LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 82
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎต้นแบบว่าด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อภิชาติ เสียงล้ำการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎต้นแบบว่าด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า การจะให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการบริการสาธารณะนั้น จะต้องจัดตั้งองค์การเรียกว่า “สหการ” โดยมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งองค์การสหการรองรับ และมีโครงสร้างกฎหมายว่าด้วย องค์การสหการ ประกอบด้วย คณะกรรมการสภาองค์การสหการ คณะกรรมการควบคุมการบริหารองค์การสหการ ผู้ว่าการองค์การสหการ ผู้ปฏิบัติงาน โครงสร้างองค์การสหการ และประเภทบริการสาธารณะที่ให้บริการ การวิจัยเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ให้มีบทบัญญัติให้จัดตั้งองค์การสหการได้ และเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เพื่อให้เทศบาลสามารถร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนจัดตั้งองค์การสหการได้ เพื่อเป็นฐานอำนาจสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสหการ เป็นองค์กรความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการให้บริการสาธารณะรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธีรวัฒน์ วีระวัฒน์การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (2) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (3) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย (4) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพล็อบบี้ยีสต์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กมลยศ พันธุมาศโกมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ติดตัวมาตั้งแต่เกิดซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญแต่ก็ไม่มีการบัญญัติถึงองค์ประกอบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ประเทศไทยมีการบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เมื่อมีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กลับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติองค์ประกอบที่เป็นฐานความผิดเพื่อใช้ในการฟ้องร้องได้ การวิจัยนี้จึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยมีโครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วยคำนิยาม องค์ประกอบความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการใช้บังคับรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) เลิศ เทือกแสงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณณา ผลการวิจัยพบว่า สัตว์พันธุ์พื้นเมืองของไทยมีปัญหาการสูญพันธ์ และกลายพันธุ์ ที่ต้องคุ้มครองเพื่อเป็นสัตว์เอกลักษณ์ของไทย โดยใช้กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย คำนิยามคณะกรรมการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขอใช้ประโยชน์จากสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขออนุญาตและให้ใบอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง และ บทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอกฎหมายต้นแบบนี้ต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของสัตว์พันธุ์พื้นเมืองแก่คนไทยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สกุนา ทิพยรัตน์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำมีสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ การปล่อยน้ำเสีย การบุกรุกพื้นที่ การขยายตัวของวัชพืช เป็นปัญหาจากการใช้ประโยชน์แม่น้ำที่ยึดแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เมื่อแนวคิดได้เปลี่ยนไปเป็นระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางทำให้แม่น้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกละเมิดจากมนุษย์ การให้สิทธิแก่แม่น้ำจะต้องให้แม่น้ำมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิของแม่น้ำมี 5 ด้าน คือ สิทธิที่จะได้รับการรับรองสถานะทางกฎหมาย สิทธิในการไหลและการขยายตัวของน้ำในแม่น้ำตามธรรมชาติ สิทธิในการปฏิบัติหน้าที่สำคัญในระบบนิเวศ สิทธิในความหลากหลายทางชีวภาพพื้นเมือง สิทธิที่จะปลอดมลภาวะและสิทธิในการฟื้นฟูตัวเอง เพื่อที่จะให้มีการคุ้มครองและพิทักษ์รักษาสิทธิของแม่น้ำ โดยมีกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำใช้บังคับ ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย ขอบเขตของสิทธิแม่น้ำ สถานะทางกฎหมายของแม่น้ำ คณะกรรมการองค์กรพิทักษ์สิทธิของแม่น้ำ การมีส่วนร่วมของประชาชน หน้าที่ของรัฐและประชาชน และมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ การวิจัยเสนอแนะด้านนโยบาย ให้รัฐมีนโยบายให้ส่วนราชการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การปลูกฝังแนวคิดระบบนิเวศเป็นศูนย์กลาง ด้านกฎหมาย ให้มีการเวนคืนบ้านและอาคารที่อยู่ติดแม่น้ำเพื่อป้องกันระยะห่างในการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ให้นำกฎหมายต้นแบบไปเพิ่มเป็นหมวดในกฎหมายทรัพยากรน้ำข้อเสนอแนะการวิจัยต่อไป คือ “กฎหมายท้องถิ่นเพื่อคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ”รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต(Sripatum University, 2567) นิติ เนื่องจำนงค์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ทางวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูงและผู้แทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลในเชิงนโยบาย นักวิชาการในระดับโรงเรียนแพทย์ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และ นักกฎหมายมหาชนรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศุนงค์นุช ศรีวิพันธ์จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ครั้งต่อมาปี พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2557, พ.ศ. 2560 และ การสำรวจในปี พ.ศ. 2564 นี้ นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 7 ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged Society) มานานมากกว่า 10 ปี ซึ่งหมายถึงการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า (Super Aged Society) เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงขึ้นถึงร้อยละ 20) ต่อไปรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการที่สาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อัญชัญ ยุติธรรมการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการที่สาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองไทยใช้ร่วมกัน โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ปัญหาการจัดการที่สาธารณประโยชน์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะที่ชัดเจนมาใช้บังคับใช้ เพื่อแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ผิดประเภท และ การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ โดยมีกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการที่สาธารณะสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อให้การบริหารจัดการที่สาธารณประโยชน์มีความชัดเจนและเหมาะสม ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย ประเภทการใช้ประโยชน์ ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ การบริหารจัดการ องค์กรบริหารจัดการ กระบวนการบริหารจัดการ และ กติกาชุมชน การเฝ้าระวัง และการไกล่เกลี่ย เป็นมาตรการคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่สาธารณประโยชน์ การวิจัยเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ คือ สร้างการรับรู้เรื่องการใช้ประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์ที่ถูกต้อง การออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดขั้นตอนการจัดการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อไป คือ “มาตรการทางกฎหมายเพื่อการส่งเสริมการสร้างพื้นที่สีเขียวในชุมชนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม”รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการพื้นที่กันชนเพื่อพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชัยภูมิ ชนะภัยวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบเพื่อการจัดตั้งพื้นที่กันชนเพื่อการพิทักษ์รักษาป่า มิให้ถูกบุกรุก การลดลงของพื้นที่ป่า และการป้องกันไฟป่า การวิจัยได้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ,ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้คำตอบที่จะนำไปจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาป่า คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การจัดให้มีพื้นที่กันชนรอบป่าโดยพื้นที่กันชนได้มาจากที่ดินของรัฐ ที่ดินเอกชนจะต้องได้รับความยินยอม โดยมีมาตรการจูงใจที่เป็นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตอบแทน และมีการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของประชาชน การบริหารจัดการโดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน สิทธิประโยชน์ตอบแทน โครงสร้างกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการพื้นที่กันชนเพื่อพิทักษ์ป่า มี 39 มาตรา แบ่งเป็น 8 หมวด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการนโยบายจัดการพื้นที่กันชนแห่งชาติ หมวด 3 คณะกรรมการจัดการพื้นที่กันชนจังหวัด หมวด 4 คณะกรรมการจัดการพื้นที่กันชน หมวด 5 การจัดตั้งพื้นที่กันชน หมวด 6 การจัดการพื้นที่กันชน หมวด 7 การควบคุมดูแลพื้นที่กันชน และหมวด 8 บทกำหนดโทษรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Sripatum University, 2563-12-01) มโหสถ เกิดเดชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มานำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมาย ต้นแบบรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดตั้งศาลศุลกากรและวิธีพิจารณาคดีศุลกากร(Sripatum University, 2565) ประสิทธิ์ ประวรรณะการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดตั้งศาลศุลกากรและวิธีพิจารณาคดีศุลกากร เพื่อให้มีศาลและวิธีการพิจารณาคดีศุลกากรเฉพาะที่จะอำนวยความยุติธรรมต่อผู้ประกอบกิจการการค้าระหว่างประเทศและเพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บอากรศุลกากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปาริชาติ สายจันดีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดมหาธาตุ จังหวัดอยุธยาโดยการจัดทำเป็นผังเมืองเฉพาะ การวิจัยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นในการหาคำตอบ ข้อค้นพบของการวิจัย คือการจัดทำผังเมืองเฉพาะ มีปัจจัย 5 ประการคือ หลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่เพื่อจัดทำผังเมืองเฉพาะ โครงสร้างผังเมืองเฉพาะ คณะกรรมการดำเนินการ การมีส่วนร่วมของประชาชน และลำดับศักดิ์ของกฎหมายให้ใช้ผังเมืองเฉพาะ คำตอบที่ได้มาจากการวิจัยนำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย บทบัญญัติ 30 มาตรา แบ่งเป็น 5 หมวด คือ หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการ หมวด 3 การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นการเฉพาะ หมวด 4 มาตรการเพื่อปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองเฉพาะ หมวด 5 การกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล การวิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการตรากฎหมายฉบับนี้เพื่อให้มีการใช้บังคับได้ และออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริม เพื่อให้ผู้ค้าขาย ผู้อาศัยได้ปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองเฉพาะ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายท้องถิ่นว่าด้วยรูปแบบและวิธีการในการมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น และการติดตามรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่ โรงแรมและหอพัก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วรรณชัย พรหมรักษ์วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดระเบียบกิจการที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพักเพื่อให้มีมาตรฐานขั้นต่ำในการดำเนินกิจการ การบริหารจัดการและการให้บริการของผู้ประกอบกิจการเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน สังคม เศรษฐกิจ การป้องกันปัญหาอาชญากรรม การคุ้มครองสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม สิทธิของผู้บริโภค และส่งเสริมภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำคำตอบไปจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก ข้อค้นพบของการวิจัยเป็นการจัดทำกฎหมายต้นแบบ เพื่อใช้บังคับในการควบคุมและดูแลการประกอบกิจการที่พักแรม คือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก พ.ศ. .... โดยโครงสร้างของกฎหมาย มีบทบัญญัติ 35 มาตรา ประกอบด้วยคำนิยาม องค์กรควบคุม คณะกรรมการส่งเสริมและกํากับธุรกิจที่พักแรม การแจ้งและขออนุญาตประกอบกิจการ การบริหารจัดการ เพื่อป้องกันปัญหา ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน การวิจัยเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายนี้เพื่อจัดระเบียบและควบคุมที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก และให้ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อการบังคับใช้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วัฒนา คณาวิทยาการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (4) แนวทางจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุระทิน ชัยทองคำการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จากปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค และความไม่เหมาะสมของกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมมนารับฟังความคิดเห็น (Hearing) ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่มมีปัญหาและไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จึงได้จัดทำร่างปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยเพิ่มเติม หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง เป็นหมวด 6/1 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม แยกออกเป็น 6 ส่วน จำนวน 20 มาตรา ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การฟ้องคดี ส่วนที่ 3 การพิจารณาคดี ส่วนที่ 4 คำพิพากษาหรือคำสั่ง ส่วนที่ 5 อุทธรณ์และฎีกา และส่วนที่ 6 บังคับคดีรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ(Sripatum University, 2565) ชัดติยาพร คำแสนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อนุราช เพิ่มสินการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (4) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สหัส ไพภักดิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน และไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะอยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล การวิจัยจึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 10 หมวด 43 มาตรา ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ให้มีนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายไปตราเป็กฎหมายตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชญานิศ ภาชีรัตน์การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สืบเนื่องจากปัญหาข้อพิพาททางอาญาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ เพื่อทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จึงนำมาสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อกำหนดเป็นกฎหมายกลางให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญา รวมทั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการระงับข้อพิพาททางอาญาบางประเภท โดยวิเคราะห์กฎหมายภายใน กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ทำให้ได้มาซึ่งวิธีการระงับข้อพิพาทที่สามารถจะทำให้คดีอาญาลดลงไปได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย การไกล่เกลี่ย การชะลอฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การเจรจาต่อรอง อันนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ(Sripatum University, 2565) พงศกร ถิ่นเขาต่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น