S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การบริหารงานคุณภาพ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการของหลักการบริหารจัดการที่ดี= QUALITY MANAGEMENT OF GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOLIN THAILAND UTILIZING GOOD GOVERNANCE DOCTRINE PROCESS(2558-01-08T07:49:07Z) สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสงการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกล-ยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และ การจัดการกระบวนการ 2)เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และการจัดกระบวนการ กับ หลักการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 4) เพื่อแสวงหาแนวทางของการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่และหลักการบริหารจัดการที่ดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1)ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ผู้จัดการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา 2)ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ของโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จำนวน 345 รูป /คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical correlation) ผลการวิจัยที่สำคัญในครั้งนี้ มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง พบว่า หลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักความคุ้มค่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 ส่วนด้านอื่น ๆ จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ หลักความพร้อมรับผิด ค่าเฉลี่ย 3.76, หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ค่าเฉลี่ย 3.72, หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าเฉลี่ย 3.71, หลักการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ย 3.64, และ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.24 ประการที่สอง พบว่า การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การนำองค์การ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 ส่วนด้านอื่น จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ค่าเฉลี่ย 3.96การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าเฉลี่ย 3.78, การมุ่งเน้นผู้เรียน ค่าเฉลี่ย 3.77, การมุ่งเน้นบุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.76, และการจัดการกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 3.74 ประการที่สุดท้าย พบว่า การบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จะต้องมีกระบวนการดังต่อไปนี้คือ 1)หลักความพร้อมรับผิด ในด้าน การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการวางแผนเชิง กลยุทธ์ 2) หลักความคุ้มค่า ในด้านการประหยัดและศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 3)หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการพัฒนาความสามารถของบุคลากรและการจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นผู้เรียน 4)หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ในด้านการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและการนำองค์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 5)หลักการบริหารจัดการ ในด้านการคาดคะเนความเสี่ยงและการทบทวนภารกิจ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 6)หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านการจัดการชุดข้อมูล การเชื่อมโยงเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้จริง ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้าน การจัดการกระบวนการ