S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 32
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร(หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์การศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรี 2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านจิตสังคม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีและ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงผสมโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสตรีจากมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง แบ่งเป็น ผู้บริหารสตรีกลุ่มงานบริหารและผู้บริหารสตรีกลุ่มงานวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีระดับภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ ผู้นำต้องเน้นการวัดและการประเมินที่มีความสำคัญต่อผลสำเร็จของการพัฒนาองค์การ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านจิตสังคม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีพบว่าปัจจัยรายย่อย 11 ตัวชี้วัดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3)ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรี พบว่ามี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) ลักษณะของความเป็นผู้นำด้านภาวะผู้นำและการมอบอำนาจ 3) การมีส่วนร่วม 4) สถานภาพและบทบาทสตรี และ 5) ลักษณะของความเป็นผู้นำด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรี พบว่ามี 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ 2) ลักษณะของความเป็นผู้นำด้านอำนาจและอิทธิพล 3) ลักษณะของความเป็นผู้นำด้านจริยธรรมและขอบเขตของอำนาจ 4) ความฉลาดทางอารมณ์ 5) ความเชื่อในอำนาจตนและ 6) นโยบายสตรีรายการ อิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กร(2556-06-03T08:56:40Z) ทิวา เทียนเบ็ญจะการศึกษาอิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อค่านิยมในการทำงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในการทำงาน 4) เพื่อศึกษาปัจจัย คุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ที่มีอิทธิพลในการพยากรณ์ ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ : FACTORS AFFECTING THE SUCCESS OF BASIC EDUCATIONALPOLICY IMPLEMENTATION IN CHAIYAPHUM PROVINCIAL LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS(2556-06-07T11:23:49Z) สมปอง สุวรรณภูมาเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จในการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิกับปัจจัยการสนับสนุนนโยบาย สมรรถนะองค์กร และสาระของนโยบาย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 854 คน ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 273 คน สุ่มเลือกตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)รายการ ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม(2556-06-10T08:42:15Z) สิริพงษ์ ปานจันทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม และ3) เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกันรายการ การประเมินผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ของ กระทรวงคมนาคม : IMPLEMENTATION EVALUATION OF THE ENHANCEMENT AND CONSERVATION OF THE NATIONAL ENVIRONMENTAL QUALITY ACT B.E.2535 : A CASE STUDY OF MINISTRY OF TRANSPORT(2556-06-12T09:14:19Z) พัชรี วีระนนท์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อการปฏิบัติตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม ได้แก่ กรมการบิน พลเรือน กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยต้องการวิจัยถึงผลของการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟ ทางหลวง ท่าอากาศยาน และท่าเรือพาณิชย์ เป็นต้น ทั้งในแง่ของผลผลิตและผลลัพธ์ของนโยบายดังกล่าวรายการ การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น : วิเคราะห์กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี : IMPLEMENTATION OF THE GOOD GOVERNANCE POLICY IN LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION : A CASE ANALYSIS OF MAUNG DISTRICT, PRACHIN BURI PROVINCE(2556-06-13T08:19:37Z) สิริกาญจน์ เอี่ยมอาจหาญมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำหลัก ธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การศึกษาจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรายการ ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ THE ACHIEVEMENT IN MANAGEMENT OF THE CRIME SUPPRESSION DIVISION,CENTRAL INVESTIGATION BUREAU ROYAL THAI POLICE(2557-09-02T11:01:09Z) จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์การวิจัยเรื่อง “ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม (2) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปรามกับผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม และ (4) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการบริหารจัดการที่ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจของกองบังคับการปราบปราม จำนวน 304 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 14 คนรายการ ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน พ.ศ. 2553 - 2556 : ศึกษากรณีสำนักชลประทานที่ 11(2557-11-23T07:00:02Z) กุลประภัสสร์ รำพึงจิตต์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1) พัฒนาการด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงยุคปัจจุบัน (2) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำ (3) ปัจจัยทางการบริหาร ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำ (4) ปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางหรือส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำ และ (5) แนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553 - 2556 ของสำนักชลประทานที่ 11 ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ (1) คณะผู้บริหาร (2) ข้าราชการและพนักงานราชการ และ (3) ลูกจ้างประจำของโครงการในสังกัดสำนักชลประทานที่ 11 จำนวน 264 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) นักวิชาการของกรมชลประทาน (2) คณะผู้บริหาร (3) ข้าราชการและพนักงานราชการ (4) ลูกจ้างประจำ และ (5) ตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ จำนวน 35 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนาที่มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยแนวโน้มการบริหารจัดการน้ำในอนาคตจำเป็นต้องใช้การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) ทั้งแบบบูรณาการและแบบการบริหารจัดการลุ่มน้ำควบคู่กันไป 2. ระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553 - 2556 ของสำนักชลประทานที่ 11 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิติด้านคุณภาพการให้บริการมีระดับผลสัมฤทธิ์มากที่สุด รองลงมาคือ มิติด้านการพัฒนาองค์กร และมิติด้านประสิทธิภาพการบริหารราชการ ส่วนมิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ มีระดับผลสัมฤทธิ์น้อยที่สุด 3. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย (เครือข่ายการทำงาน) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ วัฒนธรรมองค์การ (วัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล) ภาวะผู้นำ (การสร้างบารมี) และนโยบายขององค์การ (การออกแบบแผนงาน) โดยมีด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (การพัฒนาจากภายนอกภาคราชการ) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และยังพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและด้านการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย สามารถทำนายความเป็นไปได้ที่มีผลต่อระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำได้มากที่สุด 4. ปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางหรือส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553 - 2556 ของสำนักชลประทานที่ 11 ได้แก่ (1) ปัญหาด้านงบประมาณที่ต้องพึ่งพาการเมือง ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการไม่สามารถทำได้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด (2) ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและลักษณะของภูมิประเทศขาดความเหมาะสมในการดำเนินงาน (3) ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ที่ไม่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งด้านอื่น ๆ ตามมา และ (4) ปัญหาด้านการบริหารงานภายในองค์กร รวมไปถึงการถ่ายโอนภารกิจงานไปสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ 5. แนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553 - 2556 ของสำนักชลประทานที่ 11 ได้แก่ (1) ฝ่ายการเมือง ไม่ควรแทรกแซงการดำเนินภารกิจในการบริหารจัดการน้ำในทุกๆ มิติ และควรสนับสนุนการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ (2) ควรสนับสนุนการศึกษาวิจัยโครงการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำในทุกมิติรอบด้าน ทั้งทางด้านผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แนวทาง รูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม และคุ้มค่า (3) ควรเร่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทั้งในด้านบุคลากร และเครื่องมือในการดำเนินภารกิจด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ (4) ควรมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แก่ผู้มีส่วนได้เสียของโครงการ และ (5) เร่งพัฒนาระบบการบริหารงานที่มุ่งเน้นให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ในระดับสูงรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปีสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา(2557-11-23T07:46:51Z) ราเชนทร์ นพณัฐวงศกรการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา การวิจัยนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการส่งแบบสอบถามไปยังบุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านนโยบาย รองลง มาคือปัจจัยด้านคุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ และปัจจัยสนับสนุน ตามลำดับ (2) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา กับปัจจัยนโยบาย ปัจจัยคุณลักษณะและสมรรถนะของหน่วยปฏิบัติ และปัจจัยสนับสนุน พบว่า ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ความร่วมมือของบุคลากรระหว่างสถานศึกษาเอกชนกับองค์กรภาครัฐ และทัศนคติของบุคลากรของสถานศึกษาเอกชน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ส่วนปัจจัยด้านมาตรฐานของนโยบาย ความสอดคล้องของการปฏิบัติ โครงสร้างองค์กร งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ระบบการบริหารจัดการ และสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01กับความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา พบว่า ปัจจัยทั้ง 11 ด้านสามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติ ได้ร้อยละ 49.1 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านสภาพแวดล้อม ด้านระบบการบริหารจัดการ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ด้านความร่วมมือของบุคลากรระหว่างสถานศึกษาเอกชนกับองค์กรภาครัฐ ด้านทัศนคติของบุคลากร ด้านความสอดคล้องของการปฏิบัติ ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านมาตรฐานของนโยบาย และด้านโครงสร้างองค์กร (4) ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้าน การประชาสัมพันธ์ (5) ปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ (5.1) งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอต่อความจำเป็นใช้จริง (5.2) บุคลากรขาดทักษะและความรู้เกี่ยวกับระเบียบการเงินทำให้การเบิกเงินมีความล่าช้า (5.3) การมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานศึกษาเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐไม่มีความต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรสานต่อนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ต่อไป โดยส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยทั้ง 11 ปัจจัยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณให้สอดคล้องกับความจำเป็นใช้จริงของผู้เรียน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการเงินและมีทัศนคติที่ดีต่อนโยบายเรียนฟรี วางแผนกลยุทธ์เสริมสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร 2) ข้อเสนอแนะเชิงการบริหาร ควรจัดระบบการเบิกจ่ายงบประมาณให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันก่อนเปิดภาคเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองและสถานศึกษาเอกชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนนโยบายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ แต่งตั้งทีมเฉพาะกิจลงพื้นที่สำรวจความต้องการความช่วยเหลือที่แท้จริงของนักเรียน ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายเรียนฟรีอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ข่าวสารนโยบายเรียนฟรีผ่านสื่อที่หลากหลายโดยเลือกใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายรายการ การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร(2557-11-24T08:05:00Z) อุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อยการศึกษาวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1)ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (2)ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (3)ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ และ (4)ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน สาหรับการวิจัยเชิงปริมาณสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 25 แห่ง จำนวน 294 คน และ2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละครัวเรือนจำนวน 300 คน สาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มคณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน (2) กลุ่มข้าราชการ จำนวน 8 คน และ(3) กลุ่มพนักงานจ้าง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนมีความเห็นตรงกันว่า ความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับปานกลาง โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีระดับความสำเร็จสูงสุด ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มีระดับความสำเร็จต่ำที่สุด โดยในประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ได้ค่าคะแนนสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของนโยบาย ส่วนด้านการบรรลุเป้าหมายของนโยบายได้รับค่าคะแนนน้อยที่สุด และปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ส่วนด้านภาวะผู้นา ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติน้อยที่สุด สำหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย ด้านทรัพยากรทางการบริหาร และด้านวัฒนธรรมองค์การ สามารถนำมาทำนายความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติได้มากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) การขาดจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ (2) ปัญหาทางด้านนโยบาย และ (3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ส่วนแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) เร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน (2) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม (3) เตรียมความพร้อมทางทรัพยากรในการดำเนินงานให้เพียงพอ (4) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลจะต้อง (1) ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น (2) เร่งหามาตรการในการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนให้เกิดขึ้น (3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ และ(4) เสริมสร้างให้เกิดระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็ง ข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่งจะต้อง (1) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา (2) ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน (3) ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (4) ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันให้เกิดขึ้นในการดำเนินงาน (5) แสวงหาการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินงาน (6) จัดเตรียมความพร้อมในทรัพยากรทางการบริหารทุกๆด้านให้เพียงพอกับการดำเนินงาน (7) เสริมสร้างให้เกิดลักษณะโครงสร้างในการทำงาน ที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ (8) ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหน้าที่เห็นถึงเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ตลอดจนถึงสามารถประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย และ (9) มีการพัฒนาระบบการบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นรายการ การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง1(2557-11-24T08:57:06Z) สรรเสริญ หมายสวัสดิ์การวิจัยเรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1”มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(2)ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(4) ศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1(5) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดาเนินงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ(6)ศึกษาแนวทางการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตาบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือ พนักงานระดับปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จานวน 330 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล(2)กลุ่มปลัด/พนักงานระดับหัวหน้างานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ (3)กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการ/นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านประชาคมอาเซียนและท้องถิ่น ทาการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในแต่ละด้านพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์กับประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 4.ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์คือ สมรรถนะของพนักงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ และภาวะผู้นา เป็นปัจจัยที่สามารถนามาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ 5.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคพบว่า นโยบายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ขาดการสนับสนุนอย่างเข้มข้นในทางการปฏิบัติจึงทาให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น (1) ขาดการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชน(2)ขาดการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ (3) (3)ไม่มีหน่วยงานเฉพาะสาหรับดูแลภารกิจการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยตรง (4)ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น งบประมาณ (5)ประชาชนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (6) ทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านในฐานะของผู้ที่ด้อยกว่า (6)การดำเนินงานจากส่วนกลางขาดความชัดเจน และ (7)พนักงานขาดความกระตือรือร้นและแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง 6.แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่สำคัญคือ 1)กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่/ชุมชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) 2)พัฒนาพนักงานให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 3)พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4)ให้ความรู้ด้านประชาคมอาเซียนในทุกมิติที่สามารถดำเนินการได้แก่ประชาชน 5)พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ และ 6)ปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยมีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาหรือหน่วยวิเทศสัมพันธ์รายการ กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงิน ให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาในอนาคต(2557-11-25T06:35:58Z) จารุวรรณ เป็งมลการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในอนาคต” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอว่าควรนำกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาใช้ในการบริหารจัดการกยศ.ในอนาคต กยศ. ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ปัจจุบันให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาไปแล้วกว่า 3.7 ล้านราย และใช้งบประมาณแผ่นดินไปกว่า 3 แสนล้านบาท แต่นับว่ายังไม่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) และสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและ CSR เป็นหน่วยวิเคราะห์ เพื่อนำมวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) จากผลศึกษา กยศ. ควรนำแนวคิด CSR มาใช้ในการบริหารจัดการมากกว่าเดิม และควรอยู่ในกระบวนการทำงานหลักขององค์กร เป็น“CSR in-process" โดยปรับปรุงข้อกำหนด ข้อบังคับ หรือกฎหมาย และควรมีกลยุทธ์ด้าน CSR ที่เป็นที่ยอมรับเป็นเครื่องมือ อาทิ นโยบายการกำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ (Good governance) มาตรฐาน ISO 26000 การกำหนดให้ CSR เป็นยุทธศาสตร์หลักของ กยศ. เชื่อได้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อ นักเรียน นักศึกษา และสังคมโดยรวม ทำให้กยศ.ประสบความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา และขับเคลื่อนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)(2557-11-25T06:49:44Z) ฉัตรา โพธิ์พุ่มการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)(2)ศึกษาการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารทรัพยากรบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล (3)ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)(4)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)และ (5)ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชนกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 3 ท่าน โดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และบุคลากรระดับผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วยระดับปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 287 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.960 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจภาครัฐ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 และด้านประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 การบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านความแตกต่างตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การ การบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ และการบริหารงานบุคคล มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ในด้านตามตำแหน่งวิชาชีพ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านภาวะผู้นำ และด้านบริหารทรัพยากรบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พบว่า ตัวแปรตำแหน่งตามวิชาชีพ (เทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ และเภสัชกร) ตัวแปรอายุงาน(น้อยกว่า 1ปี)ตัวแปรรายได้ต่อเดือน (ระหว่าง 15,001- 25,000 บาท) ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาล ปัจจัยอีก 6 ด้าน พบว่ามีเพียง 5 ปัจจัย ได้แก่ ตัวแปรด้านโครงสร้างองค์การ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบังคับบัญชาและอำนาจการตัดสินใจ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านภาวะผู้นำ มีอิทธิพลต่อการบริหารงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ปัญหาอุปสรรค พบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 36.36 รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมองค์การ คิดเป็นร้อยละ 27.28 ส่วนด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านโครงสร้างองค์การ มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 18.18 ผู้บริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้รูปแบบองค์การมหาชนในการบริหารสาธารณสุขไทย แต่ควรได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายอย่างจริงจังจากรัฐบาล และการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆในการบริหารองค์การ รวมไปถึงการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐรายการ ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม(2557-11-25T07:50:39Z) เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจการวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (2)เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (4)เพื่อศึกษาสมการพยากรณ์ระหว่างปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติกับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม (5)ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม และ (6)ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาข้อมูลจากพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 304 คน และประชาชน จำนวน 200 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาข้อมูลจากผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวมจำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า (1)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านปัจจัยภายนอกมีปัจจัยกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับปัจจัยภายในมีปัจจัยภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2)ระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการสาธารณะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานตามภารกิจในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับ ผลการปฏิบัติงานตามภารกิจมากที่สุด (4)ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านภาวะผู้นำ วิธีการบริหารงาน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยที่สามารถนำนำมาสร้างเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ (5)ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ค้นพบ ประกอบด้วย 1)ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 2)กฎ ระเบียบข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 3)พนักงานมีทัศนคติเชิงลบต่อนโยบายใหม่ๆ 4)ให้ความสำคัญกับการขอปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้นมากกว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เหมาะสมกับการเลื่อนตำแหน่ง 5)การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และกฎระเบียบขาดความเหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน 6)พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา 7)พนักงานขาดศักยภาพในการเรียนรู้ และ 8)จำนวนพนักงานไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และ (6) แนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานมีดังนี้1)ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 2)จัดทำแผนให้ครอบคลุมครบทุกมิติ 3)การจัดทำข้อตกลงเพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน (MOU) กับหน่วยงานอื่นๆ 4)การจัดประชุมพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน 5)มีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกของนโยบายต่อพนักงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องทั้งองค์การ 6)การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์การ และการปรับปรุงตำแหน่งให้สูงขึ้น 7)นำความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชนเป็นตัวตั้งในการกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย 8)พิจารณาถึงผลกระทบต่อท้องถิ่น/ชุมชน และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นก่อนกำหนดกิจกรรมในพื้นที่ 9) กระตุ้นและเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานในการขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม 10) เปิดโอกาสให้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และส่วนราชการอื่นๆ ได้เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 11)จัดอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานสมัยใหม่ให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง 12)จัดทำระบบพี่เลี้ยงเข้ามาให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานแก่พนักงาน 13)สนับสนุนให้มีการนำวิธีการบริหารงานสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และ 14) จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามนโยบายรายการ การนำนโยบายการศึกษาของสงฆ์ไปปฏิบัติ : วิเคราะห์การดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(2557-11-25T08:28:00Z) พระมหามหรรถพงศ์ ศรีสุเมธิตานนท์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาถึงระดับการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 2)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 3)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ 4)เพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในระดับผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายปฏิบัติการ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย จำนวน 250 รูป/คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ทุกขั้นตอนพบว่า จากการศึกษาสภาพการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างการดำเนินการนโยบายการศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมุ่งให้การศึกษา การวิจัยทางพระพุทธศาสนา การให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการดำเนินการการนำ นโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่กำหนดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ด้านการให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการดำเนินการการนำนโยบาย การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติโดยรวม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านขอบข่ายนโยบาย ด้านทรัพยากรนโยบายด้านการสื่อสารและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมีผลต่อการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยก็พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยยังมีบุคลากรด้านการวิจัยไม่เพียงพอและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนของมหาวิทยาลัยยังมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีไม่มากพอ เป็นต้น ประเด็นปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้เพื่อให้การดำเนินการนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มที่ขาดทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง รวมทั้งการแสวงหาวิธีการให้บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบของการดำเนินการการนำนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปปฏิบัติ เพื่อนำเสนอให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(2557-11-26T08:49:22Z) วัชรินทร์ สุทธิศัยการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปรับปรุงพัฒนาในการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบุคลากรสายวิชาการหรือผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบุคลากรสายปฏิบัติงานหรือสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 308 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสาหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก 2 ปัจจัย คือ ด้านความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านการติดตามการดำเนินงาน ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 7 ปัจจัย คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านการเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสาร และด้านสมรรถนะขององค์การ 2. ปัจจัยภายนอกเหนือการควบคุมที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3 ปัจจัย คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ และด้านสภาพทางสังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ปัจจัย คือ ด้านการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3. การนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติระดับความสาเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4 ด้าน คือ ด้านการทานุบารุงศิลปและวัฒนธรรมด้านผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ด้านการสอน และด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลาง 1 ด้าน คือ ด้านการวิจัย 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายวิชาการและสายผู้สอน คือ ปัจจัยการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยการติดตามการดำเนินงานขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้ำหนักสูงสุด 5. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายสนับสนุนหรือสายปฏิบัติ คือ ปัจจัยสมรรถนะขององค์การ ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการ ติดตามการดำเนินงาน และปัจจัยเทคโนโลยี อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้าหนักสูงสุด 6. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏประสบความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล รายงานผล และทบทวนอยู่เป็นประจำ นโยบายต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม ที่สำคัญผู้บริหารสูงสุดต้องเข้าใจและสนับสนุนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศให้ได้ และจัดทำนโยบายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีเป้าหมายชัดเจนสู่ทุกระดับ ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เป็น โครงการที่สามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนจากรัฐได้ นโยบายแนวทางที่มีประโยชน์ ต้องมีงบประมาณดูแล ควบคุมอย่างต่อเนื่อง วางแผน พัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มรูปแบบ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงความเจริญก้าวหน้า อยู่ตลอดเวลา ฯลฯ วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ มีกรอบการดาเนินงานชัดเจน และมีมาตรการสำหรับกำกับควบคุมการทำงานเลือกคนให้เหมาะกับงาน บูรณาการ การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ มีเครือข่ายรายการ การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(2557-11-26T09:07:25Z) เพ็ญนภา ชูพงษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 374 คน จาก 38 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้อำ นวยการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการ สัมภาษณ์ ทั้งยังดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายระดับสูงของกระทรวงและระดับสูงของกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เครือข่ายเพื่อการศึกษาเด็กและการสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้นำ ชุมชนผู้ปกครอง กลุ่มองค์กรนอกระบบ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เช่น ปัญหาทางวิชาการค่อนข้างตำด้านบุคลากรขาดแคลนครูและไม่สามารถจัดครูให้ตรงวิชาเอกให้ ตรงกับสาระวิชาการเรียนการสอนได้ ด้านงบประมาณ ยังมีการจัดงบประมาณตามรายหัวนักเรียนซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบการแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ทั้งด้านนิเทศติดตามผลและขวัญกำลังใจ ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจรูปแบบในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้มีการ ดำเนินการในหลายรูปแบบทั้งการแสวงหาความร่วมมือ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือจัดรถรับ –ส่งนักเรียน ตลอดถึงการจัดตั้งโรงเรียนดีในชุมชนใกล้บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนา ลูกมาเข้าเรียนใน ทั้งยังไม่ประสบความสาเร็จขาดความต่อเนื่องในดำเนินนโยบายทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพยังไม่ดีพอยังคงอยู่ ทำให้ผู้ปกครองบางส่วนยังต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองอยู่ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนรูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การแก้ไขปัญหาต้องมีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วัฒนธรรม และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีนโยบายให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องในการแสวงหาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติ งานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกัน เช่น ส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดระบบการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนหรือการสอนแบบคละชั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการจัดงบประมาณในรูปแบบของกองทุนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูที่เกษียณอายุราชการแล้วมาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้ถึงโรงเรียนขนาดเล็กอย่างทั่วถึง ทั้งการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพให้เกิดการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เกิดความอิสระและคล่อง ตัวให้เป็นโรงเรียนดีในชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่แต่ละแห่งจะมีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นสภาพภูมิศาสตร์และบริบทอื่นๆ ที่ แตกต่างกัน ตลอดถึงการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในเรื่องการจัดการศึกษาของตนเอง และการกระจายอานาจไปสู่ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กให้มากขึ้นรายการ แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ ประเมิน คุณภาพรัฐวิสาหกิจกรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)(2557-12-03T08:44:41Z) กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1)เพื่อศึกษาสถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) 2)เพื่อการศึกษาปัจจัยแหง่ ความสำเร็จเพื่อ ความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal :SEPA) 3) เพื่อทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์ของการนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคาระห์การความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลการจัดการกระบวนการ การมุ่งเน้นนวัต กรรม และผลลัพธ์ทางธุรกิจ 4)เพื่อ นำเสนอแนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อ ความเป็นเลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใีช้ในการวิจัย คือพนักงานธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 844 คน เก็บข้อมูลได้จำนวน 773 คน คิดเป็น 91.6 % สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา ประกอบด้วย ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิตอ้างอิงเพื่อ การทดสอบสมมติฐาน และแบบจำลอง คือ การวิเคราะห์รูปแบบสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model :SEM)โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานภาพระบบบริหารงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) พบว่า ส่วนใหญ่แต่ละหมวดขององค์การมีจุดแข็ง ยกเว้นเรื่องหมวดการจัดทำกลยุทธ์และการวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุงผลการดำเนินการ 2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ได้แก่ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์,การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร,การสื่อสารที่มีประสิทธิผล โดยใช้การสื่อสาร 2ทางเพื่อ ให้พนักงานทุกระดับได้รับข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายบริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม, การเป็นองค์กรที่ทำงานเป็นทีม ,ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการโดยใช้ข้อเท็จจริงเพื่อ การตัดสินใจขององค์กร มีค่าเฉลี่ยี (X) = 4.19, 4.17, 4.16, 4.15, 4.14 และ 4.08 ตามลำดับ 3. แบบจำลองเพื่อ ความเป็น เลิศตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐในประเทศไทยที่ค้นพบได้ผลการตรวจความตรงของแบบจำลองมีคา่ ดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้อง (GFI) เทา่ กับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับรับแก้แล้ว(AGFI)เท่า กับ0.96 ค่า RMR เท่ากับ 0.012 มีค่า Chi-Square = 98.53 df =81 P-value = 0.09009 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์(Chi-Square / df)มีค่าเท่ากับ 1.22 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 และ RMSEA = 0.017 4. แนวทางการพัฒนาสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อความเป็น เลิศตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ พบว่า ปัจจัยสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่ การนำองค์การรัฐวิสาหกิจ การวางแผนวิสาหกิจ การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้้ การมุ่ง เน้นทรัพยากรบุคคลการจัด การกระบวนการและการม่งุมุ่ง เน้นนวัตกรรม มีความสำคัญต่อ ด้านการบริหาร ความเป็นเลิศกล่าวได้ว่า องค์การต้องมีการสื่อสารนโยบายเพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลลัพธ์ความพึงพอใจของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนรายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมี ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจใน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(2557-12-03T12:49:29Z) สำเริง ไกยวงค์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์กรธุรกิจจำนวน 476 องค์กรถูกเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกโดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการเผยแพร่ความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อพนักงาน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางตรง เชิงบวกต่อการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่ ผลิตภาพการผลิต พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี และการรักษาพนักงานไว้ในองค์กร 2. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการแสวงหาความรู้ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อนวัตกรรม 3. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน วัฒนธรรมมุ่งเน้นโครงสร้างอำนาจ วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาดและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าและพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี 4. วัฒนธรรมมุ่งเน้นพนักงาน ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น แต่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อ ผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไร แต่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อผลิตภาพการผลิต 5. วัฒนธรรมมุ่งเน้นตลาด การแสวงหาความรู้ และการเผยแพร่ความรู้ในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อชุมชน ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อชุมชนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กร 6. วัฒนธรรมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง การตีความหมายของความรู้ และการเก็บรักษาความรู้ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลิตภาพการผลิต นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า การมีความรับผิดชอบต่อพนักงานมีอิทธิพลทางอ้อม เชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีการเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่และผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถ ในการทำกำไรโดยมีความภักดีของลูกค้าเป็ นตัวแปรแทรก การมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงลบต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรกการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภาพการผลิตเป็นตัวแปรแทรก