GRA-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-08. ผลงานนักศึกษา โดย เรื่อง "การบริหารงาน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วิไลพร ชนะศึกการศึกษาเรื่อง “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เครื่องมือศึกษาเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และจ้างเหมาดำเนินงาน ที่ปฏิบัติงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 232 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวรายการ ความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ กรมกำลังพลทหารบก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ศุภณัฐ ขันติวงศ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของกรมกำลังพลทหารบก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ จำนวนปีที่รับราชการ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของกรมกำลังพลทหารบก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการ กรมกำลังพลทหารบก จำนวน 317 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามวัดความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของข้าราชการกรมกำลังพลทหารบก และข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาดำเนินการแจกแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test และ F-test และกําหนดค่าระดับความเชื่อมั่น (ระดับนัยสําคัญ) ที่ 0.05รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนบุคคล(Sripatum University, 2560) สุรเดช จองวรรณศิริการวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนสนใจ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีลักษณะเป็นนักลงทุนบุคคลที่มีประสบการณ์ ความรู้ และความตระหนักในการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ จานวน 460 คน ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างปรากฏอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของนักลงทุนตามระดับความสามารถในการรับความเสี่ยง แหล่งข้อมูลที่นักลงทุนให้ความสนใจ การรับรู้ต่อปัจจัยทางการบริหารของบริษัท และความคาดหวังต่อผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ ที่มีต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทของนักลงทุน นอกจากนั้นจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจในข้อมูลชุดเดียวกัน ปรากฏผลที่แสดงถึงกระบวนการตัดสินใจของนักลงทุนไทยที่จะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่สนใจด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัทใน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานของบริษัทกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท และผลการดำเนินงานของบริษัทและหลักทรัพย์ โดยผลการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแบบที่พัฒนาขึ้นและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นนักลงทุนบุคคล สามารถแสดงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ต่อความตั้งใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนควรได้ตระหนักความสำคัญของปัจจัยดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ บริษัทผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคตต่อไป