมายที่ยอมรับถึงความมีอยู่จริงของสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณีในมิติทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของหลายประเทศ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการรับรองสิทธิของธรรมชาติแต่อย่างใด การวิจัยจึงจัดทำเป็นกรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณี และได้นำกรอบกฎหมายไปจัดเป็นร่างปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ประกอบด้วย คำจำกัดความ สถานะทางกฎหมาย ลักษณะแห่งสิทธิ ขอบเขตแห่งสิทธิ ผู้ใช้สิทธิแทน หน้าที่ของรัฐ และหน้าที่ของประชาชนรายการ การพัฒนารูปแบบศาลทหารที่เป็นอิสระจากอำนาจบริหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ประเสริฐ แดงไผ่การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำรูปแบบศาลทหารให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร กำหนดขอบเขต การวิจัยเฉพาะศาลทหารปกติ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิจัยพบว่าศาลทหารไม่เป็นอิสระในการใช้อำนาจตุลาการ จาก 5 ปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความเป็นอิสระของศาลทหารจากฝ่ายบริหาร คือ องค์กรสังกัด คณะกรรมการตุลาการศาลทหาร การแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการ องค์คณะตุลาการ การออกข้อบังคับและระเบียบศาลทหาร ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และแตกต่างจากศาลทหารของประเทศพัฒนารายการ รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(Sripatum University, 2562-12-12) สุธิดา สัจจะหฤทัยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หากดำเนินการโดยขาดความรับผิดชอบต่อสังคมจะส่งผลกระทบตามมาอย่างมากไม่ว่าจะธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ล้วนแต่ส่งผลกระทบตามมาตามขนาดของธุรกิจ นั้นมีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่ชัดเจน การแก้ปัญหาไม่ถูกจุด จึงทำให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องอย่างมากจากผู้บริโภคและชุมชนรอบข้าง และส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม การวิจัยจึงเสนอรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีหลักเกณฑ์ 9 ข้อ คือ 1) การเปิดเผยข้อมูล 2) การใช้วัสดุคุณภาพ 3) การดูแลสิ่งแวดล้อม 4) การคุ้มครองแรงงาน 5) การเฝ้าระวังและตรวจสอบ 6) การต่อต้านการทุจริต 7) การไม่หลีกเลี่ยงเสียภาษี 8) การเยียวยาผู้บริโภคกับชุมชนรอบข้าง 9) การปฏิบัติกฎหมายอย่างเคร่งครัดรายการ หลักการของการบริหารกิจการที่ดีสำหรับสหกรณ์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สหพล สังข์เมฆการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำหลักการของการบริหารกิจการที่ดีสำหรับสหกรณ์ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อมูลที่ได้มานำไปวิเคราะห์เชิงพรรณนา ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ หลักการของการบริหารกิจการที่ดีที่เหมาะสมกับระบบสหกรณ์ เรียกชื่อเฉพาะว่า “หลักสหภิบาล” ประกอบด้วยหลักการ 7 หลัก ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรมและจริยธรรม 3) หลักความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล 4) หลักการมีส่วนร่วมและมุ่งเน้นฉันทานุมัติ 5) หลักความเสมอภาค 6) หลักความพร้อมรับผิดชอบ และ 7) หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เมื่อนำมาใช้สามารถแยกหลักสหภิบาลได้ 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มหลักการบริหารกิจการที่ดีทางด้านกฎหมาย ได้แก่ หลักนิติธรรม (2) กลุ่มหลักการบริหารกิจการที่ดีทางด้านจริยธรรม ได้แก่ หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล หลักการมีส่วนร่วมและมุ่งเน้นฉันทานุมัติ (3) กลุ่มหลักการบริหารกิจการที่ดีทางด้านสาธารณประโยชน์ ได้แก่ หลักความเสมอภาค หลักความพร้อมรับผิดชอบ หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล