S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 32
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงิน ให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาในอนาคต(2557-11-25T06:35:58Z) จารุวรรณ เป็งมลการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในอนาคต” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอว่าควรนำกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาใช้ในการบริหารจัดการกยศ.ในอนาคต กยศ. ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาไปแล้วกว่า 3.7 ล้านราย และใช้งบประมาณแผ่นดินไปกว่า 3 แสนล้านบาท แต่นับว่ายังไม่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและ CSR เป็นหน่วยวิเคราะห์ เพื่อนำมวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) จากผลศึกษา กยศ. ควรนำแนวคิด CSR มาใช้ในการบริหารจัดการมากกว่าเดิม และควรอยู่ในกระบวนการทำงานหลักขององค์กร เป็น“CSR in-process" โดยปรับปรุงข้อกำหนด ข้อบังคับ หรือกฎหมาย และควรมีกลยุทธ์ด้าน CSR ที่เป็นที่ยอมรับเป็นเครื่องมือ อาทิ นโยบายการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ (Good governance) มาตรฐาน ISO 26000 การกำหนดให้ CSR เป็นยุทธศาสตร์หลักของ กยศ. เชื่อได้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อ นักเรียน นักศึกษา และสังคมโดยรวม ทำให้กยศ.ประสบความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา และขับเคลื่อนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงรายการ การนำนโยบายการศึกษาของสงฆ์ไปปฏิบัติ : วิเคราะห์การดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(2557-11-25T08:28:00Z) พระมหามหรรถพงศ์ ศรีสุเมธิตานนท์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาถึงระดับการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 2)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 4)เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในระดับผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายปฏิบัติการ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย จำนวน 250 รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ทุกขั้นตอนพบว่า จากการศึกษาสภาพการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างการดำเนินการนโยบายการศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมุ่งให้การศึกษา การวิจัยทางพระพุทธศาสนา การให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการดำเนินการการนำ นโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่กำหนดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ด้านการให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการดำเนินการการนำนโยบาย การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติโดยรวม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านขอบข่ายนโยบาย ด้านทรัพยากรนโยบายด้านการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมีผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยก็พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยยังมีบุคลากรด้านการวิจัยไม่เพียงพอและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนของมหาวิทยาลัยยังมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีไม่มากพอ เป็นต้น ประเด็นปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้เพื่อให้การดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มที่ขาดทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง รวมทั้งการแสวงหาวิธีการให้บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบของการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เพื่อนำเสนอให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไปรายการ การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น : วิเคราะห์กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี : IMPLEMENTATION OF THE GOOD GOVERNANCE POLICY IN LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION : A CASE ANALYSIS OF MAUNG DISTRICT, PRACHIN BURI PROVINCE(2556-06-13T08:19:37Z) สิริกาญจน์ เอี่ยมอาจหาญมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำหลัก ธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การศึกษาจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรายการ การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร(2557-11-24T08:05:00Z) อุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อยการศึกษาวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1)ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (2)ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (3)ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ และ (4)ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน สาหรับการวิจัยเชิงปริมาณสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 25 แห่ง จำนวน 294 คน และ2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละครัวเรือนจำนวน 300 คน สาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มคณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน (2) กลุ่มข้าราชการ จำนวน 8 คน และ(3) กลุ่มพนักงานจ้าง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนมีความเห็นตรงกันว่า ความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับปานกลาง โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีระดับความสำเร็จสูงสุด ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มีระดับความสำเร็จต่ำที่สุด โดยในประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ได้ค่าคะแนนสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของนโยบาย ส่วนด้านการบรรลุเป้าหมายของนโยบายได้รับค่าคะแนนน้อยที่สุด และปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ส่วนด้านภาวะผู้นา ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติน้อยที่สุด สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย ด้านทรัพยากรทางการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การ สามารถนำมาทำนายความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติได้มากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) การขาดจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ (2) ปัญหาทางด้านนโยบาย และ (3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ส่วนแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) เร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน (2) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม (3) เตรียมความพร้อมทางทรัพยากรในการดำเนินงานให้เพียงพอ (4) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลจะต้อง (1) ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น (2) เร่งหามาตรการในการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนให้เกิดขึ้น (3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ และ(4) เสริมสร้างให้เกิดระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่งจะต้อง (1) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา (2) ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน (3) ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (4) ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันให้เกิดขึ้นในการดำเนินงาน (5) แสวงหาการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินงาน (6) จัดเตรียมความพร้อมในทรัพยากรทางการบริหารทุกๆด้านให้เพียงพอกับการดำเนินงาน (7) เสริมสร้างให้เกิดลักษณะโครงสร้างในการทำงาน ที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ (8) ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหน้าที่เห็นถึงเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ตลอดจนถึงสามารถประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย และ (9) มีการพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นรายการ การบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม=BUDDHISM DISSEMINATION ADMINISTRATION OF THE SANGHA SUPREME COUNCIL IN THE GLOBALIZATION(2558-01-06T12:37:53Z) พระมหานงค์ อับไพการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุค โลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของมหาเถรสมาคม และ4) เป็นข้อเสนอแนะการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสงฆ์ในสังกัดของมหาเถรสมาคมในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 รูป ทำการเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบ สอบถามเป็นเครื่องมือ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุปรวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 25 – 34 ปี พรรษาไม่เกิน 5 การศึกษาอยู่ ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ด้านระดับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และประเด็นย่อยทุกประเด็นได้แก่ การอุปถัมภ์บุคลากรผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของชุมชน เป็นศูนย์การเรียนรู้หลักพุทธธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การส่งเสริมพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกมิติ การจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ส่วนผลการวิจัยความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม พบว่า ปัจจัยการบริหารทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านปัญหาและอุปสรรคการบริหารของมหาเถรสมาคม พบว่า มหาเถรสมาคมมีการบริหารตามระบบโครงสร้างการปกครองทางคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นการบริหารในแนวดิ่ง ทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้าง เกิดระบบอุปถัมภ์ ระบบสมณศักดิ์เป็นปัญหาต่อการบริหาร งานคณะสงฆ์ส่วนใหญ่เน้นงานด้านการปกครองและการศึกษา ส่วนการเผยแผ่เป็นประเด็นรอง ทำให้ขาดงบประมาณและสื่อการเผยแผ่ จนพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่มีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพระสงฆ์และชาวพุทธทั้งประเทศ พระสงฆ์ขาดความเข้าใจในโลกสมัย ไม่อาจประตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนข้อเสนอแนะพบว่า กรรมการมหาเถรสมาคมควรเกษียณอายุเมื่อครบ 70 ปี ไม่ควรบริหารในแนวดิ่ง ควรสร้างระบบเครือข่ายองค์กรด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาให้มากขึ้น ควรปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องทันสมัยกับการบริหารสมัยใหม่ เน้นให้พระสงฆ์ทำงานด้านการเผยแผ่ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำรงมั่นของพุทธศาสนารายการ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย โดยใช้กระบวนการของหลักการบริหารจัดการที่ดี= QUALITY MANAGEMENT OF GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOLIN THAILAND UTILIZING GOOD GOVERNANCE DOCTRINE PROCESS(2558-01-08T07:49:07Z) สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสงการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกล-ยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และ การจัดการกระบวนการ 2)เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร และการจัดกระบวนการ กับ หลักการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งประกอบด้วย หลักความพร้อมรับผิด หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการบริหารจัดการ และหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 4) เพื่อแสวงหาแนวทางของการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่และหลักการบริหารจัดการที่ดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1)ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ผู้จัดการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา 2)ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ของโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จำนวน 345 รูป /คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical correlation) ผลการวิจัยที่สำคัญในครั้งนี้ มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง พบว่า หลักการบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักความคุ้มค่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 ส่วนด้านอื่น ๆ จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ หลักความพร้อมรับผิด ค่าเฉลี่ย 3.76, หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ค่าเฉลี่ย 3.72, หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าเฉลี่ย 3.71, หลักการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ย 3.64, และ หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.24 ประการที่สอง พบว่า การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การนำองค์การ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 ส่วนด้านอื่น จะเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ค่าเฉลี่ย 3.96การวัด-การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าเฉลี่ย 3.78, การมุ่งเน้นผู้เรียน ค่าเฉลี่ย 3.77, การมุ่งเน้นบุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.76, และการจัดการกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 3.74 ประการที่สุดท้าย พบว่า การบริหารจัดการที่ดีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในประเทศไทย จะต้องมีกระบวนการดังต่อไปนี้คือ 1)หลักความพร้อมรับผิด ในด้าน การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการวางแผนเชิง กลยุทธ์ 2) หลักความคุ้มค่า ในด้านการประหยัดและศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 3)หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการพัฒนาความสามารถของบุคลากรและการจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นผู้เรียน 4)หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ ในด้านการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและการนำองค์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์ การบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 5)หลักการบริหารจัดการ ในด้านการคาดคะเนความเสี่ยงและการทบทวนภารกิจ ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้านการจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นบุคลากร 6)หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านการจัดการชุดข้อมูล การเชื่อมโยงเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้จริง ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับการบริหารงานคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในด้าน การจัดการกระบวนการรายการ การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร= INTEGRATED STRATEGIC MANAGEMENT OF TOURISM IN THE SAMUT SAKHON PROVINCE(2558-01-08T09:08:28Z) สุนทร วัฒนาพรการวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร จากนักท่องเที่ยวจานวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว, และศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร จากผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จานวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง 25–34 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับประกาศนียบัตร ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001–20,000 บาท นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญต่อภาพรวมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาครระดับสูงทุกด้าน โดยให้ความสาคัญด้านการตลาดการท่องเที่ยวสูงที่สุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร มีโครงสร้างหน้าที่และบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ส่วนด้านงบประมาณมาจากภาครัฐเป็นหลัก ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาครพบว่า ด้านโครงสร้างหน้าที่ คือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไม่ได้ขึ้นกับสังกัดเดียวกัน และ ประเด็นสาคัญคือการไม่มีคณะกรรมการร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับจังหวัด ด้านบุคลากร คือภาครัฐยังมีบุคลากรน้อยและไม่มีความชำนาญอย่างแท้จริง ด้านงบประมาณ คือการได้รับงบประมาณจากส่วนกลางน้อยมาก และที่สาคัญขาดการบูรณาการงบประมาณของภาครัฐ ด้านการมีสถานที่ดำเนินการอย่างเหมาะสม คือการไม่มีศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยว และที่สาคัญสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรสาครไม่ได้มีสถานที่ทาการของตนเอง ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงานของภาครัฐ คือไม่สามารถสั่งการข้ามสังกัดได้ ส่วนการประสานงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชนปัญหาคือ แนวทางระเบียบขั้นตอนในการทำงานที่แตกต่างกัน ด้านสมรรถนะขององค์กรภาครัฐที่จะนานโยบายไปปฏิบัติ คือการที่องค์กรภาครัฐมีสมรรถนะระดับต่า สาหรับด้านความร่วมมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติภาครัฐ คือการไม่ทราบว่าเจ้าภาพที่รับผิดชอบหลักด้านการท่องเที่ยวคือใคร แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าควรมีการบูรณาการใน 2 ระดับ คือ การบูรณาการระดับองค์กร เป็นกระบวนการบูรณาการระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัด เพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด และ การบูรณาการระดับปฏิบัติการ เพื่อนำนโยบายและยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้กำหนดไปใช้ในการดำเนินการ โดยการจัดตั้งอนุกรรมการการท่องเที่ยวระดับจังหวัดรายการ การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(2557-11-26T09:07:25Z) เพ็ญนภา ชูพงษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 374 คน จาก 38 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้อำ นวยการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการ สัมภาษณ์ ทั้งยังดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายระดับสูงของกระทรวงและระดับสูงของกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เครือข่ายเพื่อการศึกษาเด็กและการสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้นำ ชุมชนผู้ปกครอง กลุ่มองค์กรนอกระบบ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เช่น ปัญหาทางวิชาการค่อนข้างตำด้านบุคลากรขาดแคลนครูและไม่สามารถจัดครูให้ตรงวิชาเอกให้ ตรงกับสาระวิชาการเรียนการสอนได้ ด้านงบประมาณ ยังมีการจัดงบประมาณตามรายหัวนักเรียนซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบการแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ทั้งด้านนิเทศติดตามผลและขวัญกำลังใจ ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจรูปแบบในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้มีการ ดำเนินการในหลายรูปแบบทั้งการแสวงหาความร่วมมือ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือจัดรถรับ –ส่งนักเรียน ตลอดถึงการจัดตั้งโรงเรียนดีในชุมชนใกล้บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนา ลูกมาเข้าเรียนใน ทั้งยังไม่ประสบความสาเร็จขาดความต่อเนื่องในดำเนินนโยบายทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพยังไม่ดีพอยังคงอยู่ ทำให้ผู้ปกครองบางส่วนยังต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองอยู่ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนรูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การแก้ไขปัญหาต้องมีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วัฒนธรรม และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีนโยบายให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องในการแสวงหาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติ งานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกัน เช่น ส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดระบบการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนหรือการสอนแบบคละชั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการจัดงบประมาณในรูปแบบของกองทุนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูที่เกษียณอายุราชการแล้วมาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้ถึงโรงเรียนขนาดเล็กอย่างทั่วถึง ทั้งการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพให้เกิดการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เกิดความอิสระและคล่อง ตัวให้เป็นโรงเรียนดีในชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่แต่ละแห่งจะมีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นสภาพภูมิศาสตร์และบริบทอื่นๆ ที่ แตกต่างกัน ตลอดถึงการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในเรื่องการจัดการศึกษาของตนเอง และการกระจายอานาจไปสู่ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กให้มากขึ้นรายการ การประเมินผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ของ กระทรวงคมนาคม : IMPLEMENTATION EVALUATION OF THE ENHANCEMENT AND CONSERVATION OF THE NATIONAL ENVIRONMENTAL QUALITY ACT B.E.2535 : A CASE STUDY OF MINISTRY OF TRANSPORT(2556-06-12T09:14:19Z) พัชรี วีระนนท์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อการปฏิบัติตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม ได้แก่ กรมการบิน พลเรือน กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยต้องการวิจัยถึงผลของการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟ ทางหลวง ท่าอากาศยาน และท่าเรือพาณิชย์ เป็นต้น ทั้งในแง่ของผลผลิตและผลลัพธ์ของนโยบายดังกล่าวรายการ การพัฒนา การบริหารนโยบายสุขภาพของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านจัดการสุขภาพอำเภอเมืองชลบุรี=COMMUNITY, S HEALTH POLICY MANAGEMENT DEVELOPMENT : A CASE STUDY OF HEALTH MANAGEMENT VILLAGEMUANG-CHONBURI DISTRICT(2558-01-07T12:46:44Z) สมประสงค์ ปิวไธสงการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริหารและการนำนโยบายสาธารณสุขของหมู่บ้านไปปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผสมผสานกัน ผลการศึกษาพบว่า กลไกการกำหนดนโยบายของหมู่บ้าน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาของหมู่บ้าน โดยใช้ดัชนีชี้วัดสุขภาพและข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม เป็นข้อมูลทุติยภูมิ สำหรับการประชุม ระดมสมอง เพื่อวิเคราะห์ และลงความเห็น เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของหมู่บ้าน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน ขั้นตอนต่อมาคณะกรรมการหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้นำปัญหาสุขภาพทั้งหมด มากำหนดเป็นนโยบายและแผนแม่บทสุขภาพของหมู่บ้านส่วนในขั้นตอนของการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น พบว่าลักษณะองค์การเครือข่ายหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จะมีลักษณะเป็นองค์การอรูปนัย ปราศจากสายการบังคับบัญชา การบริหารองค์การทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ จึงใช้การประสานงานผ่านสื่อต่างๆ เป็นหลัก ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาองค์การเครือข่ายจัดการสุขภาพของหมู่บ้านนั้นมีบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการเครือข่ายต่างๆ ทั้ง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายได้เน้นการอบรมการจัดทำแผน การประชุม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของชุมชน และงานบริการสุขภาพที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้ ในส่วนของการพัฒนาด้านเงินทุน มีการระดมทุนที่เป็นงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณด้านการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ จากหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาเรื่องนี้ในภาพรวมรายการ การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง1(2557-11-24T08:57:06Z) สรรเสริญ หมายสวัสดิ์การวิจัยเรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1”มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(2)ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(4) ศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(5) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดาเนินงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ(6)ศึกษาแนวทางการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ พนักงานระดับปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จานวน 330 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล(2)กลุ่มปลัด/พนักงานระดับหัวหน้างานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ (3)กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการ/นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านประชาคมอาเซียนและท้องถิ่น ทาการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในแต่ละด้านพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 4.ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์คือ สมรรถนะของพนักงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้นา เป็นปัจจัยที่สามารถนามาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ 5.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคพบว่า นโยบายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ขาดการสนับสนุนอย่างเข้มข้นในทางการปฏิบัติจึงทาให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น (1) ขาดการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชน(2)ขาดการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ (3) (3)ไม่มีหน่วยงานเฉพาะสาหรับดูแลภารกิจการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยตรง (4)ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น งบประมาณ (5)ประชาชนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (6) ทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านในฐานะของผู้ที่ด้อยกว่า (6)การดำเนินงานจากส่วนกลางขาดความชัดเจน และ (7)พนักงานขาดความกระตือรือร้นและแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง 6.แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่สำคัญคือ 1)กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) 2)พัฒนาพนักงานให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3)พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4)ให้ความรู้ด้านประชาคมอาเซียนในทุกมิติที่สามารถดำเนินการได้แก่ประชาชน 5)พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และ 6)ปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยมีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาหรือหน่วยวิเทศสัมพันธ์รายการ การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด = NEW PUBLIC ORGANIZATION DEVELOPMENT OF THEOFFICE OF THE NARCOTICS CONTROL BOARD(2558-01-06T12:47:01Z) พีรพงศ์ รำพึงจิตต์การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ใน 2 ประเด็น คือ (1.1) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์การของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ (1.2) ศึกษาการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามแนวทางการพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ และ (3) แสวงหาแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาวิธีการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้บรรลุเป้าหมายในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยนำการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ในการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการวิจัยแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชากรกลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ มีจำนวน 240 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2) กลุ่มหัวหน้างาน (3) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (4) กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ และ (5) กลุ่มแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจัยการบริหารองค์การที่จะช่วยเสริมสร้างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมองค์การแบบ Apollo) รองลงมาคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (การมีอิทธิพลต่ออุดมการณ์) และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (พัฒนาจากภายนอกภาคราชการ) ตามลำดับ ส่วนระดับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีมิติด้านประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิผล และมิติด้านการพัฒนาองค์การมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยการบริหารองค์การทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สามารถพยากรณ์ความเป็นไปได้ที่มีผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ มีความสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารองค์การกับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดรายการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี=PEOPLE’S PARTICIPATIONIN THE PREVENTION AND RESOLUTION TOWARDS DRUG ABUSE IN THE SUBDISTRICT ADMINISTRATIVEORGANIZATIONS IN THE VICINITY OF THAI-BURMESE BORDER SUAN PHUNG DISTRICT, RATCHABURI PROVINCE(2558-01-08T11:48:48Z) สิงห์ ปานะชาการศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การปัจจัยพื้นฐาน ในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงผสมผสานโดยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ประชากรที่เป็นผู้บริหารและสมาชิกขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 90 คน และ 2)ประชากรทีเ่ป็นประชาชน จำนวน 380 คน จำนวน 4 ตำบลประกอบกด้วยตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลท่าเคย และตำบลตะนาวศรี ผลการศึกษาพบว่า 1)สภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี ไม่ปรากฏว่ามีการลำเลียงและลักลอบค้ายาเสพติดจากประเทศพม่าเขา้ สู่ประเทศไทยในบริเวณแถบนี้ เพราะสาเหตุสำคัญคือบริเวณ ชายแดนประเทศพม่า ที่ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง เป็นหมู่บ้านเล็กๆไม่มีชุมชนขนาดใหญ่และเป็นเขตค่ายทหารซึ่งบริเวณฝั่งพม่าไม่มี แีหล่งผลิตยาเสพติด 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากโดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (To Inform) รองลงมา ได้แก่ การให้ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรม (To Collaborate) การรับฟังความคิดเห็น (To Consult) การให้ประชาชนเขา้ มาเกี่ยวข้องในการวางแผนและตัดสินใจ (To Involve) และการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน (To Empower) 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไ้ขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาในภาพรวมทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การและปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลหรือไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไข้ปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำ บลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ นโยบายขององค์การและการบริหารองค์การรายการ บทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา=ADVISORY ROLE IN LEGISLATION OF THE SECRETARIAT OF THE SENATE(2558-01-07T08:19:15Z) มานะ ชัยวงศ์โรจน์การศึกษาบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีวัตถุประสงค์สามประการคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานฯ แก่วุฒิสภา 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติของสำนักงานฯ แก่วุฒิสภา และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การแก่สำนักงานฯ ในอนาคต การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสัมมนา รวมทั้งการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สำนักงานฯ มีความเป็นองค์การเชิงระบบปิด โดยที่ผู้บริหารซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้ความสำคัญต่อวุฒิสภา และได้กำหนดระบบงานและโครงสร้างองค์การเพื่อทำให้การบริการมีความสอดคล้องกับความต้องการของวุฒิสภา ส่งผลให้สมาชิกวุฒิสภามีความพึงพอใจต่อการประชุมและการเป็นเลขานุการ ซึ่งถือเป็นบริการขั้นพื้นฐาน แต่เมื่อสมาชิกวุฒิสภามีความคาดหวังต่อสำนักงานฯ ในการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติเพื่อสนับสนุนการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ของวุฒิสภา การวิเคราะห์สภาพของสำนักงานฯ ตามกรอบการวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว สภาพแวดล้อมการดำเนินงานมุ่งให้สำนักงานฯ มีรูปแบบเป็นองค์การเชิงระบบเปิด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเชิงองค์การอันได้แก่ ตรรกะเชิงองค์การ โดยรวม โครงสร้างองค์การ บุคลากร การแสดงบทบาทของผู้บริหาร และการบริหารจัดการ มีความจำกัดในหลายด้าน สภาพเช่นนี้ส่งผลให้สำนักงานฯ ขาดความสามารถหลักด้านการจัดการความรู้และการพัฒนารูปแบบบริการใหม่ ตลอดจนความจำกัดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารและบุคลากร รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายใน ดังนั้น ความคาดหวังของวุฒิสภาต่อบทบาทดังกล่าวของสำนักงานฯ จึงมีอุปสรรคหลายประการ การวิจัยตามกรอบการวิเคราะห์ได้ค้นพบประเด็นการบริหารจัดการซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและการวิจัยต่อไปในอนาคต ได้แก่ 1. บริบทของสถานการณ์เชิงนิติบัญญัติ 2. การสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการอย่างบูรณาการ 3. ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. จุดมุ่งหมายขององค์การ 5. โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถหลัก 6. ขีดความสามารถด้านองค์ความรู้ของบุคลากรและผู้บริหาร และ 7. กลไกการสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ โดยข้อเสนอแนะนั้นได้แสดงรายละเอียดที่เป็นไปตามตัวแปรเหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะด้านการเปลี่ยนแปลงองค์การไปสู่สภาพที่ควรจะเป็นในอนาคต และข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาองค์การซึ่งแสดงแนวทางการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ภายในสำนักงานฯ เพื่อจะสามารถปรับสภาพตนเองเป็นองค์การเชิงระบบเปิดมากขึ้นในการเป็นองค์การที่มีความสามารถหลักด้านการจัดการความรู้ จากนั้น ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะตามตัวแปรทั้งหมดมาบูรณาการ โดยได้ทำการสรุปข้อเสนอแนะทั้งหมดระเบียบวิธี ซึ่งจัดแบ่งเป็นแนวทางด้านกลยุทธ์ ด้านกระบวนการทรัพยากรบุคคล ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้าง รวมทั้งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อแสดงการพัฒนาองค์การอย่างเป็นกระบวนการ และให้เกิดความชัดเจนในภาคปฏิบัติ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้แสดงวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือ ตลอดจนการยืนยันผลการวิจัยซี่งใช้วิธีการแบบสามเส้า โดยการเทียบเคียงข้อเสนอแนะตามข้อค้นพบทั้ง 7 กับข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาที่ปรึกษาหรือวุฒิสภาของประเทศต่างๆ ที่มีรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภาที่ประกอบด้วยสภาคู่ มีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีข้อมูลด้านการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการฯ ที่เพียงพอแก่การศึกษาเปรียบเทียบ โดยคัดเลือกจากประเทศในกลุ่ม OECD (The Organization for Economic Co-operation and Development) ทำให้ได้ประเทศคู่เทียบเป้าหมายได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ และออสเตรเลีย การศึกษาเปรียบเทียบนี้ช่วยให้ข้อสรุปที่ยืนยันว่า ข้อเสนอแนะข้างต้นมีความสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาหรือสภาที่ปรึกษาในประเทศดังกล่าว ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่น รวมทั้งโอกาสของความเป็นไปได้ในการที่สำนักงานฯ จะสามารถแสดงบทบาทการเสนอแนะด้านนิติบัญญัติและการนำข้อเสนอแนะการพัฒนาองค์การเพื่อสนับสนุนบทบาทดังกล่าวไปปฏิบัติในอนาคตรายการ ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม(2556-06-10T08:42:15Z) สิริพงษ์ ปานจันทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม และ3) เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกันรายการ ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม(2557-11-25T07:50:39Z) เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจการวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (2)เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (4)เพื่อศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (5)ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม และ (6)ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาข้อมูลจากพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 304 คน และประชาชน จำนวน 200 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวมจำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า (1)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านปัจจัยภายนอกมีปัจจัยกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับปัจจัยภายในมีปัจจัยภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2)ระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการสาธารณะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับ ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจมากที่สุด (4)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านภาวะผู้นำ วิธีการบริหารงาน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยที่สามารถนำนำมาสร้างเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ (5)ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ค้นพบ ประกอบด้วย 1)ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 2)กฎ ระเบียบข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 3)พนักงานมีทัศนคติเชิงลบต่อนโยบายใหม่ๆ 4)ให้ความสำคัญกับการขอปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้นมากกว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เหมาะสมกับการเลื่อนตำแหน่ง 5)การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และกฎระเบียบขาดความเหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน 6)พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา 7)พนักงานขาดศักยภาพในการเรียนรู้ และ 8)จำนวนพนักงานไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และ (6) แนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานมีดังนี้1)ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2)จัดทำแผนให้ครอบคลุมครบทุกมิติ 3)การจัดทำข้อตกลงเพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน (MOU) กับหน่วยงานอื่นๆ 4)การจัดประชุมพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน 5)มีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของนโยบายต่อพนักงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องทั้งองค์การ 6)การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และการปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้น 7)นำความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชนเป็นตัวตั้งในการกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย 8)พิจารณาถึงผลกระทบต่อท้องถิ่น/ชุมชน และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นก่อนกำหนดกิจกรรมในพื้นที่ 9) กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานในการขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม 10) เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และส่วนราชการอื่นๆ ได้เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 11)จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานสมัยใหม่ให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง 12)จัดทำระบบพี่เลี้ยงเข้ามาให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานแก่พนักงาน 13)สนับสนุนให้มีการนำวิธีการบริหารงานสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และ 14) จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามนโยบายรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในจังหวัดนครปฐม=FACTORS AFFECTING THE PROGRESS OF MISSION TRANSFER TO LOCAL GOVERNMENT : A CASE STUDY OF SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION IN NAKHONPATHOM PROVINCE(2558-01-07T08:45:02Z) รังสรรค์ อินทน์จันทน์การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจของ อบต.ตามภารกิจหลัก 6 ด้าน 2)ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการของ อบต.3)วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างกับความก้าวหน้าของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.4)วิเคราะห์แบบถดถอย พหุคูณระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้ากับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต. และ 5) ค้นหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนภารกิจที่เหมาะสมให้แก่ อบต. การวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย (1) พนักงาน อบต. จำนวน 300 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และ (2) นายก อบต. ปลัด อบต. และข้าราชการในสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจ จำนวน 21 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มากที่สุดคือ นโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจ (ขั้นตอนระดมพลัง) รองลงมาคือทรัพยากรทางการบริหาร (งบประมาณ), วัฒนธรรมองค์การ (การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม) โดยมีภาวะผู้นำ (เผด็จการแบบมีศิลป์) มีค่าน้อยที่สุด โดยความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความ สงบเรียบร้อยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว และด้านศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจน้อยที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า มีเพียงระดับการศึกษา และรายได้ เท่านั้นที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการถ่ายโอนภารกิจ สาหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ มีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้น คือ ภาวะผู้นำและนโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจที่สามารถทำนายความเป็นไปได้ที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทุกด้าน การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ 1)ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ (1)ต้องศึกษาเงื่อนไขของแต่ละบริบทและแต่ละปัจจัยอย่างถ่องแท้ (2)นำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบในการวางกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนภารกิจให้ประสบผลสำเร็จเป็นลำดับ และ (3)มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอบต.อย่างสม่าเสมอทั้งในด้านปัจจัยภายในและภายนอกองค์การ 2)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)รัฐบาลต้องจัดทำโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจทั้งในฝ่ายของผู้รับโอน ผู้ให้โอน และผู้รับผลกระทบให้เข้าใจได้ตรงกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันทาทำงาน (2)ปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความทันสมัยและสอดคล้องกับการทำงาน (3)ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขการทำงานที่รัดตัวผู้ปฏิบัติจนเกินไป (4)รัฐบาลต้องสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้บริหาร อบต.ที่ต้องมีการฝึกให้มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์การ อันจะช่วยให้มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย และนำมากำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การได้ รวมถึง แสวงหาเทคนิคการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม อันจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 3)ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิค (1)สร้างวัฒนธรรมองค์การแบบการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (2) สร้างผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่สามารถบริหารงานได้อย่างยืดหยุ่นตลอดเวลาตามสถานการณ์ (3)อบต. ต้องมีการเตรียมวางแผนเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลารายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา(2557-11-23T07:46:51Z) ราเชนทร์ นพณัฐวงศกรการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา การวิจัยนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการส่งแบบสอบถามไปยังบุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านนโยบาย รองลง มาคือปัจจัยด้านคุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ และปัจจัยสนับสนุน ตามลำดับ (2) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา กับปัจจัยนโยบาย ปัจจัยคุณลักษณะและสมรรถนะของหน่วยปฏิบัติ และปัจจัยสนับสนุน พบว่า ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ความร่วมมือของบุคลากรระหว่างสถานศึกษาเอกชนกับองค์กรภาครัฐ และทัศนคติของบุคลากรของสถานศึกษาเอกชน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ส่วนปัจจัยด้านมาตรฐานของนโยบาย ความสอดคล้องของการปฏิบัติ โครงสร้างองค์กร งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ระบบการบริหารจัดการ และสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01กับความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา พบว่า ปัจจัยทั้ง 11 ด้านสามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติ ได้ร้อยละ 49.1 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านสภาพแวดล้อม ด้านระบบการบริหารจัดการ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ด้านความร่วมมือของบุคลากรระหว่างสถานศึกษาเอกชนกับองค์กรภาครัฐ ด้านทัศนคติของบุคลากร ด้านความสอดคล้องของการปฏิบัติ ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านมาตรฐานของนโยบาย และด้านโครงสร้างองค์กร (4) ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้าน การประชาสัมพันธ์ (5) ปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ (5.1) งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอต่อความจำเป็นใช้จริง (5.2) บุคลากรขาดทักษะและความรู้เกี่ยวกับระเบียบการเงินทำให้การเบิกเงินมีความล่าช้า (5.3) การมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานศึกษาเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐไม่มีความต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรสานต่อนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ต่อไป โดยส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยทั้ง 11 ปัจจัยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณให้สอดคล้องกับความจำเป็นใช้จริงของผู้เรียน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการเงินและมีทัศนคติที่ดีต่อนโยบายเรียนฟรี วางแผนกลยุทธ์เสริมสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร 2) ข้อเสนอแนะเชิงการบริหาร ควรจัดระบบการเบิกจ่ายงบประมาณให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันก่อนเปิดภาคเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองและสถานศึกษาเอกชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนนโยบายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ แต่งตั้งทีมเฉพาะกิจลงพื้นที่สำรวจความต้องการความช่วยเหลือที่แท้จริงของนักเรียน ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายเรียนฟรีอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ข่าวสารนโยบายเรียนฟรีผ่านสื่อที่หลากหลายโดยเลือกใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(2557-11-26T08:49:22Z) วัชรินทร์ สุทธิศัยการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปรับปรุงพัฒนาในการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบุคลากรสายวิชาการหรือผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบุคลากรสายปฏิบัติงานหรือสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 308 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสาหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก 2 ปัจจัย คือ ด้านความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านการติดตามการดำเนินงาน ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 7 ปัจจัย คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านการเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสาร และด้านสมรรถนะขององค์การ 2. ปัจจัยภายนอกเหนือการควบคุมที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3 ปัจจัย คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ และด้านสภาพทางสังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ปัจจัย คือ ด้านการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3. การนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติระดับความสาเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4 ด้าน คือ ด้านการทานุบารุงศิลปและวัฒนธรรมด้านผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ด้านการสอน และด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลาง 1 ด้าน คือ ด้านการวิจัย 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายวิชาการและสายผู้สอน คือ ปัจจัยการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยการติดตามการดำเนินงานขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้ำหนักสูงสุด 5. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายสนับสนุนหรือสายปฏิบัติ คือ ปัจจัยสมรรถนะขององค์การ ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการ ติดตามการดำเนินงาน และปัจจัยเทคโนโลยี อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้าหนักสูงสุด 6. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏประสบความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล รายงานผล และทบทวนอยู่เป็นประจำ นโยบายต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม ที่สำคัญผู้บริหารสูงสุดต้องเข้าใจและสนับสนุนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศให้ได้ และจัดทำนโยบายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีเป้าหมายชัดเจนสู่ทุกระดับ ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เป็น โครงการที่สามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนจากรัฐได้ นโยบายแนวทางที่มีประโยชน์ ต้องมีงบประมาณดูแล ควบคุมอย่างต่อเนื่อง วางแผน พัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มรูปแบบ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงความเจริญก้าวหน้า อยู่ตลอดเวลา ฯลฯ วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ มีกรอบการดาเนินงานชัดเจน และมีมาตรการสำหรับกำกับควบคุมการทำงานเลือกคนให้เหมาะกับงาน บูรณาการ การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ มีเครือข่าย