CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 36
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผน การพยากรณ์และเติมเต็มสินค้าร่วมกัน กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ลำเลียงสินค้าอากาศยาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิดา เรือนนิลการลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกันของบริษัทกรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าอากาศยานนั้น เป็นการศึกษาและนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้า ให้มีแนวทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษา ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อมาคำนวนหาค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อ โดยใช้การคำนวนโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบ Moving Average และทำการเพิ่มค่า Safety Stock จำนวน 15% เพื่อนำค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ได้นั้น นำมาใช้ในการวางแผน การพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลต่างๆร่วมกัน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และทำให้เกิดการวางแผนการสั่งซื้อสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดค่าเสียโอกาสในการขายสินค้า และในส่วนของลูกค้านั้น ทำให้บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามเวลา ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัทมากขึ้น และสามารถขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตรายการ การศึกษารูปแบบโซ่อุปทานของร้านแว่นตารายย่อย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนุกูล แป้นแก้วการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบโซ่อุปทานของร้านแว่นตารายย่อยโดยใช้ โซ่อุปทานการใช้ระบบของหน่วยงานคนเทคโนโลยีกิจกรรมข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากผู้จัดหาไปยังลูกค้ากิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จแล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภคหรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้นวัสดุที่ถูกใช้แล้วอาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials)โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของตนเองและร่วมกันศึกษารูปแบบสิ่งที่แสดงโครงสร้างของความเกี่ยวข้องระหว่างชุดของปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ หรือองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกันการจัดการโซ่คุณค่ามีองค์ประกอบสองอย่างที่มีบทบาทที่สำคัญได้แก่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน(Supply chain management หรือ SCM) และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management หรือ CRM)โดยห่วงโซ่อุปทานจะช่วยในเรื่องต่างๆอาทิเช่นการตัดสินใจว่าทรัพยากรหรือวัตถุดิบใดที่ควรจะสั่งเข้ามาในโซ่คุณค่าสั่งเข้ามาด้วยปริมาณเท่าใดทรัพยากรหรือวัตถุดิบเหล่านั้นจะถูกจัดการหรือบริหารอย่างไรเพื่อแปลงให้เป็นสินค้าหรือบริการได้ตามที่ลูกค้าต้องการและจะส่งสินค้าไปให้ลูกค้าได้อย่างไรมีกำหนดการการส่งเป็นอย่างไรการตรวจติดตามและควบคุมการส่งสินค้ารายการ การวางผังคลังสินค้าห้องเย็น กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนิรุต ทรัพย์สุคนธ์ปัจจุบันธุรกิจห้องเย็นขายปลาทะเลแช่แข็งมีการแข่งขันสูง จึงต้องมีวิธีการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ปัจจัยที่สำคัญของห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร คือ การลดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า โดยการจัดวางผังสินค้าห้องเย็นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของธุรกิจให้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวธุรกิจ จากการศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิดและวางแผนการจัดการเรียงสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพโดยลดเวลาและระยะทางลง จึงได้นำเทคนิคการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC (ABC ANALYSIS) เข้ามาช่วย อีกทั้งยังดึงวิธีการ First In First Out: FIFO มาช่วยจัดการเพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ในห้องเย็น ที่เข้ามาก่อน ออกก่อน ป้องกันของเสียที่เกิดจากการเก็บสินค้าไว้นาน วิธี ABC เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะ สินค้าไหนที่มียอดขายที่สูงจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อสามารถหยิบได้สะดวก ลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าเพราะ เป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าลงได้ครึ่งหนึ่งรายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา : บริษัทผู้ให้บริการด้านธุรกิจขนส่งสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วัชรพล สิงหะเนติงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวางแผนการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบบริหารการจัดการขนส่ง (TMS) เพื่อลดระยะเวลาในการวางแผนการขนส่ง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดในการทำงานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในภาพรวมของการบริหารจัดการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของบริษัทกรณีศึกษา นำไปทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ TMS จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการนำระบบ TMS มาใช้ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำระบบ TMS มาใช้สามารถลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกได้ และทำการเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นเข้าไปแทน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมมีทั้งหมด 13 ขั้นตอน ส่วนขั้นตอนในการทำงานแบบปรับปรุงมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ลดลงมา 1 ขั้นตอน ในส่วนของระยะเวลาในการทำงาน การทำงานแบบเดิมใช้เวลาทั้งหมด 1025 นาที และการทำงานแบบปรับปรุงใช้เวลาทั้งหมด 965 นาที ลดระยะเวลาลงมา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 5.85รายการ การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) คุณานนท์ จงทองการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดความเสียหายจากการขนส่งปลาทะเลแช่แข็ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังก้างปลา พบสาเหตุสำคัญของความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพสินค้า จากระยะเวลาในการศึกษารวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 6 เดือน พบมูลค่าความเสียหายเป็นมูลค่า 171,650 บาท ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการวิเคราะห์หาแนวทางผู้วิจัยจึงเปรียบเทียบ 2 วิธีคือ การเสริมผนังกันความร้อนและการติดตั้งแอร์ ซึ่งทั้ง 2 วิธี ช่วยลดความเสียหายของสินค้าได้ 100% แต่การเสริมผนังกันความร้อนมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มีระยะเวลาในการคืนทุนที่เร็วกว่าอยู่ที่ 3 เดือน 24 ซึ่งคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะคืนทุนอยู่ที่ 24-36 เดือน ดังนั้นการลงทุนในการปรับปรุงรถขนส่งครั้งนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการคืนทุนที่ดีมากเพราะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน 24 วันรายการ แนวทางการลดพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่ง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ฐิติกร ชมขุนทดเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่ง มีสัดส่วนการใช้พลังงานขนส่งที่สูง และยังขาดกลไกการส่งเสริมการจัดการพลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ต้องมีการจัดการพลังงานและประหยัดเชื้อเพลิงเพื่อมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยจัด "การจัดทำระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่ง" ขึ้น โดยอาศัยแนวทางการส่งเสริมโครงการสาธิตระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่ง (Logistic and Transport Management ; LTM) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของห้างหุ้นส่วนฯ กรณีศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขและป้องกัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับลดการใช้เชื้อเพลิงในด้านการขนส่ง ของห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคฐิติพงศ์ ขนส่งระบบบริหารจัดการพลังงานในภาคขนส่งสามารถนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ โดยกำหนดให้มี อัตราสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 10 % โดยอาศัย ทฤษฎี ด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยี , ด้านการบริหารจัดการ , ด้านวิธีการขับรถ , ด้านการสร้างทีมงาน และใช้มาตรการดังนี้ การอบรมพัฒนาการขับขี่ , การควบคุมลมดันยางให้เหมาะสม , การใส่สารหัวเชื้อน้ามันเชื้อเพลิง , การควบคุมการขับขี่อยู่ในช่วง 60-80 กม./ชม. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย Program Excel ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและทำการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและมีค่าดัชนี ลิตร/กม. ที่ดีขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.22 % ซึ่งมากกว่าค่าเป้าหมาย 4.22 %รายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนัก ความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการรายการ แนวทางการลดปัญหาการเน่าเสียของผักผลไม้สดส่งออกโดยเครื่องบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ศิรินันท์ พันโนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งและเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาผักและผลไม้เสียหายในการขนส่งโดยนำแนวคิดลีนหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าในการดำเนินงาน มาช่วยในกระบวนการการทำงานให้รวดเร็วขึ้น จากการเขียนแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผักและผลไม้เสียหายเกิดขึ้นมาจาก 3 กระบวนการคือ ส่วนของบริษัทไม่มีการตรวจสอบผักและผลไม้จากชาวสวนและใช้หนังสือพิมพ์ในบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ ส่วน Shipping การพักสินค้า ส่วน คาร์โก้ การจัดเรียงสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ การเสนอแนวทางได้จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS โดยใช้ ส่วนของบริษัท แนวคิดการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Q.C.) เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้มีปัญหาผักและผลไม้เน่าเสียที่มาจากชาวสวนและการใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุหีบห่อผักและผลไม้ เพื่อการยืดอายุในการเก็บรักษาผักและผลไม้ ให้คงคุณค่า ความสดใหม่ ไว้ได้นานกว่าเดิมส่วนของ Shipping การจัดมาตรฐานในการทำงานไม่ให้มีการพักสินค้า ช่วยให้ลดกระบวนการรอคอยลงได้ ส่วนของ คาร์โก้ การแบ่งปันของข้อมูลข่าวสาร ความต้องการในการขนส่งต่อวัน เพื่อจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอกับความต้องการ สินค้าที่มาถึงคลังก่อนถยอยบรรจุก่อนเพื่อรอสินค้าที่เหลือเข้ามาเติมเต็มบรรจุสินค้าตามใส่ตู้คอนเทนเนอร์ LD3 ปริมาตรในการบรรจุ 4.0 ลบ.ม น้ำหนักไม่เกิน1588 กิโลกรัม แนวความคิดการจัดการทั้ง 2 แบบจะทำให้ลดช่องว่างในการทำงานและสามารถลดระยะเวลาการทำงานลงได้รายการ ารวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABC ANALYSIS กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทรงศักดิ์ อยู่นานการวิจัยเรื่อง การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป เพื่อศึกษารูปแบบการจัดผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้นำ เอาการวิเคราะห์แผนผังสาเหตุและผล การวางผังสินค้า และเทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งประเภทสินค้าและเลือกวิธีจัดเรียงแบบเคลื่อนไหวเร็ว, เคลื่อนไหวปานกลาง และเคลื่อนไหวช้าโดยนำเอาปริมาณการผลิตปี พ.ศ.2561 มาทำ การวิจัย และทำการเปรียบเทียบระหว่างการจัดเก็บสินค้าแบบปัจจุบันกับการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ในการเตรียมสินค้าแบบปัจจุบัน เวลาที่พนักงานใช้ในการหยิบสินค้าค่าเฉลี่ยแต่ละ แร็คเท่ากับ 6.3 นาที และเมื่อนำการจัดวางผังคลังสินค้าแบบใหม่พร้อมกับการจัดกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis เข้าไปปรับปรุงทำให้ค่าเฉลี่ยในการหยิบสินค้าเพื่อการจัดส่งแต่ละ แร็คเท่ากับ 4.3 นาที ซึ่งลดลง 2 นาที ต่อหนึ่งแร็ค คิดเป็นร้อยละ 31.36 ทั้งนี้ปัญหาพนักงานหยิบสินค้าไม่ตรงตามเอกสารการส่ง สาเหตุเกิดจากการที่สินค้าวางรวมกันหลายๆ ชนิด หลังจากมีการจัดกลุ่มสินค้าและวางผังคลังสินค้า ไม่มีการหยิบสินค้าผิด ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและมีความ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่ารายการสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ซึ่งได้ถูกจัดแบ่งไว้ในกลุ่ม C บางรายการไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลาเกินกว่า 365 วัน กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้จัดทำเป็นรายงานนำเสนอผู้บริหารรายการ ความพร้อมของบุคลากรในองค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กรณีศึกษา : บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สรัลรัฐ รุ่งเรืองการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากรผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมของบริษัทกรณีศึกษาเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มความพร้อมของบุคคลากรเพื่อการให้บริการด้วยรถบรรทุกขนส่งสินค้าในองค์กรให้บริการด้วยรถบรรทุกขนส่งสินค้าเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC กรณีศึกษา บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด โดยศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านสถานภาพและข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ทางาน เปรียบเทียบปัจจัยด้านองค์กร 7 ด้านทฤษฎี 7S McKenzie ได้แก่ โครงสร้างองค์กรกลยุทธ์การจัดหาบุคลากรเข้าทางานรูปแบบธุรกิจระบบบริหารงานค่านิยมร่วมทักษะความชำนาญของพนักงาน และข้อเสนอแนะอื่นๆโดยเทคนิควิจัยแบบปริมาณโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงาน หัวหน้างาน และพนักงานขับรถ บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด นำแบบสอบถามแจกกลุ่มตัวอย่างมาทั้งหมด 171 ชุด และเทคนิคเชิงคุณภาพโดยเลือกสัมภาษณ์ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ ที่มีความรู้และเชียวชาญมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยใช้คานวณ SPSS และเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการใช้การสัมภาษณ์รายการ การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุวิชา สวัสดีการศึกษาวิจัยเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานสถานศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุมวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของสถานการศึกษา กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพโซ่อุปทานของสถานการศึกษาเอกชนด้วยการจัดการความรู้ กรณีศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการวิจัยนี้ใช้ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ จากนั้นตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการความรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสมรายการ ารศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคบนเส้นทาง แหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค บนเส้นทางแหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานีเป็นการสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่รูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ใน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม และประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ เพื่อส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 1.5 ของการขนส่งภายในประเทศ สอดคล้องกับแนวทาง การปรับตัวของผู้ให้บริการขนส่งรายย่อยในการผันไปเป็นผู้ให้บริการรับช่วงขนส่ง (Sub-contractors) โดยรูปแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ คือ 1) ผู้ให้บริการขนส่งขยายขอบข่ายการให้บริการเชื่อมโยงการขนส่งด้วยรถไฟ และ 2) ผู้แทนรับจัดการขนส่งสินค้า โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการผลิต ผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุก และการรถไฟแห่งประเทศ การปฏิบัติ งานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าที่สามารถยกขนหรือขนถ่ายสะดวกด้วยโฟล์คลิฟท์ในการขนย้ายระหว่างคลังสินค้ากับรถบรรทุก และรถไฟ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและการลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ มีระยะเวลาคืนทุน (PB) ใกล้เคียงกันอยู่ที่ประมาณ 4 ปี 11 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีมูลค่าเท่ากับ - 577,137.92 และ - 954,796.01 และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) อยู่ที่ร้อยละ 2.12 และ 2.03รายการ แนวทางลดการสูญหายของวัตถุดิบในคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัท ABC อิเล็กทรอนิกส์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เทพกมล ศรีระพรหมการค้นคว้าอิสระเรื่อง แนวทางลดการสูญหายของวัตถุดิบในคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัท ABC อิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทาให้เกิดการสูญหายของวัตถุดิบในคลังสินค้า และศึกษาแนวทางการนาเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการวัตถุดิบคงคลัง โดยใช้แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) วิเคราะห์สาเหตุที่มีความเป็นไปได้ในการเกิดการสูญหายของวัตถุดิบในคลังสินค้า คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 58,082 บาทต่อเดือนรายการ การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยเทคนิควิธีศูนย์กลางโน้มถ่วงและวิธีการประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญการค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า และ เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีวิเคราะห์จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อหาทำเลที่เหมาะสม จุดที่หาได้ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ที่ 146/26 บางแวก แขวงบางไพร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีคลังสินค้าให้เช่า หรือ ไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย จึงได้ทำการขยายขอบเขตของการหาพื้นที่ออกไปในรัศมี 30 กิโลเมตร จากนั้นใช้วิธีประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย (Factor Rating Method) กำหนดตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียแล้ว สามารถสรุปปัจจัยและ น้ำหนักที่จะนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดังนี้ 1.ต้นทุนค่าขนส่ง 18% 2.โครงสร้างพื้นฐาน/ สภาพแวดล้อม 18% 3.ต้นทุนการดำเนินการ 17% 4.ต้นทุนด้านคลังสินค้า 16% 5.ภูมิศาสตร์/ การเข้าถึงลูกค้า 16% 6.การดำเนินธุรกิจ/ กฏระเบียบ 15% ใส่คะแนนให้ปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละสถานที่ตั้ง คำนวนค่าคะแนนกับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย แล้วรวมคะแนนทั้งหมดของแต่ละทางเลือก โดยคลังที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)รายการ การพยากรณ์ความต้องการแว่นตา กรณีศึกษา : ร้านรักแว่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนุสรณ์ บุญสง่าปัจจุบันธุรกิจร้านแว่นตามีการแข่งขันทางธุรกิจที่สูง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านค้าทั่วไป ที่มีหลากหลายยี่ห้อและหลายรูปแบบ ปัจจัยที่สำคัญของร้านแว่นตา คือการบริหารต้นทุนของสินค้า จึงจำเป็นจะต้องแก้ไขจุดอ่อนของธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ซึ่งการค้นคว้าอิสระนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพยากรณ์การสั่งซื้อสินค้าของร้านรักแว่น และหาแนวทางแก้ไขปัญหาสินค้าเคลื่อนไหวช้าและไม่มีการเคลื่อนไหว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 จนถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบง่าย การวิเคราะห์สมการถดถอย การพยากรณ์นาอีฟ และวิธีแยกส่วนประกอบ เพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพยากรณ์และคำนวณหายอดสั่งซื้อแว่นสายตาที่ใกล้เคียงกับความต้องการจริง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่า การพยากรณ์วิธีแยกส่วนประกอบได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงมากกว่าการพยากรณ์รูปแบบอื่น โดยมีค่า MAD , MSE และ MAPE ต่ำสุด คือ Rayban เท่ากับร้อยละ 1.34, 2.34 และ 52.63 ตามลำดับ LEVI’S เท่ากับร้อยละ 2.15, 6.20 และ 33.70 ตามลำดับ และ Frank Custom เท่ากับร้อยละ 4.40, 27.47 และ 25.85 ตามลำดับ นอกจากการพยากรณ์ด้วยวิธีแยกส่วนประกอบ จะเหมาะสมกับการพยากรณ์ยอดขายยังสามารถใช้ในการวางแผนการบริหารสินค้าคงคลังในธุรกิจร้านแว่น รวมถึงธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ เช่นกันรายการ การพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (Q-MARK) กรณีศึกษา : บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) กวิน พินสาราญการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (Q-MARK) กรณีศึกษา บริษัท ดาวตะวันออก จำกัด ซึ่งเป็นการออกแบบและจัดทำระบบมาตรฐานฯ ตามข้อกำหนด โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาความพร้อมเบื้องต้นตามข้อกำหนดมาตรฐานฯ ของบริษัทฯแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบฯ จากนั้นดำเนินการพัฒนาระบบฯ และนำมาสรุปผลการพัฒนาระบบฯ จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาระบบสำเร็จมาก คือ การที่ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพเป็นอย่างมาก มีการจัดการคุณภาพที่เหมาะสม ส่วนผลที่ได้จากการพัฒนาระบบ คือ จากเดิมก่อนพัฒนาระบบฯบริษัทค่อนข้างมีจุดอ่อนในด้านองค์กร ด้านพนักงานและด้านพาหนะ ที่มีความพร้อมเพียงร้อยละ 25 ร้อยละ 8.3 และร้อยละ 33.3 ตามลำดับโดยภาพรวมความพร้อมทั้ง 5 ด้านมีอยู่เพียงร้อยละ 32 ซึ่งหลังการพัฒนาระบบฯส่งผลให้มีความพร้อมที่เพิ่มขึ้นในด้านองค์กร ที่ร้อยละ 87.5 ด้านพนักงานและด้านยานพาหนะที่มีความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยภาพรวมความพร้อมทั้ง 5 ด้าน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 97.5 ส่งผลให้ภาพพจน์ของบริษัทดีขึ้น ทาให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นและมีข้อได้เปรียบคู่แข่งเพิ่มขึ้นการทางานมีระบบระเบียบมากขึ้น พนักงานมีคุณภาพมากขึ้นและพนักงานได้รับการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมมากขึ้น จึงทำให้การทำงานของบริษัทฯมีประสิทธิภาพมากขึ้นรายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการคลังสินค้าแบบ REAL TIME กรณีศึกษา : ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อัศนีย์ หมอยาการวิจัยนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการคลังสินค้าแบบ Real time และนำระบบระบบสารสนเทศฯ ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ โดยปรับปรุงกระบวนการให้ข้อมูลการเติมสินค้า และสามารถแจ้งวันจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า จากโรงงานผู้ผลิตไปยังฝ่ายขาย โดยการนำหลักการ ECRS มาช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่า และการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการคลังสินค้าแบบ Real time จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก สองสาเหตุคือ ลูกค้าไม่ทราบวันที่จะได้รับสินค้าที่แน่นอน และลูกค้าไม่ทราบแผนการเติมสินค้าในอนาคตเพื่อทำการสั่งซื้อซ้ำ จากการปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS และการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการคลังสินค้าแบบ Real time ที่สามารถรวบรวมข้อมูล จากส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ แผนการขายรายเดือนรายผลิตภัณฑ์ จำนวนสินค้าจริงคงเหลือรายผลิตภัณฑ์ แผนการเติมเต็มสินค้าจากปัจจุบันถึงสิ้นเดือนหรืออย่างน้อย 15 วัน มาทำการแสดงผลให้กับฝ่ายขายและทุกหน่วยงานให้สามารถดำเนินการกับคำสั่งซื้อของลูกค้า และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเติมสินค้ากับลูกค้าได้ถูกต้องแม่นยำ และน่าเชื่อถือ จากผลการดำเนินการดังกล่าวสามารถลดขั้นตอนการทำงานได้ 3 ขั้นตอน เป็นเวลา 4,410 นาที Iรายการ การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 ด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ภคพล พิงพิทยากุลการศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ และเพื่อกำหนดรายการสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับแนวคิดโลจิสติกส์ 4.0 ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์สมรรถนะที่มีความสำคัญและจำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในยุคโลจิติกส์ 4.0 ผู้ตอบแบบสอบถามบุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับกลาง (เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าศูนย์) ประเภทหน่วยงานเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ประเภทธุรกิจตามกลุ่มสินค้าที่หน่วยงานของบุคลากรเป็นประเภทธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์และประเภทธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรด้านความรู้ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาเบื้องต้น ด้านคุณธรรมจริยธรรม ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านภาวะผู้นำ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีทักษะการรับสินค้า ด้านภาวะผู้นำ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีการรับรู้ความต้องการเป้าหมายขององค์กร ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์บุคลากรด้านโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่บุคลากรมีความคิดเห็นในเรื่องของศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรส่วนใหญ่มีความสามารถปรับตัวได้ทันกับเทคโนโลยีในการทำงานและวิธีการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่เป็นการไปศึกษาดูงานรายการ การออกแบบผังการจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์สิ้นเปลืองด้วยเทคนิค ABC(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ณัฐนนท์ รุ่งเจริญจากงานวิจัยเรื่องการออกแบบผังการจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์สิ้นเปลืองด้วยเทคนิค ABC เครื่องมือที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ การออกแบบแผนผังคลังสินค้า และเทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการแบ่งประเภทสินค้าโดยพิจารณาจากอัตราการเคลื่อนไหวของสินค้า และมูลค่าของสินค้า โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 จนถึง เดือนมิถุนายน 2561 เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานและแผนผังคลังสินค้าใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2561 ผลงานวิจัยพบว่า ทำให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนงานคลังสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านความถูกต้องและความรวดเร็วในการทำงาน โดยหลังจากการปรับปรุงจำนวนครั้งในการผิดพลาดนั้นหายไปอย่างชัดเจน โดยที่จำนวนสินค้าจริงกับในระบบต้องตรงกันเสมอ ส่วนความรวดเร็วในกระบวนการเบิก-จ่ายสินค้านั้นใช้เวลาลดลงถึง 10 นาทีคิดเป็นร้อยละ 52.38 ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถใช้เวลาที่เร็วขึ้น เช็คสต๊อคสินค้านั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้านี้เป็นระยะเวลา 1 เดือน จากการปรับปรุงการจัดการคลังสินค้าและการออกแบบผังการจัดเก็บสินค้าในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานที่ล่าช้า และต้นทุนสินค้าที่จมอยู่ในคลังสินค้าเนื่องจากสินค้าหมดอายุก่อนการใช้งาน ซึ่งมีมูลค่าถึง 186,390 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริหารเล็งเห็นถึงปัญหา และมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาต่อไปรายการ การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) วรรณวิภา ชื่นเพ็ชรงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค ABC Analysis ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า บริษัทกรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด (2) เพื่อศึกษาการลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้การจัดเรียงสินค้าABC Analysis โดยการออกแบบและวางผังคลังสินค้า ซึ่งในการดำเนินงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นี้ พบว่าปัญหาที่เกิดจากการใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าซึ่งเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในระบบการจัดเก็บสินค้าจึงทำให้ใช้เวลามากในการเดินทางหยิบสินค้า การจัดเรียงสินค้าด้วยเทคนิค ABC ทำให้พนักงานใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าน้อยลงโดยใช้ค่าเฉลี่ยของพนักงานจำนวน 5 คน ก่อนที่จะนำเทคนิค ABC เข้ามาช่วยในการจัดเรียงสินค้า พนักงานจำนวน 5 คน ใช้เลาในการเดินทางหยิบสินค้าเฉลี่ย 9.45 นาที และหลังจากที่มีการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC พนักงานชุดเดิมจำนวน 5 คน ใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าเฉลี่ย 6.41 ลดลง 3.04 นาที จะเห็นได้ว่าพนักงานใช้เวลาในการหยิบสินค้าลดลง โดยการจัดเรียงสินค้าที่มียอดขายสินค้าสูงสุด (หน่วย : ลัง) ไว้ใกล้ประตูทางออก และสินค้าที่มียอดขายปานกลางหรือเคลื่อนไหวปานกลางและยอดขายสินค้าต่ำ หรือเคลื่อนไหวช้าไว้ตามลำดับ เพื่อเป็นการลดระยะเวลาและระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้อย่างเหมาะสม