LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การคุ้มครอง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กมลยศ พันธุมาศโกมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ติดตัวมาตั้งแต่เกิดซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญแต่ก็ไม่มีการบัญญัติถึงองค์ประกอบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ประเทศไทยมีการบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เมื่อมีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กลับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติองค์ประกอบที่เป็นฐานความผิดเพื่อใช้ในการฟ้องร้องได้ การวิจัยนี้จึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยมีโครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วยคำนิยาม องค์ประกอบความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการใช้บังคับรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) เลิศ เทือกแสงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณณา ผลการวิจัยพบว่า สัตว์พันธุ์พื้นเมืองของไทยมีปัญหาการสูญพันธ์ และกลายพันธุ์ ที่ต้องคุ้มครองเพื่อเป็นสัตว์เอกลักษณ์ของไทย โดยใช้กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย คำนิยามคณะกรรมการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขอใช้ประโยชน์จากสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขออนุญาตและให้ใบอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง และ บทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอกฎหมายต้นแบบนี้ต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของสัตว์พันธุ์พื้นเมืองแก่คนไทยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศุนงค์นุช ศรีวิพันธ์จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ครั้งต่อมาปี พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2557, พ.ศ. 2560 และ การสำรวจในปี พ.ศ. 2564 นี้ นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 7 ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged Society) มานานมากกว่า 10 ปี ซึ่งหมายถึงการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า (Super Aged Society) เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงขึ้นถึงร้อยละ 20) ต่อไป