LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "กฎหมาย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะเพื่อการคุ้มครองสิทธิ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สันติพงษ์ กุมารสิงห์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มานำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะเพื่อการคุ้มครองสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของทนายความอาสาและทนายความขอแรงมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในคดีอาญาในชั้นสอบสวนและชั้นศาลแต่มีปัญหาด้านความต่อเนื่องของคดีที่เป็นผลเสียในการต่อสู้คดีแต่เมื่อนำมารวมกันเป็นทนายความสาธารณะที่จะทำหน้าที่หลักคือการแสวงหาข้อเท็จจริงแห่งคดีจะทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยการวิจัยได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะที่มีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 25 มาตรา แบ่งเป็น 7 หมวด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 สำนักงานทนายความสาธารณะ หมวด 3 คณะกรรมการทนายความสาธารณะ หมวด 4 คุณสมบัติทนายความสาธารณะ หมวด 5 อำนาจและหน้าที่ทนายความสาธารณะ หมวด 6 สิทธิประโยชน์ทนายความสาธารณะ หมวด 7 บทเฉพาะกาล การวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ตราพระราชบัญญัติทนายความสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อให้มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ คือ ทนายความสาธารณะเพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชน และเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ กฎหมายต้นแบบเพื่อใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เสนอปัญหาของการผังเมืองที่ไม่สามารถควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อยสวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามตามธรรมชาติ หากถูกทำลายแล้วจะยากต่อการฟื้นฟู ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ควรมีผังเมืองเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อันจะสอดคล้องกับหลักการผังเมืองในระดับสากล โดยมีประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านผังเมืองที่ควรนำมาศึกษาเปรียบเทียบ คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐสิงค์โปร์ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบรายการ การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) จิดาภา พรยิ่งวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงความไม่เสมอภาคในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และประเทศที่พัฒนาแล้ว 6 ประเทศ อังกฤษ นิวซีแลนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แและญี่ปุ่น วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็นกลุ่มเจาะจง และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบรายการ รูปแบบกระบวนการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเขื่อนที่ใช้งานไม่ได้(Sripatum University, 2564-12-21) ชยพัทธ์ ทิพย์โพธิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเขื่อนที่ใช้งานไม่ได้ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาวการณ์เขื่อนของประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเขื่อนที่ใช้งานไม่ได้ของต่างประเทศ 4) เพื่อจัดทำรูปแบบกระบวนการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเขื่อนที่ใช้งานไม่ได้ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ องค์กรควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พิจิตร เกิดจรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยองค์กรควบคุมและตรวจสอบการตรากฎหมายให้ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลของการวิจัยพบว่าการควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย มี 3 ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ รูปแบบองค์กร ขอบเขตอำนาจและหน้าที่ และกระบวนการใช้อำนาจ นำไปสู่การจัดทำร่างปรับปรุงแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ในประเด็น เข้าสู่อำนาจหรือที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสรรหา คุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจในการรับฟ้องโดยตรงไม่ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และอำนาจในการวินิจฉัยเฉพาะความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติกฎหมาย การวิจัยได้จัดทำบทบัญญัติต้นแบบสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาวิจัยต่อไป คือ “องค์กรและกระบวนการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ”